ไลฟ์สไตล์

เตรียมพร้อมสังคมสูงวัยให้เป็นพลังร่วมสร้างเมือง

เตรียมพร้อมสังคมสูงวัยให้เป็นพลังร่วมสร้างเมือง

06 พ.ย. 2560

....

สถานการณ์ผู้สูงอายุปัจจุบัน พบว่าประเทศไทยได้ก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ Aging society ตามนิยามขององค์การสหประชาชาติ UN เป็นสังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์ Agingsociety โดยเฉพาะอย่างยิ่งพื้นที่ภาคเหนือของประเทศ คือมีจำนวนประชากรอายุ 60ปีขึ้นไปมากกว่าร้อยละ20 ของประชากรทั้งประเทศ และคาดว่าในอนาคตอันใกล้จะเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุอย่างเต็มที่  Super-aged society คือมีประชากรอายุตั้งแต่ 65 ปี มากกว่าร้อยละ20 ของประชากรทั้งประเทศประเทศไทยจะกลายเป็นสังคมสูงวัยอย่างสมบูรณ์ ในปี 2564 และจะเป็นสังคมสูงวัยระดับสุดยอดในปี 2574

นางธนาภรณ์ พรมสุวรรณ อธิบดีกรมกิจการผู้สูงอายุ กล่าวว่า มั่นใจการเตรียมความพร้อม ก้าวสู่การเป็นสังคมผู้สูงอายุ พัฒนาสังคมและความมั่นคงมนุษย์จังหวัด หรือ พมจ. มีศูนย์จัดสวัสดิการคือเดิมสถานสงเคราะห์คนชรา มีภารกิจการทำงานด้านผู้สูงอายุ มีพรบ.ผู้สูงอายุ ยุทธศาสตร์20ปีเพื่อลดความเหลื่อมล้ำ ที่เป็นเป้าหมายของรัฐบาล สิ่งที่สำคัญและเร่งการทำงานให้เร็วที่สุด เน้นสังคมสูงอายุ ว่าทำให้ผู้สูงอายุเข้มแข็ง เพื่อลดการพึงพา มีรายได้ พึงพาตัวเองได้ ประกอบอาชีพให้มากขึ้น

          กระทรวงพม.มีนโยบายประการหนึ่งเรื่องการเตรียมความพร้อมรองรับสังคมผู้สูงอายุ ทั้งใน มิติ เศรษฐกิจ สังคม สุขภาพ และสภาพแวดล้อม การบริการสาธารณะ การบริการสังคม โดยยกระดับ ศูนย์ทั้ง 12แห่งเป็นศูนย์เรียนรู้ ให้มีองค์ความรู้เชิงบริบทในพื้นที่มากขึ้น องค์ความรู้ต่างๆไม่ใช่เชิงวิชาการอย่างเดียว รวมไปถึงการปฏิบัติและการนำมาสู่ผลสำเร็จด้วย

นายสมพร ใช้บางยางประธานเครือข่ายร่วมสร้างชุมชนท้องถิ่นน่าอยู่ กล่าวว่า หลายฝ่ายมาร่วมขับเคลื่อนด้วยความเข้าใจเพื่อสร้างกระบวนการพัฒนา แลกเปลี่ยนเรียนรู้คิด หาแนวทางขับเคลื่อนไปข้างหน้า ร่วมจับมือสานพลังขับเคลื่อนไปสู่สูงวัยสร้างเมือง จากการที่ร่วมขับเคลื่อนกันมาได้เห็นพลังของผู้สูงวัยในเมือง ชนบท หรือชุมชน ผู้สูงวัยเป็นกลุ่มที่มีพลัง มีความรู้ มีประสบการณ์ ความคิด ที่ผ่านร้อนหนาวมายาวนาน หนุนเสริม นำมาใช้ร่วมกับพลังอื่นในชุมชน สังคม เด็กเยาวชน หนุ่มสาว ภาครัฐเอกชน ในองค์กรต่างๆดูแลสังคมให้พัฒนา ไปสู่ความมั่นคงมั่งคั่งยั่งยืนตามเป้าหมายอีก 20ปีของรัฐบาลได้ด้วยการเปลี่ยนวิธีคิดของคนในสังคม และจุดประกายทางปัญญา ทำให้เปลี่ยนแปลงเพื่อขับเคลื่อนชุมชนท้องถิ่น

การขับเคลื่อนผู้สูงวัยสร้างเมือง สามารถทำให้เป็นรูปธรรมได้โดยยึดหลักการพัฒนาชุมชนท้องถิ่นที่เอาพื้นที่เป็นตัวตั้งและประชาชนเป็นเป้าหมาย โดยสสส.มีบทบาท หนุนเสริมพลังให้พี่น้องเครือข่ายร่วมกับภาคีอื่นๆหน่วยงานอื่น ๆ ช่วยทำหน้าที่เสริมพลัง ความคิด จัดกระบวนการ และเสริมให้กำลังใจ ในการปฏิบัติในพื้นที่ และเชื่อมั่นว่า ภารกิจหลักผู้สูงอายุสามารถทำให้เป็นต้นแบบ ให้กับชุมชนท้องถิ่นขับเคลื่อนเรื่องนี้ เพื่อไปสู่เป้าหมายการเปลี่ยนแปลงระดับนโยบาย เพื่อเปลี่ยนวิธีคิดของคนในสังคมจากคำว่าภาระเป็นพลังเพื่อไปสู่เป้าหมายนี้

นางสาวดวงพร เฮงบุณยพันธ์ ผู้อำนวยการสำนักสนับสนุนสุขภาวะชุมชน (สำนัก3) สสส.กล่าวใน การประชุมเชิงปฏิบัติการมุ่งสู่ “สูงวัยสร้างเมือง” และลงนามบันทึกข้อตกลง ว่า เป็นการรวมตัวกันพื้นที่จะทำเรื่องผู้สูงอายุ เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เรื่องโรงเรียนผู้สูงอายุ135 แห่งมาเรียนรู้ เพื่อกำหนดมาตรฐานงานกิจกรรมที่จะทำ68 ตำบล ที่7หน่วยงานลงนามความร่วมมือ สร้างเป็นพัฒนาศูนย์เรียนรู้ในอนาคต สสส.รับโจทย์มาทำงาน และได้รับอาสาจากชุมชน68 ตำบลที่เข้มแข็งอยู่แล้วจัดระบบเพื่อจัดหลักสูตรการเรียนรู้ให้กับผู้ที่สนใจหรือว่าจัดการเรียนรู้ตามนโยบาย ทางรัฐบาล หรือกระทรวงที่ต้องการผลักดัน ให้เกิดคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุดีขึ้น

จากฐานข้อมูลประชากรในเครือข่ายทั้ง 2,618 อปทจำนวน 8.1 ล้านคน มีครัวเรือนที่กำหนดข้อมูลได้ 2.6ล้านครัวเรือน มีผู้สูงวัย 18.5%ขณะนี้ภาพรวมของประเทศไทย พื้นที่ในเครือข่ายมีอัตราผู้สูงวัย จำนวนมากกว่าอัตราเฉลี่ยของประเทศแล้วยิ่งท้าทายสมาชิกเครือข่ายร่วมสร้างสังคมท้องถิ่นน่าอยู่ที่จะสร้างเป็นพื้นที่เรียนรู้ให้กับเครือข่ายในประเทศไทย สามารถสร้างการเรียนรู้ให้กันเองได้และให้สถาบันการศึกษามาเรียนรู้จากปฏิบัติการจริงของชุมชน เพื่อจะจัดระบบดูแลผู้สูงอายุโดยชุมชนเอง

การดูแลคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ   ปฏิบัติการในพื้นที่ของจังหวัด ต้องสร้างกลไกเพื่อขับเคลื่อนให้แต่ละพื้นที่ ในทางปฏิบัติจำเป็นต้องสร้างรูปธรรมเป็นต้นแบบให้แต่ละจังหวัด แต่ละอำเภอ ได้สร้างการเรียนรู้ เช่น เทศบาลนครเชียงราย 5โซน ให้แต่ละโซนจัดการดูแลผู้สูงอายุด้วยตัวเองเป็นต้นแบบ5 อ.ตั้งแต่ระดับ บุคคล และครอบครัว เป็นหน้าที่พลเมือง 5 ก.เป็นระดับ หน่วยงาน รับผิดชอบ เช่นหน่วยงานไม่ทำเรื่องออกกำลังกายต้องให้มีชมรมผู้สูงอายุเพื่อกระตุ้น 5 อ.ให้เกิดขึ้นได้ ถึงวันนี้จำนวนผู้สูงอายุเพิ่มขึ้นเป็นธรรมชาติการเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุไม่ใช่วิกฤติ  ผู้สูงอายุที่เคยทำอะไรได้ก็ทำต่อไป มีภารกิจต้องสืบทอด สืบสาน อนุรักษ์  มีองค์กร หน่วยงานทำเรื่อง  ระบบหลักประกันสังคมภาคประชาชน  ภาครัฐ ภาคเอกชน เอ็นจีโอ ทำเรื่องสร้างเสริมสุขภาพอย่างเข้มข้น มีนักการเมืองในอดีตปัจจุบัน ให้ความสำคัญ การสร้างเสริมสุขภาพประเทศไทย จะไม่เกิดวิกฤติเร็วหากเตรียม 5 อ.ได้ ทำให้ 5 กลไก ในพื้นที่ทำงานได้

“ในอีก6เดือนจะเห็นรูปธรรมจากในพื้นที่ เพราะว่า ตำบล 68 แห่งได้จัดการเรียนรู้เพิ่มขึ้นแล้ว อาจจะไม่ได้จัดทั้งหมดทุกเรื่อง ทั้ง40กิจกรรม แต่อาจจะมีโรงเรียนผู้สูงอายุ ทำถูกทิศทาง ทำแล้วจัดการตัวเองโดยไม่พึ่งพิงรัฐ”นางสาวดวงพรกล่าวและว่า การจัดการเป็นต้นแบบ มีการเรียนรู้ขึ้น ท้องถิ่นต่างๆที่เรียนรู้อยู่แล้ว ตอนนี้สสส.ประสานกรมกิจการผู้สูงอายุ มอบให้เป็นศูนย์จัดการเรียนรู้ สสส.ไปจัดการรับรองหลักสูตร มหาวิทยาลัยรอบๆมาช่วยดูศูนย์เรียนรู้ทำความเข้าใจองค์ความรู้ พื้นที่ต่างๆนี้ก็จะเป็นพื้นที่ให้นักศึกษามาฝึกงาน โดย สสส.จะสร้างพื้นที่เครือข่ายให้จัดระบบ องค์ความรู้ให้ปฏิบัติการเกิดขึ้นได้จริงกับสังคมเรื่องผู้สูงอายุเป็นวาระแห่งชาติ ต้องให้มีการลงแรง เรื่องการปฏิบัติให้เป็นวาระขององค์กรด้วย จากประสบการณ์การพัฒนาระบบการดูแลผู้สูงอายุหลายพื้นที่ ทั้ง อปท. ที่เป็นศูนย์ประสานงานเครือข่ายเฉพาะประเด็นและจัดการเรียนรู้(ประเด็นผู้สูงอายุ) และอปท.ที่เป็นศูนย์เรียนรู้ประเด็นผู้สูงอายุ เมื่อนำมาทบทวน สรุปบทเรียนและสังเคราะห์เป็นชุดความรู้ ได้ชี้ให้เห็นว่าแนวทางที่นำไปสู่การพัฒนาระบบการดูแลผู้สูงอายุโดยชุมชนท้องถิ่น ประกอบด้วยแนวทาง6ประการได้แก่1.การพัฒนาศักยภาพผู้สูงอายุและผู้ที่เกี่ยวข้อง2.การปรับสภาพแวดล้อมให้เอื้อต่อการดำเนินชีวิตของผู้สูงอายุ3.การพัฒนาระบบการบริการในการดูแลช่วยเหลือผู้สูงอายุ4.การจัดตั้งกองทุนให้มีสวัสดิการการดูแลช่วยเหลือ5.การพัฒนาระบบข้อมูลและนำใช้ข้อมูลเพื่อการดูแลผู้สูงอายุ6.การพัฒนากฎ กติกา ระเบียบ และนโยบายสาธารณะเพื่อสนับสนุนการดูแลผู้สูงอายุในการออกแบบและพัฒนาให้ผู้สูงอายุมีคุณภาพชีวิตที่ดี และเอื้อต่อการดำรงชีวิตที่ยืนนาน จึงกำหนดเป็น10กลยุทธ์ด้วยหลัก 5 อ ประกอบด้วย  อ.1 อาชีพคือ มีอาชีพรวมกลุ่มสร้างงาน สร้างรายได้ให้สามารถพึ่งพาตนเองได้  อ.2 อาหาร คือกินอาหารดี ปลูก ปรุงเอง กินในครอบครัว และแบ่งปันอ.3 ออกกำลังกาย  เน้นกิจกรรมทางกายที่ทำเองที่บ้าน รวมกลุ่มกันออกกำลังกายเป็นประจำ การผนวกการออกกำลังกายเข้าไปในกิจกรรมทางวัฒนธรรม ประเพณี  อ.4 ออม คือเก็บออม กระตุ้นให้มีการออมร่วมกับกลุ่ม และจัดระบบให้ผู้สูงอายุที่มีจิตอาสามีโอกาสในการออมความดี เพื่อเป็นตัวอย่างให้กับชุนชนจัดให้มีผลตอบแทนจากการทำความดีอ.5 อาสาสร้างเมือง คือปรับบ้าน ดูแลเพื่อน ชักชวนให้ผู้สูงอายุได้ทำงานอาสาในกลุ่มของตนเอง เช่นการร่วมกันซ่อมแซมบ้าน ปรับสิ่งแวดล้อมให้เพื่อนหรือผู้ยากไร้ในชุมชนและหลัก 5 ก.ประกอบด้วยก.1 การป้องกันและลดอุบัติเหตุ ก.2 การตั้งและการพัฒนาโรงเรียนผู้สูงอายุ ก.3 การพัฒนาชมรมผู้สูงอายุ ก.4 การดูแลต่อเนื่อง ก.5 การบริการกายอุปกรณ์.