
มมส เปิด10 งานวิจัย สร้างมูลค่าเพิ่ม
ม.มหาสารคาม แถลงโชว์ 10 ผลงานวิจัยเจ๋งจริง ไม่ขึ้นหิ้ง เน้นแก้ปัญหา สร้างมูลค่าเพิ่ม ต่อยอดเป็นนวัตกรรมเชิงพาณิชย์
ดร.สัมพันธ์ ฤทธิเดช อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหาสารคาม ได้แถลงโชว์ผลงานวิจัยที่โดดเด่น ในปี 2560 ในงานประชุมทางวิชาการ มหาวิทยาลัยมหาสารคามวิจัย ครั้งที่ 13 :From Local to Global in the Context of Thailand4.0 : จากท้องถิ่นสู่สากลในบริบทประเทศไทย 4.0”โดยอธิการบดี มมส เปิดเผยว่าในรอบปีที่ผ่านมามีผลงานวิจัยที่โดดเด่นที่สามารถนำไปใช้แก้ปัญหา สร้างมูลค่าเพิ่มให้กับชุมชน รวมถึงมีศักยภาพที่จะพัฒนาต่อยอดเป็นนวัตกรรมเชิงพาณิชย์ในอนาคต10 ผลงานวิจัยเด่นมหาวิทยาลัยมหาสารคาม ประจำปี พ.ศ. 2560 มีดังนี้
ดร.สัมพันธ์ ฤทธิเดช
1. เครื่องอบแห้งแบบถังทรงกระบอกหมุนด้วยระบบรังสีอินฟราเรดร่วมกับลมร้อนปล่อยทิ้ง ผลงานวิจัยของ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.จักรมาศ เลาหวณิช คณะวิศวกรรมศาสตร์ ได้วิจัยพัฒนาเครื่องอบแห้งสำหรับลดความชื้นของผลผลิตทางการเกษตร เช่น ข้าว ให้เป็นไปอย่างรวดเร็ว มีความสม่ำเสมอ ปัจจุบันได้ นำไปใช้กับเกษตรกรในหลายพื้นที่ นอกจากนี้ผลงานวิจัยนี้ยังได้รับรางวัลหลายรางวัล
เช่น รางวัลSpecial PrizeจากKorea Invention Promotion Associationและรางวัลเหรียญเงิน (Silver Medal)จากงาน“International Exhibition of Inventionsครั้งที่ 45”ณ กรุงเจนีวา ประเทศสมาพันธรัฐสวิส
2. หม้อผลิตไอน้ำประสิทธิภาพสูงเพื่อนึ่งก้อนเชื้อเห็ด ผลงานวิจัยของ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.โสภา แคนสี คณะวิศวกรรมศาสตร์ ได้ออกแบบหม้อผลิตไอน้ำเพื่อใช้ในการนึ่งก้อนเชื้อเห็ดที่มีประสิทธิภาพสูง เพื่อประหยัดพลังงานในการนึ่งเชื้อเห็ด ตลอดจนได้ก้อนเชื้อเห็ดที่มีคุณภาพ ปัจจุบันมีการนำไปใช้ประโยชน์โดยวิสาหกิจชุมชนในหลายพื้นที่
ดร.โสภา แคนสี
3. เครื่องกระเทาะและทำความสะอาดถั่วดาวอินคา ผลงานวิจัยของ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุพรรณ ยั่งยืน คณะวิศวกรรมศาสตร์ ได้พัฒนาเครื่องจักรเพื่อแปรรูปถั่วดาวอินดาให้สอดคล้องกับความต้องการของเกษตรกรและผู้ประกอบการ ปัจจุบันได้นำไปใช้กับผู้ประกอบการที่ผลิตถั่วดาวอินคาเพื่อการค้า
ดร.สุพรรณ ยั่งยืน
4. เคหะภัณฑ์จากวัสดุธรรมชาติ ผลงานวิจัยของ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สืบศิริ แซ่ลี้ คณะวิทยาการสารสนเทศ ได้วิจัยและพัฒนาเคหะภัณฑ์ประเภทต่างๆ โดยใช้วัสดุจากธรรมชาติ ซึ่งสามารถแก้ปัญหาการขาดแคลนวัตถุดิบ ลดราคาต้นทุน สำหรับการผลิตเคหะภัณฑ์
ดร.สืบศิริ แซ่ลี้
5. การออกแบบแผ่นบันทึกข้อมูลและหัวอ่านข้อมูลในฮาร์ดดิสก์ไดร์ฟ ผลงานวิจัยของ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เจษฎา จุรีมาศ และผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พรรณวดี จุรีมาศ คณะวิทยาศาสตร์ ได้ออกแบบ แผ่นบันทึกข้อมูล และ หัวอ่านข้อมูลในฮาร์ดดิสก์ไดร์ฟ โดยอาศัยการศึกษาผ่านรูปแบบจำลองทางคอมพิวเตอร์ ในระดับอะตอม เพื่อทำการออกแบบโครงสร้างและเพิ่มศักยภาพของแผ่นบันทึกข้อมูลให้มีค่า ความจุที่สูงขึ้น รวมถึงทำการออกแบบหัวอ่านข้อมูลในฮาร์ดดิสก์ไดร์ฟให้มีขนาดเล็กลงแต่มีประสิทธิภาพในการอ่านสัญญาณในแผ่นบันทึกข้อมูลได้อย่างถูกต้องและแม่นยำ
โดยอาศัยความรู้ ทางด้านฟิสิกส์และวิศวกรรมมาประยุกต์ใช้ในการออกแบบและแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นจริงในอุตสาหกรรม งานวิจัยนี้จะถูกนำไปเป็นต้นแบบในการผลิตแผ่นบันทึกข้อมูล และหัวอ่านข้อมูลจริงในอนาคตต่อไป
6. การผลิตพลาสติกชีวภาพ ผลงานวิจัยของ รองศาสตราจารย์ ดร.ยอดธง ใบมาก คณะวิทยาศาสตร์ พลาสติกชีวภาพได้รับความสนใจในการวิจัยและพัฒนาจากประเทศต่างๆ ทั่วโลกเพื่อใช้งานทดแทนพลาสติกปัจจุบันที่ไม่สลายตัว ปัจจุบันมหาวิทยาลัยมหาสารคามเป็นที่เดียวในประเทศไทยที่สามารถผลิตเม็ดพลาสติกชีวภาพชนิดpolylactideหรือpolylactic acid (PLA)ใช้ในงานวิจัยในระดับlab-scaleได้เอง
รองศาสตราจารย์ ดร.ยอดธง ใบมาก
เพื่อใช้งานเป็นพลาสติกทั่วไป ซึ่งจะทำให้ประเทศไทยมีเทคโนโลยีการผลิตพลาสติกชีวภาพของเราเอง ปัจจุบันมีการทำวิจัยอย่างต่อเนื่องเพื่อพัฒนากระบวนการเตรียมเม็ดพลาสติกชีวภาพPLAสำหรับเกรดเฉพาะทางมากขึ้น เช่น เกรดทนความร้อน (สเตอริโอคอมเพล็กซ์PLA)และเกรดโฟม เป็นต้น
7. กรรมวิธีการผลิตสารสกัดตรีผลา ผลงานวิจัยของ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ประสบอร รินทอง คณะเภสัชศาสตร์ ซึ่งทำการวิจัยกรรมวิธีการผลิตสารสกัดของตำรับตรีผลา ด้วยการทำให้สารสกัดอยู่ในรูปผงด้วยเทคนิคการพ่นแห้งโดยใช้ความร้อน (spray dry)หรือเทคนิคการระเหยแห้งเยือกแข็ง (freeze dry)ร่วมกับการใช้สารช่วยทางเภสัชกรรม ปัจจุบันนำไปใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์โดยภาคเอกชนแล้ว
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ประสบอร รินทอง
8. ผลิตภัณฑ์อาหารLow-GIผลงานวิจัยของ รองศาสตราจารย์ ดร.ศิริธร ศิริอมรพรรณ ซึ่งนำเทคโนโลยีการแปรรูปอาหารและองค์ความรู้ทางเคมีมาพัฒนาอาหารให้มีค่าดัชนีน้ำตาลต่ำ ทำให้ได้ผลิตภัณฑ์อาหารที่เหมาะสำหรับผู้ป่วยเบาหวานและผู้รักสุขภาพ ปัจจุบันโครงการวิจัยได้รับการสนับสนุนให้ต่อยอดเพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารที่มีค่าดัชนีน้ำตาลต่ำในระดับอุตสาหกรรม
รองศาสตราจารย์ ดร.ศิริธร ศิริอมรพรรณ
9. เซรั่มบำรุงผิวที่มีส่วนผสมของโปรตีนไหมและสารสกัดจากถั่งเช่า ผลงานวิจัยของ รศ.ดร.วัลยา สุทธิขำ คณะวิทยาศาสตร์ ได้วิจัยเพื่อพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์บำรุงผิวที่มีส่วนผสมของสารสกัดจากถั่งเช่าและโปรตีนไหม โดยใช้คุณสมบัติที่โดดเด่นของไหมและถังเช่า เพื่อพัฒนาเป็นส่วนผสมของผลิตภัณฑ์บำรุงผิว
รศ.ดร.วัลยา สุทธิขำ
ผลงานวิจัยดังกล่าวได้ลงนามในสัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิในทรัพย์สินทางปัญญา ร่วมกับภาคเอกชนเพื่อเป็นช่องทางนำเสนอผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพที่ได้จากผลงานวิจัยโดยผู้เชี่ยวชาญไปสู่ผู้บริโภคให้เป็นที่รู้จักในวงกว้าง รวมไปถึงเพื่อเป็นช่องทางให้เอกชนสามารถนำผลงานนั้นไปใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ได้
10. การจำแนกพยาธิdiphyllobothriideanอย่างรวดเร็ว ผลงานวิจัยของ รศ. ดร.ต้องจิตร ถันชมนาง และคณะ คณะแพทยศาสตร์ ได้พัฒนาวิธีการตรวจพยาธิตืดdiphyllobothriideanโดยวิธีpyrosequencingได้อย่างรวดเร็ว พยาธิdiphyllobothriidean tapewormsเป็นพยาธิตืดที่พบการติดเชื้อทั้งในคน และสัตว์ เป็นปัญหาสุขภาพที่สำคัญ เทคนิคpyrosequencingสามารถตรวจเชื้อปรสิตได้หลายชนิดในเวลาเดียวกัน
ซึ่งเป็นวิธีหนึ่งที่มีศักยภาพสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการตรวจวินิจฉัยเชื้อปรสิตในห้องปฏิบัติการได้ เป็นวิธีที่มีความไวและความจำเพาะสูง และสามารถตรวจได้จำนวนมากในแต่ละครั้ง ทำให้ประหยัดเวลาและค่าใช้จ่าย เหมาะสำหรับประเทศที่เป็นแหล่งระบาดของโรคเพื่อให้การตรวจวินิจฉัยในการแยกเชื้อปรสิตมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
ศาสตราจารย์ ดร.สัมพันธ์ ฤทธิเดช กล่าวเพิ่มเติมว่า ในแต่ละปี นักวิจัยของมหาวิทยาลัยมหาสารคาม ได้ผลิตผลงานวิจัยที่มีความโดดเด่น ทั้งที่เป็นองค์ความรู้พื้นฐานสำหรับการพัฒนาต่อยอดในอนาคต และงานวิจัยที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้จริง ผลงานวิจัยของมหาวิทยาลัยมหาสารคามสามารถนำไปใช้ประโยชน์ และตอบสนองความต้องการของสังคม ชุมชน ตลอดจนนโยบายของรัฐบาลที่มุ่งเน้นให้เกิดการสร้างนวัตกรรม เพื่อการแก้ปัญหาและพัฒนาประเทศได้อย่างยั่งยืน