
ล้วงลับแบตเตอรี่ไฮบริต BMW
บุกโรงงานประกอบแบตเตอรี่แรงดันสูงของแดร็คเซิลไมเออร์
อนาคตของยานยนต์ไฟฟ้าเริ่มเห็นกันบ้างเมื่อผู้ผลิตรถต่างๆ ไม่ว่าทางญี่ปุ่นเองเริ่มขยับ ฝั่งรถหรูก็เริ่มประกาศตัว อย่างเช่นค่ายกังหันสีฟ้าที่เริ่มประกอบรถในบ้านเราตอนนี้ก็บุกเปิดสายการประกอบแบตเตอรี่แรงดันสูงในประเทศไทยและภูมิภาคอาซียน เพื่อป้อนสำหรับรถยนต์ปลั๊กอินไฮบริด ด้วยความร่วมมือกับ แดร็คเซิลไมเออร์ กรุ๊ป ผู้นำด้านการผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ระดับโลก ซึ่งเป็นพันธมิตรกับบีเอ็มดับเบิลยู กรุ๊ปมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2509
เมื่อรู้แบบนี้แล้วไปล้วงลึกข้อมูลการผลิตกันดีกว่า เพราะกว่าจะผลิตมาใส่ในรถยนต์ปลั๊กอินไฮบริดหลายๆ คันที่ทุกท่านใช้อยู่ขนาดนี้! หรือเล็งๆ ว่าอนาคตจะรถปลั๊กอินไฮบริดใช้แล้วเป็นห่วงว่าจะไหวไหม? งั้นต้องมารู้จักกันเลยครับว่าแหล่งที่ผลิตมาจาก โรงงานของแดร็คเซิลไมเออร์ กรุ๊ป ที่ตั้งอยู่ในเขตพื้นที่พิเศษปลอดอากรของ WHA ชลบุรี1 PART 2 และนับเป็นโรงงานประกอบแบตเตอรี่แรงดันสูงสำหรับบีเอ็มดับเบิลยู กรุ๊ปแห่งเดียวในภูมิภาคอาเซียน นับตั้งแต่เดือนกันยายน พ.ศ. 2561
บุคลากรจากแดร็คเซิลไมเออร์ กรุ๊ป ได้เข้าร่วมโปรแกรมอบรมและพัฒนาบุคลากรเพื่อการประกอบแบตเตอรี่แรงดันสูง ณ โรงงานบีเอ็มดับเบิลยู กรุ๊ปในเมืองดิงกอลฟิง และโรงงานนำร่องการผลิตระบบการขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้า ซึ่งมีความพร้อมแล้วสำหรับการประกอบแบตเตอรี่ที่ต้องใช้ทักษะความเชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีการผลิตที่ล้ำสมัย เพื่อการประกอบแบตเตอรี่อันเป็นเทคโนโลยีล่าสุด (เจนเนอเรชั่นที่ 4) เช่น การเชื่อมด้วยเลเซอร์ การเตรียมพื้นผิววัสดุด้วยพลาสมา วิทยาการหุ่นยนต์ กระบวนการยึดติด การตรวจสอบคุณภาพชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์อัตโนมัติ (AOI) การตรวจสอบการทำงานของระบบไฟฟ้า และการตรวจสอบคุณภาพเมื่อสิ้นสุดสายการผลิต นอกจากนี้ โปรแกรมการอบรมดังกล่าวยังครอบคลุมทักษะในการทำงานกับกระบวนการผลิตอัตโนมัติ ซึ่งเป็นกระบวนการที่สำคัญในการประกอบโมดูลแบตเตอรี่ รวมถึงการตรวจสอบคุณภาพโดยรวม การออกแบบกระบวนการและเทคโนโลยีการผลิต การปรับปรุงแก้ไขคุณภาพ และการวิเคราะห์กระบวนการผลิต
โรงงานผลิตแบตเตอรี่ไฮบริตของแดร็คเซิลไมเออร์ ในเขตพื้นที่พิเศษปลอดอากรของ WHA ชลบุรี1
นี่คือภาพโครงสร้างแผนผังขั้นตอนการผลิตตั้งแต่เริ่มต้นประกอบ จนเสร็จสิ้นพร้อมส่งเข้าโรงงานประกอบของ BMW
อันนี้หน้าตาห้องประกอบชุดก้อนเซลล์แบตไฮบริต เป็นพื้นที่คลีนรูม(พื้นที่สีแดงในรูป)
หน้าตาเจ้าเซลล์แบตเตอรี่ไฮบริตที่ใช้ประกอบ ซึ่งนำเข้ามาจากต่างประเทศ
เมื่อรับแบตมาแล้วจะทำการตรวจเช็คอย่างละเอียด ถ้าเช็คแล้วผ่านก็นำไปผลิต ถ้าเช็คแล้วไม่ผ่านจะถูกคัดออก ไม่นำมาใช้ประกอบ
เมื่อรับแบตมาแล้วมาแล้วจะทำการตรวจเช็คอย่างละเอียด ถ้าเช็คแล้วผ่านก็นำไปผลิต ถ้าเช็คแล้วไม่ผ่านจะถูกคัดออก ไม่นำมาใช้ประกอบ
หลังจากแบตเตอรี่ไฮบริตที่ผ่านการตรวจเช็คอย่างละเอียดมาแล้ว จะนำมาประกอบโดยเชื่อมเพื่อติดกัน
หลังจากแบตเตอรี่ไฮบริตที่ผ่านการตรวจเช็คอย่างละเอียดมาแล้ว จะนำมาประกอบโดยเชื่อมเพื่อติดกัน
หลังจะประกอบติดกันก็ทำเป็นชุดก้อนเซลล์แบตเตอรี่ไฮบริต
หน้าตาชุดก้อนเซลล์แบตไฮบริต
หลังจากนั้นชุดก้อนเซลล์แบตไฮบริตจะถุกส่งไปเชื่อมด้วยเลซอร์อีกจุดนึง
เมื่อทำการเชื่อมเลเซอร์ชุดก้อนเซลล์แบตไฮบริตแล้ว ก็จะทำการตรวจสอบอย่างละเอียดด้วยเครื่องตรวจสอบรอยเชื่อม ซึ่งสแกนเห็นภายในแบบสามมิติอย่างละเอียด
ติดตั้งสายเชื่อมต่อชุดก้อนเซลล์แบตไฮบริต
เชื่อมปิดชุดก้อนเซลล์แบตไฮบริตทุกอย่างเป็นครั้งสุดท้าย
ก่อนจะออกจากห้องนี้ได้ ต้องเช็คด้วยเลเซอร์ถึงเนื้อในอย่างละเอียดเป็นครั้งสุดท้าย
หน้าตาชุดก้อนเซลล์แบตไฮบริตสำเร็จรูปแล้ว
ชุดก้อนเซลล์แบตไฮบริตที่สำเร็จจะถูกบรรจุใส่ถาด สถานะตอนนี้จึงเรียกเป็นโมดูลแบตเตอรี่แล้ว เพื่อส่งไปยังไลน์ประกอบอีกห้องนึง
หน้าห้องประกอบโมดูลแบตเตอรี่ไฮบริต
ส่วนนี้เริ่มประกอบเสื้อโมดูลแบตเตอรี่ไฮบริต
โมดูลแบตเตอรี่ ก็มาเจอเสื้อโมดูลแบตเตอรี่ในจุดนี้ แล้วดำเนินการต่อสายไฟภายในและชิ้นส่วนอื่นๆ
ตรงนี้ก็จะทำการใส่ซีลกันน้ำรั่วเข้า และ เชื่อมปิดสนิท เพื่อป้องกันการรื้อชิ้นส่วน
เมื่อเชื่อมเสร็จก็จะมาทำการเทสครั้งสุดท้าย
เมื่อทุกอย่างสมบูรณ์แบบก็นำออกมา เพื่อทำการพักรอให้เจ้าหน้าที่ทำการบันทึกข้อมูล
หน้าตาของโมดูลแบตเตอรี่ไฮบริตที่สมบูรณ์แล้ว
มีเจ้าหน้าที่ทำการถ่ายรูป บันทึกข้อมูลสำคัญๆไว้
ติดแท็คสินค้าพร้อมรอใส่เคสบรรจุ
โมดูลแบตเตอรี่ไฮบริตที่สมบูรณ์แล้วนำใส่เคสเพื่อรอนำส่งลูกค้า
เมื่อทำการบรรจุเสร็จเรียบร้อย ก็จะนำมากไว้ที่คลังสินค้าก่อนนำส่งโรงงานประกอบบรถต่อไป
ตัวอย่างโมดูลโมดูลแบตเตอรี่ไฮบริตที่สมบูรณ์นำมาโชว์
เมื่อเสร็จสิ้นกระบวนการประกอบแล้ว แบตเตอรี่แรงดันสูงดังกล่าวจะถูกส่งไปยังโรงงานบีเอ็มดับเบิลยูที่ระยอง เพื่อนำไปติดตั้งในรถยนต์ปลั๊กอินไฮบริดในตระกูลบีเอ็มดับเบิลยู ซีรี่ส์ 5 ซึ่งได้เริ่มต้นเฟสแรกไปแล้วตั้งแต่เดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2560 เป็นต้นมา บีเอ็มดับเบิลยู กรุ๊ป ได้ประกอบรถยนต์ปลั๊กอินไฮบริดมาแล้ว 4 รุ่นด้วยกันคือ บีเอ็มดับเบิลยู 330e บีเอ็มดับเบิลยู 530e บีเอ็มดับเบิลยู X5 xDrive40e และบีเอ็มดับเบิลยู 740Le แน่นอนภาคเอกชนจะเริ่มต้นไม่ได้ถ้าไม่มีภาครัฐเข้ามาสนับสนุน BOI ลงทุนประกอบรถยนต์ปลั๊กอินไฮบริดมูลค่า มูลค่ากว่า 700 ล้านบาท บริษัทฯ ได้จัดสรรงบประมาณส่วนหนึ่งมาร่วมลงทุนกับแดร็คเซิลไมเออร์ กรุ๊ป ประเทศไทย เพื่อพัฒนาโรงงานประกอบแบตเตอรี่แรงดันสูงที่มีมูลค่าการลงทุน 500 ล้านบาท ความสำเร็จครั้งนี้จะยกระดับอุตสาหกรรมยานยนต์ของประเทศ และแสดงถึงความร่วมมืออันดีระหว่างภาครัฐและภาคเอกชนที่จะขับเคลื่อนประเทศไทยไปสู่อนาคตแห่งยนตรกรรมไฟฟ้าที่ยั่งยืนต่อไป
ฝากทิ้งท้ายสำหรับผู้ใช้รถ BMW ว่าแบตเตอรี่ไฮบริตนี้ ทาง BMW เคลมว่าสามารถใช้ได้ตลอดอายุการใช้งาน อยู่ได้นานแต่ก็มีเสื่อมสภาพเร็ว หรือ ช้า ขึ้นอยู่กับตัวผู้ใช้เอง ไม่จำเป็นต้องเปลี่ยน แต่ขอให้เข้าศูนย์ BMW เพื่อเช็คสภาพ
ข้อมูลและภาพ BMW GROUP THAILAND DRÄXLMAIER THAILAND และ DRÄXLMAIER Group
เรื่อง: ธวัชชัย พิชิตรณชัย
E-mail : [email protected]
Facebook https://www.facebook.com/AeyTawatKomchadluek/