
Newground:กลุ่มเด็กที่ไม่พอใจอะไรบางอย่าง
กลุ่มNewgroundจะเป็นการรวมตัวกันของเด็กที่ไม่พอใจอะไรบางอย่างและอยากจะลองแก้ไขสิ่งที่ไม่พอใจด้วยวิธีที่แปลกให้เกิดทางเลือกแก้ปัญหาพัฒนาคุณภาพชีวิตประชากรในอนาคต
ประมาณเดือนมิถุนายน 2560 มีการเปลี่ยนแปลงของเพจ ชื่อ “เกรียนการศึกษา” ก่อตั้งเมื่อ 3 ปีที่แล้ว "เปรมปพัทธ ผลิตผลการพิมพ์" เด็กหนุ่มที่สนใจเรื่องปฏิรูปการศึกษาตั้งแต่สมัยเรียนชั้นมัธยม มีผู้ติดตามหลายหมื่นคน นำเสนอเรื่องราวอินโฟกราฟฟิก มุมมองคนรุ่นใหม่ที่มีต่อระบบการศึกษาไทย การทำให้ห้องเรียน ครู เด็กนักเรียน มีชีวิตอย่างแท้จริง
มาเป็นชื่อ Newground ได้ทำการวิจัยสำรวจความคิดเห็นที่เยาวชนมีต่อประเทศไทย ประจำปี 2560 ผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์ ในชื่อแคมเปญ #bye2017เผยแพร่ผ่านเว็บไซต์ http://www.newgroundforum.com และแฟนเพจ newground
เชื่อว่าผู้ใหญ่ในวงการศึกษาหลายคนไม่น้อยที่คุ้นชื่อ "เปรมปพัทธ หรือ “ฟิล์ม” เด็กหนุ่มคิดนอกกรอบ เรียนจบจากโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย นนทบุรีปริญญาตรี คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ เขาทำเพจเกรียนการศึกษาขึ้นเพื่อให้กลุ่มเป้าหมายที่เป็นเด็กนำสิ่งที่เพจเสนอไปต่อยอด เพราะมองว่าการปฏิรูปการศึกษาขาด 2 อย่าง คือ ตัวผู้เรียนและมิติดิจิทัล เพราะเมื่อพูดถึงผู้เรียนสิ่งที่เห็นชัดที่สุด ไม่พบว่าในกระบวนการปฏิรูประบบการศึกษาที่เป็นเรื่องของเด็ก แต่กลับไม่มีเสียงเด็กเข้าไปร่วมพูดคุยในวงปฏิรูปอย่างแท้จริง มีเพียงเสียงจากผู้ใหญ่ หรือหากมีเสียงเด็กก็มักเป็นเสียงเด็กปลอมๆ ที่เข้าไป
เปรมปพัทธ ผลิตผลการพิมพ์
“ฟิล์ม” เคยให้สัมภาษณ์ไว้ว่าการปฏิรูปการศึกษาผู้ที่เกี่ยวข้องควรเข้าใจเด็กที่เป็นผู้เล่นของระบบอย่างแท้จริง ไม่ใช่ครู ผู้ปกครอง หรือโรงเรียน สิ่งที่ควรเน้นคือเด็กจะมีทัศนคติต่อการใช้ชีวิตอย่างไร รู้สิทธิร่างกาย หรือตระหนักเรื่องอนาคตมากน้อยเพียงใด เพราะเรื่องเหล่านี้ข้อมูลพื้นฐานทางการศึกษาไม่สามารถนำมาประเมินวัดผลได้
ครูผู้สอนต้องก้าวพ้นจากกรอบเดิมๆ ซึ่งมีผลการศึกษาถึงวิธีการก้าวหลุดพ้นจากกรอบเดิมๆ เพื่อให้ทันเทคโนโลยียุคดิจิทัลของครูผู้สอน คือ 1.บุคลากรในระบบเก่าต้องเรียนรู้พัฒนาทักษะใหม่ต่อยอดจากทักษะเดิม (Re-skills) เพื่อให้รู้เท่าทันวิวัฒนาการเทคโนโลยีที่ทันสมัยอยู่ตลอด 2.คนในสังคมต้องเรียนรู้ลักษณะที่สามารถนำไปต่อยอด (Capacity Building) แก้ปัญหาเชิงระบบได้
รวมถึงทำให้เห็นถึงความเชื่อมโยงและเข้าใจปัญหา เพราะอีก 20 ปีข้างหน้าการศึกษาตอนนี้ที่สอนอยู่คงเป็นเรื่องเก่า 3.ทำให้คนพร้อมรับมือกับการเปลี่ยนแปลง 4.ทำให้คนสามารถเติบโตตามยุคสมัยได้ และ 5.ทำให้คนของเราตัดสินใจได้ในภาวะที่มีข้อมูลล้นเกิน
Newground Team ประกอบด้วย วิภาพรรณ วงษ์สว่าง Magician & Data Alchemist ที่เป็นนักผจญภัยทางความรู้ แมงมุมไต่เว็บ และนักเล่นแร่แปรธาตุผู้สรรหามูลค่าจากสิ่งตั่งต่าง หน้าที่ในนิวกราวคือทำยังไงก็ได้ให้สิ่งที่ควรจะเกิดได้เกิดซะที , วริศ ลิขิตอนุสรณ์ Academic Director / Researcher เขาสนใจวิธีวิทยา ภววิทยา สหวิทยาการ ฯลฯ วริศไม่พอใจกับข้อจำกัดของศาสตร์ไหนสักศาสตร์ และกำลังพยายามพัฒนาฐานความคิดจากศาสตร์ต่างๆ เพื่อหาความเป็นไปได้ใหม่ในการสร้าง มอง และใช้งานวิชาการให้ได้มากกว่าที่มันเคยเป็น ปัจจุบันยังคงเขียน วิจัย และบรรณาธิกรณ์ ข้ามไปมาระหว่างหลากหลายสนาม ,
วิภาพรรณ วงษ์สว่าง
วริศ ลิขิตอนุสรณ์
วรวัส สบายใจ Project coordinator เคยเป็นผู้ร่วมจัดงานเวทีฟังเสียงเด็ก ของสำนักงานปฏิรูปเฉพาะประเด็นการศึกษา เมื่อปี 2555 และสาบานว่าจะไม่กลับไปทำอะไรแบบนั้นอีก จบธุรกิจเพื่อสังคม ทำงานด้านออกแบบกระบวนการเรียนรู้สนับสนุนครูและอาจารย์มหาวิทยาลัยหลายสาขา สนใจการจัดการเรียนรู้ที่ปลดปล่อยศักยภาพคนรุ่นใหม่ ,
วรวัส สบายใจ
เปรมปพัทธ ผลิตผลการพิมพ์ Director of Newground นักผลิตสื่อประเด็นสังคม ผู้ก่อตั้ง Young Filmmakers of Thailand (องค์กรสาธารณประโยชน์) มีประสบการณ์ด้านงานสื่อสารสังคมและงานเยาวชนกว่า 7 ปี เคลื่อนไหวในประเด็นการเข้าถึงทรัพยากรของคนรุ่นใหม่ ประชาธิปไตย สิทธิมนุษยชน เสรีภาพในการแสดงออก การคิดเชิงวิพากษ์ กระบวนการมีส่วนร่วม และความคิดสร้างสรรค์ ,
เบญจ์บรรพต โพธิ์เกตุ Researcher นักปรัชญา นักวิจัย สนใจแทบทุกอย่าง แต่สนใจเป็นพิเศษ คือ จริยศาสตร์ และผลงานที่ตอบโจทย์ร่วมสมัย ปัจจุบันกำลังศึกษาปรัชญาข้อมูล ภววิทยาสายวัตถุวิสัยใหม่ และปรัชญาศาสนา ชอบเล่นเกมมากกว่าอ่านหนังสือ,
เบญจ์บรรพต โพธิ์เกตุ
กฤษฎา ธีระโกศลพงศ์ Researcher สนใจด้านแรงงาน สวัสดิการสังคม และองค์การระหว่างประเทศ ชื่นชอบการสืบค้นและวิจัยเอกสาร ขณะนี้กำลังศึกษา (1) Neo-Gramscian Approach ในทาง Global social policy (2) การปฏิรูปเชิงโครงสร้างการบริหารของ ILO ในศตวรรษที่สอง และคาดว่าจะศึกษา (3) ประวัติศาสตร์แรงงานไทยก่อน 2475 ในเวทีระหว่างประเทศ สำหรับช่วงเวลาผ่อนคลายก็มีเล่นเกม Pokemon ในเครื่องเกม Nintendo 3DS และมีแผนอยากพัฒนาเพื่อจำลองโปเกม่อนเป็นสือการเรียนการสอนในชั้นเรียน
กฤษฎา ธีระโกศลพงศ์
และ ณัฐชนน เกิดมั่นคง Researcher เป็นนิสิต สนใจเรื่อง(1)การ์ตูนญี่ปุ่นโดยเฉพาะนารูโตะ (2)สื่อและการกล่อมเกลาเยาวชนทั้งในไทยและต่างประเทศ ขณะนี้กำลังเริ่มดูการ์ตูนฝั่งตะวันตก
ณัฐชนน เกิดมั่นคง
และในวันนี้ 12 มกราคมก่อนจะถึงวันเด็กแห่งชาติ 13 มกราคม พวกเขากลุ่ม Newground ได้ร่วมกันแถลงข่าว เผยผลสำรวจรับวันเด็ก : คนรุ่นใหม่ให้คะแนนผู้ใหญ่และประเทศไทยเท่าไรในปีที่ผ่านมา โดยมีเนื้อหา 1. เปิดเผยผลสำรวจความคิดเห็นที่คนรุ่นใหม่มีต่อผู้ใหญ่และประเทศ 2.ข้อสังเกต ตีความ จากทีมผู้สำรวจ 3.แนวทางต่อยอด ขยายผล ไปสู่ประโยชน์อื่นๆ
เพราะจริงๆแล้วรัฐบาล หรือผู้ควบคุมระบบควรเข้าใจเรื่องดิจิทัล เปิดโอกาสให้คนรุ่นใหม่มีพื้นที่ควรเข้าใจวัฒนธรรมดิจิทัลไปพร้อมกับเชื่อมั่นในเสียงของคนรุ่นใหม่ ซึ่งเราสามารถใช้ประโยชน์ของเทคโนโลยีได้ด้วยการเข้าใจสถานการณ์อำนาจของพลเมืองในยุคดิจิทัล ,ส่งเสริมการเรียนรู้และอยู่ร่วมกันจากประโยชน์ดิจิทัล (Digital Life Skills & Digital Literacy)
,ทำคนในสังคมทั้งครู ผู้ปกครอง และอื่นๆ ต้องให้เหตุผลอย่างสร้างสรรค์กับเด็ก (Constructive Feedback) เพื่อให้เด็กมีพัฒนาตอบกลับมาอย่างสร้างสรรค์เช่นกัน ,ส่งเสริมวิธีคิดการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ (Growth Mindset) ซึ่งจะนำไปสู่การสร้างชุมชนที่แก้ปัญหาได้ด้วยตนเอง (Creative & Maker Community)และหากทำได้เชื่อว่าการศึกษาไทยจะพร้อมเข้าสู่ยุคไทยแลนด์ 4.0 ได้ในที่สุด