
"เด็กดี"ต้องเชื่อฟังครู ???
“เด็กนักเรียนไทยคิดว่าการถามครูเป็นเรื่องน่าอายหรือเด็กดีต้องเชื่อฟังครู” เป็นทัศนคติทางการศึกษาที่ต้องเร่งปรับแก้ เพราะเป็นปัญหาต่อการพัฒนาการศึกษาไทย
ในมุมมองของทีมที่คว้ารางวัลชนะเลิศ จากโครงการ Redesigning Thailand #4 “เปิดแคมป์จับระบบการศึกษามาปรับทัศนคติ ซึ่งสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย(ทีดีอาร์ไอ)เชิญชวนนิสิตนักศึกษาออกแบบนโยบายเพื่อพัฒนาการศึกษาไทย ไปติดตามรายละเอียดกับ 0 พวงชมพู ประเสริฐ รายงาน 0
ทีมชนะเลิศ ประกอบด้วย นำเสนอเรื่อง ทัศนคติ เด็กดีต้องเชื่อฟังครู ประกอบด้วยนายสิรภพ ลู่โรจน์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ น.ส.วรลักษณ์ ภักตร์อำไพ คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และนายพงศรากร ปาแก้ว คณะสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
“จากงานวิจัยพบว่า 86 %ของนักเรียนไทยไม่กล้ายกมือถามครู มากเป็นอันดับ6 ของโลกที่นักเรียนไม่กล้าถามครู สาเหตุสำคัญที่เด็กไม่กล้าถาม เกิดขึ้นจากบรรยากาศในห้องเรียนที่มี 3 องค์ประกอบ คือ ครู นักเรียน และเพื่อนร่วมชั้น” น.ส.วรลักษณ์ เปิดฉากถึงที่มาของปัญหา
น.ส.วรลักษณ์ ขยายความต่อว่า ทัศนคติของ 3 องค์ประกอบดังกล่าว ส่งผลโดยตรงต่อทัศนคติตัวนักเรียน โดยครูมีทัศนคติที่ว่าเรามีอำนาจสูงสุดในห้องเรียน เป็นอำนาจนิยม เราตัดสินถูกผิดโดยใช้เกณฑ์ของตนเองเป็นหลัก เพื่อนร่วมชั้นมีทัศนคติที่ว่าการยกมือถามในห้องเป็นการอวดรู้ โชว์ฉลาด เป็นการรบกวน
ทำให้ตัวนักเรียนมีทัศนคติที่ว่าการยกมือถามคือแตกแยก อาย ไม่กล้าถาม ทัศนคติเหล่านี้ส่งผลให้นักเรียนขาดความมั่นใจในตนเอง และส่งผลต่อการศึกษา ตัวอย่างที่เห็นได้ชัด เช่น การเรียนภาษาอังกฤษ ที่ไม่ประสบความสำเร็จ เพราะเด็กไทยไม่กล้าถาม อาย ขาดความมั่นใจ
ทัศนคติเหล่านี้ทำให้การเรียนการสอนของประเทศไทย ไม่พัฒนา หยุดนิ่ง และไร้ประสิทธิภาพ!
นายพงศรากร เพิ่มเติมว่า ปัญหาเหล่านี้เป็นจุดเริ่มต้นของการเรียนรู้ทั้งหมด ไม่ว่าจะปรับส่วนอื่นๆอย่างไร ถ้าส่วนล่างหรือนักเรียนยังไม่พร้อมเปิดรับการเรียนรู้ ก็ไม่มีประโยชน์ ไม่สัมฤทธิ์ผล
ทีมมองว่าแนวทางที่จะช่วยแก้ปัญหานี้ได้ คือ “Drama in Education หรือ ละครเพื่อการศึกษา” เน้นที่กระบวนการ คือ การร่วมมือและมีปฏิสัมพันธ์กันระหว่างครูกับนักเรียน และเพื่อนนักเรียนในห้องเรียน
ซึ่งจะทำให้เด็กมีความคิดสร้างสรรค์มีตรรกะในการคิด พังกำแพงระหว่างกัน เมื่อจะซักถาม มีส่วนร่วมเรื่องใดในห้อง นักเรียนจะมีความมั่นใจในตนเอง มีความภาคภูมิใจ เมื่อนักเรียนมีความเชื่อมั่นในการเปิดรับสิ่งต่างๆ แน่นอนการเรียนรู้ก็จะมีประสิทธิภาพ ที่สำคัญแนวทางนี้สามารถนำไปปรับเพิ่มเป็นวิชาใหม่ หรือบูรณาการในวิชาต่างๆได้ ไม่เสียงบประมาณเพิ่มขึ้นมาก
นายสิรภพ บอกว่า การนำแนวทางนี้มาสู่การปฏิบัติสามารถทำได้จริง โดยเสนอนโยบายเชิงรูปธรรม 2 ส่วน เน้นไปที่นักเรียนในระดับยชั้นประถมศึกษา เนื่องจากเป็นระดับที่สามารถซึมซับสภาพแวดล้อม เรียนรู้สิ่งต่างๆได้ง่าย บวกกับการเรียนการสอนยังไม่เน้นวิชาการมากจนไม่มีเวลาเรียนรู้อย่างอื่น
ประกอบด้วย 1.ระดับประถมฯ1-3 จัดการเรียน Drama Education ซึ่งเป็นการเรียนเจาะจงไปทางด้านการเรียนดราม่าหรือละครโดยตรง เนื่องจากเป็นช่วงเวลาที่เด็กยังเปิดรับ ยังกล้าแสดงออก ยังไม่รู้ว่าค่านิยมของสังคมคืออะไร รูปแบบจะเป็นลักษณะการบอกโจทย์ให้เด็กร่วมกันคิดและออกมาแสดงหน้าชั้นเรียน เช่น โจทย์เกี่ยวกับความรัก ก็ให้เด็กร่วมกันคิดตีความว่าจะสื่อเรื่องความรักออกมาแบบไหน ผ่านละครที่จะถ่ายทอด เป็นต้น
และ2.ระดับชั้นประถมฯ4-6 จะนำดราม่าไปบูรณาการเข้ากับวิชาอื่น โดยเฉพาะวิชาภาษาอังกฤษ ภาษาไทยและสังคมศึกษา นอกจากนี้ ในระดับมัธยมศึกษาก็จะยังบูรณาการร่วมกับวิชาอื่นๆ แต่รูปแบบการนำเสนออาจจะไม่ใช่การแสดงละคร เป็นเป็นการระดมความคิดเห็นหรือแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันและกัน เพื่อให้เหมาะสมตามช่วงวัย
ทั้งหมดนี้จะทำให้เด็กกล้าแสดงออก ผลพลอยได้จากกระบวนการดราม่านี้ ทำให้เด็กมีทักษะในการคิดเชิงวิพากษ์(Critical Thinking Skill) สามารถตั้งคำถามขึ้นได้ ส่งผลต่อการเรียนรู้ในเรื่องต่างๆในอนาคต
“การปรับทัศนคติของตัวเด็กเองคือรากฐานของการศึกษาไทย คือสิ่งสำคัญที่สุดที่ทุกคนต้องอย่ามองข้าม มันเป็นจุดเล็กที่สุดที่ไม่เคนนึกถึง แต่จุดเล็กก็สามารถสร้างผลกระทบที่ใหญ่ขึ้นในวงกว้างได้ในอนาคต ที่สำคัญ คือ ต้องให้เด็กมีความสุขในการเรียนรู้” นายสิรภพฝากให้คิด
การจะดำเนินการตามแนวทางนี้ ครู และกระทรวงศึกษาธิการ(ศธ.)ต้องเปลี่ยน โดยครู เปลี่ยนการฝึกอบรมครูให้มาเรียนรู้ในเรื่อง Drama Education อาจเริ่มจากวงแคบๆและค่อยขยายผล
ส่วนศธ.อาจต้องปรับเปลี่ยนหลักสูตรในระดับประถมศึกษา อาจเพิ่มให้ Drama Education เป็นรายวิชาใหม่ ในระดับป.1-3 และกำหนดให้บูรณาการหลักสูตรในระดับป.4-6
อย่างไรก็ตาม คณะกรรมการตัดสินหยั่งเชิงตั้งคำถามต่อการนำเสนอของทีมนี้ว่า “แค่นิสิตบางคนที่มั่นใจและกล้าแสดงออกมากๆก็ยุ่งแล้ว จุฬาฯปั่นป่วนหมดแล้ว ถ้าจัดDrama Education จะไม่ทำให้เกิดเด็กไทยแบบนี้เต็มไปหมด ไม่ยิ่งยุ่งหรือ?”
นายสิรภพ ตอบว่า การที่ปัจจุบันประเทศไทยมีเด็กและเยาวชนที่แสดงออกในบางลักษณะจนวุ่นวาย เป็นเพราะสังคมไทยสอนเด็กมาตลอดว่า ห้ามแสดงความคิดเห็น
ขณะที่เด็กฝรั่งได้เรียนรู้ว่าเขามีสิทธิ์ที่จะแสดงความคิดเห็น สิ่งที่ถูก สิ่งที่ทำได้ แต่เมืองไทยเด็กยังไม่เคยชินกับการแสดงความคิดเห็น จึงตีความไปว่าการแสดงความคิดเห็นคือการแหกกฎ
ดังนั้น หากสามารถแนะแนวการแสดงความคิดเห็นตั้งแต่เด็ก เชื่อว่าจะทำให้เด็กไทยกล้าแสดงความคิดเห็นอย่างเหมาะสม
ดร.สมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์ ประธานทีดีอาร์ไอ กล่าวว่า ปัจจุบันทุกคนเห็นตรงกันว่าการศึกษาไทยมีปัญหา แต่การปฏิรูปการศึกษายังไม่ได้ผล เนื่องจากยังคิดและเข้าใจไม่ตรงกันว่า ตรงจุดไหนคือปัญหา อย่างเช่น หากจะปรับรูปแบบการเรียนการสอนเป็นแบบ Active Learningหรือการเรียนรู็แ้บบลงมือทำ
ซึ่งเป็นแนวทางที่ถูกหลายประเทศดำเนินการแล้ว แต่เมื่อนำมาใช้ในประเทศไทย ก็จะมีคำถามจากผู้ปกครองตามมามากมายว่า จะทำให้เด็กสอบเข้ามหาวิทยาลัยได้หรือไม่ เป็นต้น
เมื่อรู้ว่าโลกกำลังเปลี่ยนอย่างรวดเร็ว มีเทคโนโลยีปัญหาประดิษฐ์ ทำให้ทักษะที่คนมีอยู่แบบในอดีตที่เพียงพอในการเลี้ยงชีพได้ตลอดชีวิต ไม่เป็นจริงอีกต่อไป
เพราะฉะนั้น จึงต้องมีทักษะสำหรับศตวรรษที่ 21 ไม่ใช่แค่มีความรู้ แต่ต้องมี 3 ตัว คือ ทัศนคติ(Attitude)ที่ถูกต้อง มีทักษะ(Skill)ที่ใช้งานได้จริง และมีองค์ความรู้(knowledge)
ซึ่งการศึกษาไม่ใช่มีความรู้ถ่ายทอดผ่านท่อจากครูไปนักเรียนเท่่านั้น แต่ผู้ที่จะอยู่รอดต้องเป็นผู้ที่มีทัศนคติและทักษะที่ถูก เพราะฉะนั้น โจทย์สำคัญ คือ การศึกษาจะสร้างคนที่มีทักษะศตวรรษที่ 21ได้จะต้องทำอย่างไร
“โครงการนี้จึงเป็นการรับฟังความคิดจากคนรุ่นใหม่ว่าทัศนคติของคนไทยในเรื่องใดที่จะต้องปรับเปลี่ยนและต้องดำเนินการอย่างไร เพื่อให้การศึกษาไทยมีการพัฒนา ซึ่งล้วนเป็นแนวคิดที่ดีทั้งสิ้น จึงอยากเชิญชวนนิสิตนักศึกษา คนรุ่นใหม่เข้ามาร่วมกับทีดีอาร์ไอและภาคส่วนต่างๆในการปฏิรูปการศึกษา” ดร.สมเกียรติกล่าว
ทัศนคติที่นิสิตนักศึกษาที่ผ่านการคัดเลือกในรอบสุดท้ายจากทีดีอาร์ไอ มองว่าต้อมีการปรับ ใน 6 เรื่อง ได้แก่ 1.ทัศนคติ การศึกษาที่ดีมาจากอำนาจและการรวมศูนย์ ของนักศึกษาจากคณะสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยรามคำแหง คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี สาขามีเดีย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี และคณะวิทยาลัยเทคโนโลยีอุตสาหกรรม สาขาเทคโนโลยีวิศวกรรมไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์กำลัง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
2.ทัศนคติการบริหารจัดการศึกษาที่ดีมาจากส่วนกลาง จากนักศึกษาคณะรัฐศาสตร์ และคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 3. ทัศนคติต่อการเรียนอาชีวะ ทีมจากคณะเศรษฐศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 4.ทัศนคติเรียนไปก็ไม่ได้ใช้ทีมจากคณะเศรษฐศาสตร์ และคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 5.ทัศนคติครูคือผู้นำของการเรียนรู้ในห้องเรียนทีมจากคณะวิทยาการเรียนรู้และศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และ6.ทัศนคติเด็กดีต้องเชื่อฟังครู ทีมจากคณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาคอมพิวเตอร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คณะสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และคณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหา