ไลฟ์สไตล์

ศูนย์การเรียนรู้แบบพึ่งตนเองมจธ.ให้นศ.ฝึกทักษะภาษาด้วยตนเอง

ศูนย์การเรียนรู้แบบพึ่งตนเองมจธ.ให้นศ.ฝึกทักษะภาษาด้วยตนเอง

22 พ.ย. 2552

“การเรียนในห้องเรียน ไม่เพียงพอต่อการพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษให้ตรงกับความต้องการของผู้เรียนแต่ละคน ที่มีความรู้ความสามารถทางภาษาที่ต่างกัน ศูนย์แห่งนี้จึงเปิดโอกาสให้นักศึกษาใช้สื่อการเรียนรู้ภาษาอังกฤษแบบพึ่งตนเองควบคู่กิจกรรม เพื่อให้ผู้เรียนสามารถค้นหาแน

 คือความมุ่งหมายของศูนย์การเรียนรู้แบบพึ่งตนเอง (Self-Access Learning Centre) หรือเรียกสั้นๆ ว่า SALC ที่ ผศ.ชฏา กองจันทร์ หัวหน้าศูนย์การเรียนรู้แบบพึ่งตนเอง คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.) เปิดให้บริการเรียนรู้แบบพึ่งตนเองทั้งในและนอกชั้นเรียน ผ่านสื่อฝึกทักษะภาษา ไม่ว่าจะเป็นสื่อที่ศูนย์ และอาจารย์ ร่วมกันผลิตจากงานวิจัยของนักศึกษาระดับปริญญาโท สาขาภาษาศาสตร์ประยุกต์  สื่อออนไลน์ที่ศูนย์ และสายวิชาภาษาเป็นสมาชิกและจัดซื้อเป็นกรรมสิทธิ์ อย่างโปรแกรมอิงลิช ดิสคัฟเวอรี่ และโปรแกรมอื่นๆ เพื่อช่วยให้นักศึกษาเรียนรู้ภาษาได้ทุกที่ตลอดเวลา

 เดิมเรียกว่า ห้องปฏิบัติการการเรียนรู้แบบพึ่งตนเอง เปิดให้บริการอย่างเป็นทางการเมื่อปี 2534 โดย ผศ.นันทา โกวงศ์ หัวหน้าสายวิชาภาษา เป็นผู้ริเริ่มแนวคิดการจัดตั้งขึ้น ต่อมาปี 2541 ได้ยกระดับเป็นศูนย์การเรียนรู้ฯ ให้นักศึกษาพัฒนาความสามารถทางภาษาอังกฤษ ใช้บริการศูนย์ผ่านระบบออนไลน์มายอิงลิช (My English) และพัฒนาสร้างโปรแกรมเรียนรู้ภาษาด้วยตนเองอย่างต่อ ตลอดระยะเวลา 18 ปี

 มีมุมเรียนรู้ 18 มุม อาทิ มุม Reading, Listening, Writing, Grammar, Movies, ฯลฯ ผู้ใช้บริหารเลือกฝึกภาษาตามความสนใจ ทั้ง ฟัง พูด อ่านเขียน หลักไวยากรณ์ เพิ่มพูนคำศัพท์ ทำข้อสอบวัดความสามารถ หรือ เพลิดเพลินดูภาพยนตร์ฝึกทักษะการฟัง ให้ผู้เรียนเลือกยืมบทเรียนไปใช้ที่บ้านได้หรือขอรับคำปรึกษาจากอาจารย์ประจำศูนย์ มีผู้มาใช้บริการเฉลี่ย 15,787 คนต่อ 1 ปีการศึกษา

 สถาพร อารีรัตน์ หรือ โย อายุ 21 ปี นักศึกษาชั้นปีที่ 2 คณะวิทยาศาสตร์ ภาควิชาจุลชีววิทยา เลือกฝึกทักษะภาษาผ่านศูนย์แห่งนี้ บอกว่า นักศึกษาต้องเริ่มต้นสอบวัดระดับจากมุม Learner Training and Counselling หรือสอบผ่านระบบออนไลน์ เพื่อจะได้เลือกใช้บทเรียนในศูนย์ ให้ตรงระดับทักษะภาษาของแต่ละคน เมื่อเกิดข้อสงสัยผู้เรียนสามารถเขียนคุยกับอาจารย์ผู้สอนหรือที่ปรึกษาประจำศูนย์ ผ่านระบบแชทออนไลน์ มายอิงลิช ที่ศูนย์จัดทำขึ้น ครอบคลุมการฝึกทักษะวางแผนการเรียนเพื่อวิเคราะห์จุดอ่อน และความก้าวหน้าของตัวเอง นำไปปรับใช้เพื่อศึกษาต่อทั้งในประเทศและต่างประเทศ

 เช่นเดียวกับ ณัฐสรีฐ์ เปรนาวิน หรือ เบญ อายุ 21 ปี นักศึกษาชั้นปีที่ 4 คณะวิศวะเคมี เวลาว่างหลังเลิกเรียนเป็นช่วงเวลาการใช้บริการศูนย์ฝึกทักษะการอ่านด้วยหนังสือนวนิยายภาษาอังกฤษสร้างแรงบันดาลใจให้อยากเรียนรู้ภาษามากขึ้น พัฒนาไปสู่ความสนใจภาษาอื่นๆ เพิ่มเติมด้านทักษะการฟังฝึกภาษาผ่านการดูหนัง สังเกตสำนวนการใช้คำนำมาปรับใช้ในชีวิตประจำวัน ความสนใจเลือกศึกษาด้วยตนเอง ทำให้นักศึกษาพัฒนาทักษะภาษาตามความถนัดใคร่รู้ของตนได้ไร้ขีดจำกัด

 ศูนย์แห่งนี้จัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนได้ใช้ภาษาในชีวิตจริง ตามความสนใจเรียนรู้คำศัพท์ใหม่ๆ จากหนังสือ ที่ได้รับความสนใจจากอาจารย์ นักศึกษา และบุคลากรของมหาวิทยาลัย จัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพิ่มทักษะภาษา เช่น กลุ่ม Public Speaking กลุ่มเจแปนนีส แกรมม่า ไชนีส เยอรมัน เปิดให้อาจารย์และผู้บริหารจากสถาบันการศึกษาต่างๆ ทั่วประเทศศึกษาดูงาน จัดสัมมนาและให้คำปรึกษาด้านการเรียนรู้แบบพึ่งตนเอง แก่บุคลากรต่างๆ ด้วย และเปิดให้บริการแก่อาจารย์ บุคลากรของมหาวิทยาลัย รวมทั้งบุตรหลานของบุคลากร ใช้บริการฝึกฝนภาษาเพื่อใช้ในการปฏิบัติงานประจำวันหรือเพื่อการศึกษา ทุกวันจันทร์-ศุกร์ เวลา 08.30-19.30 น. ดูข้อมูลได้ที่ www.arts.kmutt.ac.th/salc

0กิตติยา  ธนกาลมารวย0