Lifestyle

วธ.หนุนเด็กยุคใหม่รู้เท่าทันสื่อจัดอบรมผลิตสื่อสร้างสรรค์

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

โดย... ปาริชาติ บุญเอก [email protected]

 

 


          สำนักงานปลัดกระทรวงวัฒนธรรม โดยสำนักงานเฝ้าระวังทางวัฒนธรรม จัดกิจกรรม “อบรมให้ความรู้ด้านการจัดทำสื่อดิจิทัลในรูปแบบคลิปวิดีโอ” ให้แก่เยาวชนทั้งในส่วนกลาง และส่วนภูมิภาค 76 จังหวัด แก้ปัญหาความรู้ไม่เท่าทันสื่อ การใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีและเป็นพื้นที่แสดงความสามารถผลิตคลิปสร้างสรรค์ พร้อมคัดเลือกคลิปต่อยอดสู่มืออาชีพ

 

 

 

วธ.หนุนเด็กยุคใหม่รู้เท่าทันสื่อจัดอบรมผลิตสื่อสร้างสรรค์

 

 

          ยุพา ทวีวัฒนะกิจบวร รองปลัดกระทรวงวัฒนธรรม  กล่าวเปิดการอบรมให้ความรู้ด้านการจัดทำสื่อดิจิทัลในรูปแบบคลิปวิดีโอ ที่จัดโดยกระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) ว่าการอบรมครั้งนี้มุ่งแก้ปัญหาความรู้ไม่เท่าทันและไม่สามารถใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีของเด็กและเยาวชนเนื่องจากขาดทักษะการเลือกรับและปรับใช้ประโยชน์จากสื่อ โดยเฉพาะการหมกหมุ่นอยู่กับเทคโนโลยีเฉพาะสื่อดิจิทัล ทำให้เด็กและเยาวชนขาดการปฏิสัมพันธ์กับคนรอบข้างและขาดการเรียนรู้ให้แก่เยาวชนทั้งในส่วนกลาง และส่วนภูมิภาคทั้ง 76 จังหวัดไม่จำกัดอายุ
   

          ส่งเสริมให้เด็กและเยาวชนได้ใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ รวมถึงพัฒนาศักยภาพการเขียนบท เทคนิค วิธีการถ่ายทำ และการผลิตคลิปวิดีโอ ซึ่งจะทำให้เด็กและเยาวชนของชาติเป็นพลเมืองดิจิทัลที่มีความรู้เท่าทันสื่อและเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาประเทศ ทั้งนี้ วธ.จะคัดเลือกคลิปวิดีโอที่ผู้เข้าร่วมการอบรมจังหวัดละ 3 คลิป ส่งมายังส่วนกลาง รวมทั้งหมด 231 คลิป เพื่อคัดเลือกให้พัฒนาต่อยอดสู่การเป็นมืออาชีพ 

 

 

 

วธ.หนุนเด็กยุคใหม่รู้เท่าทันสื่อจัดอบรมผลิตสื่อสร้างสรรค์

 


          สุดารัตน์ พงศ์อัมพรไกวัล ผู้อำนวยการสำนักเฝ้าระวังทางวัฒนธรรม กล่าวถึงเด็กยุคใหม่เสพสื่ออย่างเท่าทัน ว่าความหมายของสื่อไม่ปลอดภัยและไม่สร้างสรรค์ คือ 1.ขัดต่อศีลธรรม จริยธรรม และวัฒนธรรมอันดีของสังคมหรือส่งผลกระทบทางลบต่อจิตใจ หรือสุขภาพของประชาชน ครอบครัว ชุมชน และสังคมอย่างร้ายแรง 2.สื่อที่มีเนื้อหาก่อให้เกิดความแตกแยก ยั่วยุ และสร้างความเกลียดชังต่อบุคคลหรือกลุ่มบุคคล จนอาจก่อให้เกิดผลกระทบร้ายแรง ไม่ว่าจะเป็นทางร่างกายหรือจิตใจ 3.สื่อที่มีเนื้อหาส่งเสริมการละเมิดสิทธิมนุษยชนและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ 4.สื่อที่มีเนื้อหาขัดต่อกฎหมาย และ 5.สื่อที่มีเนื้อหาขัดต่อหลักจรรยาบรรณสื่อหรือแนวปฏิบัติของวิชาชีพสื่อนั้น

 

 

 

วธ.หนุนเด็กยุคใหม่รู้เท่าทันสื่อจัดอบรมผลิตสื่อสร้างสรรค์

 


          “สื่อมีอิทธิพลต่อความคิด ความเชื่อ และพฤติกรรม ดังนั้น เราจึงจำเป็นต้องรู้เท่าทันสื่อ ไม่หลงเชื่อเนื้อหาที่ได้อ่าน ได้ยิน ได้ฟัง แต่สามารถคิด วิเคราะห์ แยกแยะได้ว่าจริงหรือไม่จริง ใครเป็นคนให้ข้อมูล เขาต้องการสื่อสารอะไร มีจุดมุ่งหมายแอบแฝงหรือไม่ ต้องการสื่อสารให้ใคร และใครได้ประโยชน์” สุดารัตน์ กล่าว

 

          ไม่ตกเป็นเหยื่อต้องอ่านสื่อให้ออก
          ฉัตรชัย เชื้อรามัญ  หรือ “ครูไข่” ผู้อำนวยการขบวนการตาสับปะรด กล่าวว่า ในประเทศที่เจริญแล้วเขาใช้สื่อเป็นเครื่องมือในการสร้างคน ดังนั้นรัฐบาลต้องวางแผนตั้งแต่การคิดนโยบาย รูปแบบการศึกษา การเรียนรู้ และไปกระตุ้นเด็กส่งเสริมให้เยาวชนเป็นผู้สื่อสารที่ดีสร้างสื่อที่ดีได้ สร้างแรงบันดาลใจได้ด้วยตัวเองครอบครัวและครู ต้องมาช่วยกันหล่อหลอม
  

 

 

วธ.หนุนเด็กยุคใหม่รู้เท่าทันสื่อจัดอบรมผลิตสื่อสร้างสรรค์

 

 

          ดังนั้นจะต้องมีเครื่องมือที่ช่วยเด็กรุ่นใหม่ให้สามารถดำเนินการได้ กล่าวคือ 1.หาตัวเองให้พบทำให้เขาหาตัวตนให้เจอ 2.คบตัวเองให้ได้คือ ยอมรับตัวเอง เช่น ฉันตัวดำ ครอบครัวแตกแยก ยอมรับความเป็นจริงได้ 3.ใช้ตัวเองให้คุ้มเพราะการเรียนรู้ไม่ได้อยู่แค่ในห้องเรียน 4.คุมตัวเองให้อยู่เพราะทุกอย่างสมัยนี้กำลังมารุมเร้า และ 5.รู้ตัวเองให้จริง พอเขารู้ตัวเองเขาจะสามารถสร้างสรรค์สิ่งที่ดีภายใต้เงื่อนไขที่เขาสร้างเอง
   

          เนื่องจากอยู่ในยุคของความเปลี่ยนแปลงที่เร็วมาก โดยเฉพาะโลกอินเทอร์เน็ตปัจจุบันเปิดกว้างมากและเด็กทุกคนสามารถเข้าถึงได้ หน้าที่ของกระทรวงวัฒนธรรมคือสร้างการตระหนักรับรู้หาสื่อที่ดี การผลิตสื่อที่ดีให้แก่เยาวชน รัฐบาลใหม่ต้องให้ความสำคัญเรื่องนี้ด้วย ต้องทำให้เด็กรุ่นใหม่มองออกว่าการเป็นคนดี เป็นอย่างไร ที่สำคัญต้องสามารถแยกแยะได้ว่าการสื่อสารกับความเป็นจริงต้องแยกกันอย่างไร เพราะถ้าแยกไม่ออกจะตกเป็นเครื่องมือของโลกยุคดิจิทัลได้

 

 

 

วธ.หนุนเด็กยุคใหม่รู้เท่าทันสื่อจัดอบรมผลิตสื่อสร้างสรรค์

 

          “เรากำลังอยู่ในยุคของความเปลี่ยนแปลงที่เร็วมากโดยเฉพาะโลกอินเทอร์เน็ต ถ้าอ่านสื่อไม่ออกเราจะกลายเป็นเหยื่อ และเด็กทุกคนสามารถเข้าถึงได้ หน้าที่ของกระทรวงวัฒนธรรม คือ ทำงานสร้างการตระหนักรับรู้หาสื่อที่ดี การผลิตสื่อที่ดีให้แก่เยาวชน”


          ปภัสสร แก้วกุลฑล นักศึกษาปี 4 คณะวิทยาการจัดการ หลักสูตรนิเทศศาสตร์ สาขาประชาสัมพันธ์และการสื่อสารองค์กร มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา หนึ่งในผู้ร่วมอบรม กล่าวว่า สื่อในปัจจุบันมีทั้งดีและไม่ดี แต่เยาวชนมักเสพสื่อที่เป็นด้านลบ ดังนั้นเป็นเรื่องสำคัญที่ผู้ใหญ่ต้องช่วยกันสอดส่องดูแลให้เด็กดูอะไรที่มีสาระและเนื้อหาที่ดี ทั้งนี้หลังจากอบรม คิดว่าจะนำความรู้ไปใช้ในการเปิดรับสื่อที่สร้างสรรค์และมีประโยชน์ รวมถึงรู้จักระวังตัวเองเวลาใช้สื่อและรู้เท่าทันมากยิ่งขึ้น
 

 

 

วธ.หนุนเด็กยุคใหม่รู้เท่าทันสื่อจัดอบรมผลิตสื่อสร้างสรรค์

 

 

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ