Lifestyle

หุ่นยนต์เก็บกู้ระเบิดฝีมือคนรุ่นใหม่

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

การพัฒนาหุ่นยนต์เก็บกู้ระเบิด สนับสนุนการพัฒนาประเทศ ก้าวสู่ Thailand 4.0

         โครงการวิจัยและพัฒนาหุ่นยนต์เก็บกู้ระเบิดดำเนินงานร่วมกับผู้ใช้สถาบันการศึกษาหน่วยงานวิจัยและภาคเอกชนในประเทศที่มีองค์ความรู้และฐานเทคโนโลยีย่อยซึ่งมีความพร้อมในการพัฒนาเป็นเทคโนโลยีหุ่นยนต์เก็บกู้วัตถุระเบิดที่ตรงตามความต้องการของผู้ใช้งานและสนับสนุนให้ภาคอุตสาหกรรมเข้ามามีส่วนร่วมตั้งแต่ต้นโดยกลไกการทำงานในรูปแบบประชารัฐ ผู้ผลิตไปสู่การใช้งานในราชการ 

 

หุ่นยนต์เก็บกู้ระเบิดฝีมือคนรุ่นใหม่

อรัญ แบล็ทเลอร์

 

          อรัญ แบล็ทเลอร์ ที่ปรึกษาทีมสร้างหุ่นยนต์มหาวิทยาลัยพระจอมเกล้าพระนครเหนือ มหาวิทยาลัยได้แชมป์โลกหุ่นยนต์กู้ภัยเป็นสมัยที่ 8 ให้แก่ประเทศไทย กล่าวว่าสถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ ( DTI ) จึงติดต่อมาทางมหาวิทยาลัยให้นำหุ่นยนต์ตัวนี้มาผลิต และเอามาใช้ประโยชน์จริงให้ได้ภายในปีนี้

          หุ่นยนต์ที่ผ่านมานี้ได้ผ่านการทดสอบมาตรฐานว่าความแข็งแกร่งได้รางวัล Best Mobility คือรางวัลสมรรถนะการขับเคลื่อนหุ่นยนต์ยอดเยี่ยม ประเมินได้ว่าหุ่นยนต์ของเรามีความสามารถในการใช้งานจริงได้

หุ่นยนต์เก็บกู้ระเบิดฝีมือคนรุ่นใหม่

          ทางด้านงบประมาณการใช้ในการสร้างหุ่นยนต์ ตอนนี้ทาง DTI ได้ให้งบประมาณสำหรับตัวฐานล่างมา 1 ล้าน 1 แสนบาท และมีงบของทางมหาวิทยาลัย อีกประมาณ 7 แสนบาท โดยรวมตัวฐานอย่างเดียวใช้งบประมาณทั้งหมด 1,800,000 - 1,900,000 โดยงบประมาณทั้งหมดไม่เกิน 2 ล้านบาท หากเรายิ่งผลิตหุ่นยนต์จำนวนมาก ต้นทุนในการผลิตจะลดลง ในตอนนี้ เรายังผลิตตัวเดียวถามว่าในอนาคตมีจำนวนการสั่งหุ่นยนต์ มากขึ้นหรือมีความต้องการของคนไทยหรือหน่วยเก็บกู้และตรวจสอบวัตถุระเบิด ( EOD ) ต้องการในปริมาณมาก กำลังผลิตมันจะมากขึ้น และจะหาต้นทุนการผลิตได้ราคาถูกลงอย่างแน่นอน อรัญ แบล็ทเลอร์ กล่าว

 

หุ่นยนต์เก็บกู้ระเบิดฝีมือคนรุ่นใหม่

กิตติคุณ ทองพูล

 

          นายกิตติคุณ ทองพูล อาจารย์มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ เผยว่า มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ได้ออกแบบแขนที่นำมาใช้กับหุ่นยนต์เก็บกู้วัตถุระเบิดขนาดเล็ก ที่ทางสถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ ( สทป.) ออกแบบ โดยมหาวิทยาลัยได้ให้ความสำคัญในเรื่องแขนของหุ่นยนต์ ทำอย่างไรให้แขนมีประสิทธิภาพสูงสุด น้ำหนักเบาและแรงยกสูง นอกเหนือจากเรื่องแขน กระบวนการที่หุ่นยนต์จะมีพละกำลังแล้ว มีความฉลาดโดยส่วนหนึ่ง

          เนื่องจากแขนมีข้อต่อหลายข้อในการบังคับ การพัฒนากระบวนการที่ใช้คอมพิวเตอร์เข้ามาช่วยประมวลผล ช่วยให้การบังคับง่ายขึ้น โดยใช้ข้อมูลจากภาพ ให้ผู้บังคับด้วยวัตถุและให้แขนคำนวณทิศทางการเคลื่อนที่ด้วยตัวเอง ค้นหาเส้นทางที่ดีที่สุด เพื่อเข้าสู่วัตถุเป้าหมายและการจับวัตถุผู้ปฏิบัติการจะสามารถใช้แขนในการปฏิบัติภารกิจได้อย่างง่ายดาย สามารถใช้งานในสภาพพื้นที่ที่มีความรุนแรง และรองรับการใช้งานที่หนักหน่วง

หุ่นยนต์เก็บกู้ระเบิดฝีมือคนรุ่นใหม่

          การที่เราเลือกใช้วัสดุที่แข็งแรงมันไม่พอ เราต้องคำนึงถึงเรื่องน้ำหนักด้วย วัสดุที่แข็งแรงในแง่ไหนถ้ามันแข็งแรงเกินไปมันอาจส่งผลให้เปราะได้ และมีการคำนวณโดยใช้โปรแกรม เพื่อหาชนิดของวัสดุก่อสร้างเรื่องของขนาดโครงสร้างเปอร์เซ็นไทล์ควรจะมีขนาดเท่าไหร่ เนื้อหาชิ้นส่วนที่ดีที่สุดของในแต่ละส่วนโดยการควบคุมผ่านทางคอมพิวเตอร์โดยใช้การสื่อสารแบบไร้สายจะมีคอมพิวเตอร์ระยะไกลวางอยู่

          ในส่วนตัวแขนกลจะมีตัวควบคุมเป็นคอมพิวเตอร์ขนาดเล็ก คอมพิวเตอร์ชนิดสมองกลเป็นคอมพิวเตอร์ที่เคยเห็นในรถยนต์ จะมีลักษณะเดียวกัน ในส่วนนี้ก็จะมาควบคุมเฉพาะการขับเคลื่อนและส่วนหนึ่งที่ควบคุมในเรื่องความฉลาดของหุ่นยนต์เป็นการนำเข้ามาประมวลผลและคำนวณหาทิศทาง

 

        หุ่นยนต์เก็บกู้ระเบิดฝีมือคนรุ่นใหม่

ขันชัย กิ่งกังวาลย์

 

          ทางด้าน นาวาตรี ขันชัย กิ่งกังวาลย์ เผยว่า หุ่นยนต์ของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ตัวนี้มีลักษณะพิเศษที่ล้อ เป็นการเคลื่อนที่เปลี่ยนทิศทางได้โดยไม่ต้องหันมุมเลี้ยว จะเห็นได้ว่าข้างในล้อจะมีล้ออีกตัวที่ซ้อนอยู่ข้างใน ในขณะที่หุ่นยนต์วิ่งไปแล้วต้องการที่จะเลี้ยว หุ่นยนต์ตัวนี้ก็สามารถสไลด์ซ้าย ขวา เดินหน้า ถอยหลังได้โดยที่ไม่ต้องหมุนตัว ซึ่งการทำงานหลักๆก็จะเหมือนหุ่นยนต์ทั่วไป สั่งการโดยการใช้คอมพิวเตอร์

หุ่นยนต์เก็บกู้ระเบิดฝีมือคนรุ่นใหม่

          โดยหุ่นยนต์ทั้งหมดนี้จะเป็นการร่วมมือกันของ 3 มหาวิทยาลัย และมีการนำหุ่นยนต์มาประยุกต์รวมกัน ชิ้นส่วนไหนทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพราะแต่ละมหาลัยเก่งไม่เหมือนกัน และนำข้อดีของแต่ละมหาวิทยาลัยมาใช้ประโยชน์รวมกันจะได้หุ่นยนต์ทีมีประสิทธิภาพที่ดีเยี่ยม นาวาตรี ขันชัย กล่าว

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ