
รู้จักดิเรก-อับดุลมานาฟ บุญมาเลิศ
รุ่นพี่ “สมาคม” คือผู้ที่มีส่วนร่วมในการทำงานของสมาคมนักเรียนไทยในกรุงไคโร ประเทศอียิปต์ ปัจจุบันเปลี่ยนชื่อมาเป็นสมาคมนักเรียนไทยในกรุงไคโรในพระบรมราชูปถัมภ์
“การที่ได้มีโอกาสเข้าไปทำงานบริการนักศึกษากับสมาคมนักเรียนไทยในกรุงไคโร ในปี 1988 ทำให้ผมได้มีประการณ์การทำงานในครั้งแรก และนำมาซึ่งการทำงานด้านบริการสังคม เมื่อกลับสู่บ้านเกิด มันเป็นความสุขที่เราได้ให้การช่วยเหลือกับผู้คนและสังคม ถึงแม้บางครั้งจะทำให้ผู้รับบริการไม่ประทับใจบ้าง งานเหล่านี้ทำให้เรากลายเป็นผู้มีความอดทน ไม่ท้อต่อการการทำงานเพื่อสังคม จึงทำให้ผมสามารถสรุปได้ว่า การทำงานบริการสังคมเราไม่สามารถจะทำให้ทุกคนถูกใจได้ทั้งหมด เพียงแต่เราจะสามารถสร้างความพอใจได้มากน้อยเพียงใดแก่ผู้ใช้บริการเท่านั้น” อาจารย์ดิเรก หรือ อับดุลมานาฟ บุญมาเลิศ กล่าว
อาจารย์ดิเรก เป็นคนจังหวัดกรุงเทพมหานคร จบปริญญาตรีคณะอิสลามศึกษาและภาษาอาหรับ จากมหาวิทยาลัยอัลอัซฮัร ประเทศอียิปต์ และศึกษาต่อมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมธิราชในระดับปริญาตรีด้านการบริหารการศึกษา และเรียนต่อปริญญาโท จากสถาบันเดียวกันปัจจุบันดำรงตำแหน่งเป็นคณะกรรมการอิสลามประจำมัสยิดดารุ้ลอิบาดะห์ (หัวหมากน้อย) กรรมการบริหารสมาคมคุรุสัมพันธ์อิสลามแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ประธานเขตการศึกษาที่ 1. และหัวหน้าหน่วยสอบที่ 69 สมาคมคุรุสัมพันธ์อิสลามฯ คณะกรรมการบริหารสมาพันธ์ศิษย์อัลอัซฮัรโลก สาขาประเทศไทย ครูสอนศาสนาอิสลามขั้นพื้นฐาน (ฟัรดูอัยน์ หรือตาดีกา) และครูสอนพระมหาคัมภีร์อัล กุรอาน
อาจารย์ดิเรก เล่าว่าตอนอยู่อียิปต์เริ่มเข้าทำงานสมาคมฯ ปี 1988 ในตำแหน่งเลขา นายกสมาคมในปีนั้นคือ สมควร (ฮุซัยนี)เมฆลอย ซึ่งก่อนที่จะเข้ามาเป็นกรรมการในตำแหน่งเลขา ได้เข้าเป็นอนุกรรมการฝ่ายต่างๆ เช่น ปฏิคม ทัศนะศึกษา กีฬา กิจกรรมนักศึกษา และบรรณารักษ์
"สมัยก่อนนั้นนักศึกษาไทยมีจำนวนไม่มากเหมือนปัจจุบัน จึงมีการปฏิสัมพันธ์กันอย่างทั่วถึง สถาบันการศึกษาด้านศาสนาของไทยก็มีน้อยทำให้ทุกสถาบันติดต่อสัมพันธ์กันได้ถึงตัวนักศึกษาของแต่ละสถาบัน สมัยก่อนนักศึกษา จะสามารถติดต่อสื่อสารกับทางเมืองไทยได้ก็ด้วยทางจดหมาย และโทรศัพท์สาธารณะระหว่างประเทศเท่านั้น การใช้ชีวิตและการเป็นอยู่สมัยก่อนนั้นมีความปลอดภัยสูงกว่าปัจจุบัน การขอวีซ่าก็สามารถทำได้ด้วยการแลกเงินกับธนาคาร แล้วนำใบเสร็จไปแลกเงินเพื่อต่อวีซ่า จะอยู่ได้กี่วันแล้วแต่จำนวนของเงินที่แลกและก็สามารถอยู่ในประเทศอียิปต์ได้ "
สมาคมฯและสถานเอกอัครราชทูตไทย ในสมัยก่อนมีความสัมพันธ์อย่างเป็นกันเอง ให้การดูแลชุมชนชาวไทยเป็นอย่างดีโดยเฉพาะนักศึกษาที่อยู่ในประเทศอียิปต์ ถือเป็นชุมชนหลัก สถานเอกอัครราชทูต จึงถือเป็นงานหลักในการบริการและดูนักศึกษาเป็นสำคัญ สมัยก่อนสมาคมฯ จะเป็นผู้ออกเอกสารและสถานเอกอัครราชทูตจะเป็นผู้รับรองเอกสาร การจัดกิจกรรมต่างๆนั้นสมัยก่อนสมาคมฯ จะเป็นผู้จัดหาทุนดำเนินการเองทั้งสิ้น ยกเว้นค่าเช่า ค่าน้ำ และค่าไฟห้าเท่านั้นที่สถานทูตจะรับผิดชอบ
อาจารย์ดิเรก จบการศึกษาจาก ม.อัซฮัร ปี 2542 ใช้เวลาเรียน 14 ปี ในคณะอิสลามศึกษาและภาษาอาหรับ (ดิรอซาตอิสลามียะห์) โดยตั้งใจศึกษาคณะนี้เพื่อนำไปสู่การศึกษาของเยาวชนในด้านการบริหารการศึกษา และเมื่อจบไปในปีเดียวกันก็ได้เข้าไปทำการสอนวิชาอิสลามศึกษา ในโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานครและทุกวันก็ทำการสอนศาสนาอิสลามขั้นพื้นฐานประจำมัสยิดฯ และอัลกุรอาน จนถึงปัจจุบัน
สมัยก่อน การศึกษายังไม่มีการเทียบวุฒิระหว่างสถานศึกษาในเมืองไทย ทำให้เมื่อมาศึกษาที่นี่ต้องเข้าเรียนในระดับวิทยาลัยก่อน จึงจะต่อมหาวิทยาลัยได้ แต่ปัจจุบันมาจากเมืองไทยสามารถเข้ามหาวิทยาลัยได้
อย่างไรก็ตามอยากฝากน้องๆ จงตั้งใจศึกษาไม่ว่าจะเป็นคณะไหน ขอให้เศึกษาตำราอย่างละเอียด หากมีโอกาสในการร่วมทำกิจกรรมกับทชมรม หรือสมาคมฯ ก็จงสละเวลาทำงานเพื่อส่วนรวม เมื่อมีหน้าที่การงาน ขอให้ตั้งมั่นกับหน้าที่ จงยึดมั่นในคุณธรรมมากกว่าความรู้ และสุดท้ายจากแกรนด์อิหม่าม ซัยคุ้ลอัซฮัร ย้ำว่า “ขอให้ผู้สำเร็จการศึกษาจากอัซฮัร ได้ดำรงตนอยู่บนสายกลาง ไม่แบ่งฝักแบ่งฝ่าย