
หลอกโอนเงินผ่านเอทีเอ็ม หมดตัวง่ายๆ
กลโกงของกลุ่มมิจฉาชีพ ที่จะโทรศัพท์เข้ามือถือของเหยื่อ เพื่อหลอกว่า มีหนี้บัตรเครดิต และไปโอนเงินเข้าบัญชีปลายทาง ที่กลุ่มมิจฉาชีพเปิดรอไว้ ผ่านทางตู้ ATM มีลักษณะการพูดและชักชวนทำนองเดียวกัน
หมายเลขโทรศัพท์ที่มิจฉาชีพจะสุ่มโทรเข้ามือถือของประชาชน จะโชว์เบอร์ด้วยเลขหมายที่เริ่มต้นด้วย +886 / +661... / +861...มีเลขประมาณ 10 หลัก เป็นลักษณะคล้ายเบอร์ที่โทรจากต่างประเทศ ครั้งหนึ่งเคยเช็กได้ว่าเบอร์ +886 มาจากไต้หวัน แต่ก็มีหลายรายไม่โชว์เบอร์
ช่วงเวลาที่โทรเข้า ส่วนใหญ่มักโทรเข้ามือถือในช่วงเวลาเร่งด่วน เช่น ช่วงเช้าที่ต้องเร่งรีบไปทำงาน ตอนพักเที่ยง และช่วงเย็นที่กำลังรีบกลับบ้าน
ตัวอย่าง คือ โทรมาจากเบอร์ +8862-2699-4823 อ้างว่าชื่อ ทวีทรัพย์ เป็นเจ้าหน้าที่ให้ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับบัตรเครดิตธนาคาร โทรเข้าเวลา 16.08 น. วันที่ 24 ธันวาคม 2552
รูปแบบที่โทรมา ทันทีที่รับสาย จะเป็นเสียงอัดเทป พูดคล้ายๆ กัน เช่น คุณมีสินเชื่อบัตรเครดิตของธนาคารกรุงเทพ ซึ่งไปรูดซื้อสินค้าที่สยามพารากอน จำนวน 59,000 บาท ถ้าหากต้องการล็อก แก้ไขแถบแม่เหล็ก หรือต้องการทราบข้อเท็จจริง กด 9 ถ้าต้องการฟังซ้ำ กด 1 ส่วนใหญ่คนจะกด 9 เพื่อขอติดต่อเจ้าหน้าที่ สมมติว่า กด 9 ก็จะมีคนรับสาย เป็นผู้หญิงบ้าง ผู้ชายบ้าง อ้างว่า เป็นเจ้าหน้าที่จากศูนย์บัตรเครดิตบ้าง เป็นกองปราบปรามทางเศรษฐกิจบ้าง เป็นศูนย์แก้ไขบัตรเครดิตบ้าง ที่สำคัญคือ กลุ่มคนเหล่านี้อ้างว่า สังกัดหน่วยงาน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.)
จะอ้างชื่อต่างๆ เช่น เพชรรัตน์ วิศาล จากนั้น จะขอข้อมูลบัตรประจำตัวประชาชน วันเดือนปีเกิด เลขที่บัตรเครดิต สอบถามบัญชีธนาคารอื่นๆ ที่มี และสอบถามเงินในบัญชี จุดนี้จะเป็นจุดที่กลุ่มมิจฉาชีพตัดสินใจว่า เขาจะลวงต่อหรือไม่
ถ้าคุณมีเงินในบัญชี เขาก็จะถามต่อไปเรื่อยๆ ว่า คุณมีบัตรเครดิตที่อื่นอีกไหม เลขที่เท่าไหร่ กรณีที่เชื่อ เขาจะบอกว่า ด่วนเลยนะ เพราะไม่งั้นจะมีปัญหาเรื่องการติดตามหนี้ มีเป้าหมายที่จะลวงไปที่ตู้ ATM โดยให้กดใช้รายการภาษาอังกฤษ พยายามให้กดรหัส กดเลขบัญชี และกดโอนเงินไปยังบัญชีของมิจฉาชีพ หลังจากกดเรียบร้อย ทางโน้นก็รอตัดเงินเลย ซึ่งเท่าที่ทราบ บัญชีปลายทางเหล่านี้ เป็น บัญชีผี ที่จ้างคนไปเปิดบัญชีรอไว้ แม้จะตามจับปลายทางได้ คนร้ายก็โอนเงินออกไปเรียบร้อยแล้ว
ถ้าไม่มีเงิน เขาจะบอกว่า ถ้าไม่เชื่อให้โทรไปที่เบอร์ 0-2283-5353, 0-2283-5355, 0-2283-5500 ไม่มีการกล่าวอ้างถึงเบอร์ 0-2283-5900 ซึ่งเป็นศูนย์ประสานงานแก้ไขปัญหาการปล่อยสินเชื่อ ธปท. แต่จะเป็นเบอร์ของช่างบ้าง ยังหาที่มาที่ไปไม่ได้ว่า ได้เบอร์เหล่านี้มาจากไหน
จำนวนคนที่ร้องเรียนมาที่ศูนย์ประสานงานฯ เฉลี่ยวันละประมาณ 20-30 ราย เฉพาะที่ได้รับร้องเรียนช่วงเดือนตุลาคม-ธันวาคม 2553 มีประมาณ 4 คน รวมเป็นมูลค่าเงินประมาณ 7 แสนบาท ส่วนที่ไม่ได้แจ้งมาที่ศูนย์ ยังมีอีกเยอะ
ชายคาออนไลน์
ตอบ
สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ยังติดตามจับผู้กระทำความผิดในเรื่องนี้ไม่ได้ ประชาชนอีกมากยังไม่ทราบ
ดังนั้น ต้องช่วยระวังตัวเอง เพราะไม่มีใครเดือดร้อน ทั้งธนาคาร ตำรวจ แบงก์ชาติ แต่ตัวเราเองต้องสูญเงินไป
ธปท. จึงแนะนำว่า เมื่อเรารู้ว่า กำลังคุยกับคนร้าย ให้พยายามสืบทราบข้อมูลของคนร้ายให้ได้มากที่สุด เท่าที่จะทำได้ เช่น ชื่ออะไร มาจากไหน ขอที่อยู่ ขอหมายเลขโทรศัพท์ติดต่อกลับ
ส่วนมาก พอถูกถาม 3 ข้อนี้ เขาจะวางหูเลย บางทีบอกว่า จะโทรกลับมาใหม่ หรือไม่โทรมาอีกเลย จากนั้น ให้พนักงานโทรแจ้งข้อมูลต่างๆ ไปที่ศูนย์ประสานงานฯ สินเชื่อ หรือโอนสายมาที่ 0-2283-5900
ด้าน ธนาคารกสิกรไทย แจ้งเตือนลูกค้าเล็กๆ ว่า ปัจจุบันมีกลุ่มมิจฉาชีพแอบอ้างเป็นเจ้าหน้าที่ธนาคาร โทรศัพท์ไปสอบถามข้อมูลส่วนตัว เพื่อนำข้อมูลไปทุจริตทางการเงินในรูปแบบต่างๆ ดังนั้น ขอให้ระมัดระวังการให้ข้อมูลส่วนตัว
นอกจากนี้ ได้ออกจดหมายเตือนลูกค้า K-Cyber Banking ให้ระวังมิจฉาชีพหลอกลวงผ่านอีเมล โดยแจ้งว่า บัญชีของท่านมีปัญหา หรือธนาคารมีการพัฒนาระบบรักษาความปลอดภัยใหม่ และให้ท่านทำรายการหรือแก้ปัญหา ให้ท่านคลิกลิงก์ (Link) ในอีเมลดังกล่าว ซึ่งจะเชื่อมต่อไปยังเว็บไซต์ปลอมที่มีลักษณะเหมือนหน้าจอ K-Cyber Banking ทุกประการ แต่เป็น URL ที่ไม่ใช่ของธนาคาร เช่น www.greenonsterarts.co.uk, http://ad-park.com/catalog/Access.htm หรือชื่ออื่นๆ ที่อาจมีชื่อคล้ายคลึงกับ URL ของธนาคาร
ธนาคารกสิกรไทย ยืนยันว่า ธนาคารไม่มีนโยบายที่มีลิงก์ให้คลิกเข้าสู่ระบบใดๆ ของธนาคาร หรือสอบถามข้อมูลส่วนตัวใดๆ ทั้งสิ้น ผ่านทางอีเมล หากผู้ใช้บริการหรือสมาชิกต้องการเข้าสู่ระบบ K-Cyber Banking หรือระบบใดๆ ของธนาคาร ผู้ใช้บริการจะต้องใช้ Shortcut (Favorite) ที่ท่านสร้างด้วยตัวเอง หรือ พิมพ์ URL ด้วยตัวท่านเอง
หากท่านได้กรอกข้อมูลลงในเว็บไซต์ปลอมแล้ว กรุณาติดต่อ K-Contect Center โทร.0-2888-8888 โดยด่วน เพื่อเปลี่ยน Password หรือ อายัดบัญชี
ลุงแจ่ม