ไลฟ์สไตล์

"ฮูปแต้ม" จิตรกรรมฝาผนัง จังหวัดมหาสารคาม

"ฮูปแต้ม" จิตรกรรมฝาผนัง จังหวัดมหาสารคาม

21 มิ.ย. 2560

จิตรกรรมภาพวาดบนฝาผนังโบสถ์ที่เห็นอยู่นี้ มีอายุมากกว่า100ปี หรือคนในพื้นที่เรียกกันว่า "สิมฮูปแต้ม" ถูกสร้างขึ้นในราวปีพุทธศักราช 2451 สิมแห่งนี้

       ถูกสร้างขึ้นโดยหลวงพ่อจันทร์ดี  พร้อมกับชาวบ้านในชุมชนสมัยนั้น  ซึ่งวัสดุที่นำมาใช้ในการก่อสร้างนั้น  ส่วนใหญ่เป็นหนังวัว-หนังควาย กระดูกวัว-กระดูกควาย และดินเหนียวที่ถูกนำมาเผาผสมเป็นปูน  โดยภาพวาดบนสิม  ล้วนแล้วมาจากเรื่องเล่าวรรณคดี พุทธประวัติ และวิถีชีวิต เพื่อเป็นปริศนาธรรมสอนลูกหลาน

         เสถียร พุทไธลัง ปราชญ์ชาวบ้าน ต.ดงบัง อ.นาดูน จ.มหาสารคาม เล่าว่า  "เมื่อหลวงพ่อพระครูจันทร์ดี  สร้างเสร็จเพื่อใช้ในกิจการทางศาสนาแล้ว   ท่านมีกุศโลบายที่จะสอนธรรมให้กับญาติโยมลูกหลานบ้านดงบังรู้ โดยสมัยเมื่อ100กว่าปีที่แล้วคนอ่านหนังสือไม่ออก ต้องดูรูปภาพ ท่านเลยแต้มสังข์ศิลป์ชัยเป็นวรรณคดีเอกของอีสาน พระเวชสันดรชาดก พระมาลัยโปรดสัตว์นรก พระมาลัยไปสวรรค์ เอ่อ...และก็พุทธประวัติ นอกจาก4เรื่องนี้ ท่านจะแทรกวิถีชีวิตชาวบ้าน วัฒนธรรมประเพณีของหมู่บ้านแทรกไว้ในฮูปแต้มด้วย " นับว่าเป็นจิตรกรรมฝาผนังที่มีความสวยงามและเก่าแก่ที่สุดแห่งหนึ่ง ที่ควรอนุรักษ์และเผยแพร่ให้คนที่สนใจ ได้เข้ามาศึกษาประวัติศาสตร์ภาพวาดแห่งนี้

\"ฮูปแต้ม\" จิตรกรรมฝาผนัง จังหวัดมหาสารคาม

\"ฮูปแต้ม\" จิตรกรรมฝาผนัง จังหวัดมหาสารคาม

         วิทยาลัยการเมืองการปกครอง มหาวิทยาลัยมหาสารคาม สถาบันการศึกษาที่ใกล้ชิดกับชุมชน จึงได้ร่วมกับภาคสังคม จัดกิจกรรมฮักแพงเบิ่งแยงฮูปแต้มดงบังขึ้น เพื่อทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม ให้เป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลาย ซึ่งจะเป็นการส่งเสริมแหล่งท่องเที่ยวในจังหวัดไปในตัวด้วย

           กันตา วิลาชัย  รองคณบดีฝ่ายบริหาร วิทยาลัยการเมืองการปกครอง มหาวิทยาลัยมหาสารคาม  กล่าวว่าในฐานtที่เราเป็นวิทยาลัยการเมืองการปกครอง เราเรียนกันทางด้านรัฐศาสตร์ ส่งเสริมให้นิสิตได้ลงชุมชน ให้นิสิตสามารถที่จะสร้างกระบวนการให้กับชุมชน ได้พัฒนาวัฒนธรรมที่ตัวเองมีอยู่ด้วยตัวของเขาเองอย่างเข้มแข็ง เราก็เลยมากระตุ้นเร้าให้ชุมชนทำสิ่งนี้ เรามีสมมติฐานอย่างหนึ่งว่า อะไรก็ตามที่เด็กรัฐศาสตร์ทำได้ เราเชื่อว่าชาวบ้านก็ย่อมทำได้ อย่างเรื่องการเก็บศิลปะออกมาทำเป็นผลิตภัณฑ์  เด็กรัฐศาสตร์ไม่มีความรู้เลย แต่เราเป็นนักจัดการ เราก็เลยเชื่อว่า การจัดการอย่างนี้ โดยวิธีของนักรัฐศาสตร์ จะได้เป็นตัวอย่างให้กับชาวบ้านด้วย เรากระตุ้นเร้าชาวบ้านด้วย ในขณะเดียวกันนิสิตของเราก็ได้ร่วมเรียนรู้ เพราะต่อไปนิสิตวิทยาลัยการเมืองจะได้ออกมาเป็นนักพัฒนา ผู้นำชุมชน 

\"ฮูปแต้ม\" จิตรกรรมฝาผนัง จังหวัดมหาสารคาม \"ฮูปแต้ม\" จิตรกรรมฝาผนัง จังหวัดมหาสารคาม \"ฮูปแต้ม\" จิตรกรรมฝาผนัง จังหวัดมหาสารคาม

        นอกจากนี้  ยังมีซุ้มนิทรรศการแสดงวิถีชีวิตของชุมชน ภาพวาดบนกระดาษโปสเตอร์ หมอน-กรอบรูปฮูปแต้ม และการแข่งขันการวาดภาพรูปของเด็กเยาวชน เพื่อให้คนเหล่านี้ได้เรียนรู้วิธีการวาดภาพ สร้างกระบวนการคิด และเรียนรู้งานศิลปะ ซึ่งจะเป็นพลังสำคัญ ของการขับเคลื่อนสังคมให้เกิดการอนุรักษ์หวงแหนวัฒนธรรมของตน