Lifestyle

ปรับตัวสู่ "ความพอเพียง" อีกแนวทางที่ช่วยทำให้มีชีวิตรอด ในยุคโควิด-19

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

"ความพอเพียง" คุ้นชินกับวิถีไทยมานาน ห่างหายไปจากคนไทยได้ระยะหนึ่ง แต่เมื่อสถานการณ์เปลี่ยน โลกเปลี่ยน อาจถึงเวลาที่ต้องนำมาใช้อย่างจริงจัง เพื่อเป็นอีกแนวทางหนึ่ง ที่ช่วยทำให้มีชีวิตรอด ในยุคโควิด-19

เราอยู่กับโควิด-19มาก็หลายปี ยังรออย่างมีหวังว่าผู้ติดเชื้อ ผู้เสียชีวิตจะลดลงหรือกลายเป็นศูนย์ คืนความสงบสุขสู่มวลมนุษย์กันเสียที แต่ความจริงกับความคาดหวังใกล้เข้า เมื่อการจัดบริหารจัดการวัคซีนเริ่มลงตัว ลบภาพความอลเวงวุ่นวายกลายเป็นโควิดการเมืองได้ในระดับหนึ่ง แต่ทุกคนยังมีความเสี่ยง ต้องระมัดระวังในการใช้ชีวิต  

คงต้องอยู่กันไปแบบตื่นตัวระวังตัวกันมากขึึ้น และไม่ละเลยมาตรการ 3 อย่าง คือใส่หน้ากากอนามัย เว้นระยะห่าง และล้างมือ ทำเป็นกิจวัตรประจำวัน และยิ่งการแพร่ระบาดมีความรุนแรงก็ต้องใส่หน้ากากอนามัยแม้ใช้ชีวิตอยู่ในบ้าน หรืออยู่นอกอาคาร หรือในอาคาร เมื่อเชื้อโรคได้แพร่ระกจายอยู่ในอากาศตามที่องค์การอนามัยโลกเตือน

มองไปรอบตัวเราทุกวันนี้ หารอยยิ้มจากคนไทยได้ยากมาก จากสยามเมืองยิ้มกลายเป็นเมืองเศร้า แต่เชื่อเถอะทุกวิกฤติย่อมมีโอกาสเสมอ คนที่ปรับตัวในทุกมิติเพื่อให้เข้ากับสถานการณ์ จะเป็นคนรอด แบบบาดเจ็บน้อยที่สุด แต่คนที่ขาดสติ จมจ่อมอยู่กับความคิดติดลบ ก็อาจจะบาดเจ็บมากหน่อย แต่ทุกปัญหามีทางออกเสมอ 

 

อย่าลืมว่าปรากฏการณ์ครั้งนี้ ทำให้มนุษย์ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมไปจากเดิม สังคมจะน้อยลง สันโดษจะมากขึ้น คนจะคืนสู่ธรรมชาติ วิถีชีวิตในชนบทจะน่าอยู่กว่าในเมือง ความพอเพียงจะทำให้รอดชีวิต

 

“ความพอเพียง” ช่วยทำให้ชีวิตรอดในยุคโควิด19ได้อย่างไร

โควิด-19 ทำให้การทำมาหาเลี้ยงชีพยากลำบาก  เมื่อหาเงินมาด้วยความยากลำบาก ก็ต้องประหยัดอดออม กินแบบพอเพียง เพื่อให้ชีวิตรอด จากเดิมอาจจะมีโอกาสพบปะสังสรรค์กับเพื่อน กับครอบครัว กับญาติมิตร กินหรูอยู่สะบาย แต่โรคร้ายไม่เลือกคนรวย หรือคนจน 

 

ปรับตัว ปรับใจ ปรับพฤติกรรมกินอยู่ที่มีความพอเพียง ไม่ทำให้คนอื่นเดือดร้อน หรือลำบากมากเกินไป นั่นหมายถึงบริบททางสังคมอาจจะต้องเปลี่ยนแปลงตามไปด้วย เมื่อทุกคนเริ่มโหยหาความสงบกับธรรมชาติหรือกับทุ่งนาข้าวเขียวขจี ตามวิถีคนไทยในชนบท หรือในต่างจังหวัด

 

การศึกษาหรือการเรียนรู้ของเด็กๆ อาจจะต้องคืนสู่อดีต ไม่ต้องเรียนวิชาการมากนัก เรียนเฉพาะวิชาที่จำเป็นในการดำรงชีพ มีความพอเพียง ไม่ต้องเรียน 20-40 วิชาอย่างทุกวันนี้ แต่เรียนเฉพาะวิชาที่จำเป็นต่อการดำรงชีพ  เช่น วิชาคณิตศาสตร์ วิชาภาษาไทย วิชาวิทยาศาสตร์ วิชาสังคมศึกษา หรือวิชาสร้างเสริมประสพการณ์ชีวิต เพียง 4 วิชา

โควิดซีซั่นสี่ ทำให้นักเรียน นักศึกษาปรับตัวให้เด็กเรียนออนไลน์ แต่การเรียนออนไลน์มีทั้งรอดและไม่รู้เรื่อง ด้วยต้นทุนทางครอบครัวแตกต่างกัน แต่การเรียนแบบพอเพียงจะถูกลดความสำคัญในห้องเรียน แต่ไปเรียนนอกห้อง เรียนวิชาชีวิตกับพ่อแม่ เรียนรู้กับญาติ เรียนรู้จากปราชญ์ชาวบ้าน เรียนรู้จากชุมชน ที่มีองค์ความมากมายอยู่รายรอบตัวเด็กๆ 

 

เหนืออื่นใด การเรียนรู้ เพื่อการมีชีวิต มีความพอเพียง เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ช่วยทำให้ชีวิตรอดในยุคโควิด-19  และเป็นการเตรียมตัวสู่โลกใหม่หลังโควิดลดลงหรือหายไปจากโลกนี้

 

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ