ห้องสมุดของโรงเรียนในชนบทหลายแห่ง ไม่มีหนังสือและอุปกรณ์การเรียนที่เพียงพอ ส่งผลให้ผู้เรียนไม่สามารถเข้าถึงแหล่งความรู้ต่างๆ ได้เท่าที่ควร
ระบบการเรียนการสอนในปัจจุบันเน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง ผ่านการแสวงหาความรู้ที่ตนเองสนใจจากสื่อการเรียนรู้ต่างๆทั้งในโลกออนไลน์ หนังสือและอุปกรณ์ประกอบการเรียน
การลดความเหลื่อมล้ำของชนบทกับในเมืองได้ถ้าได้รับการศึกษาที่ดี ดังเช่นโรงเรียนทรายทองวิทยา อ.โพนทราย จังหวัดร้อย เอ็ด ที่ได้รับอานิสงค์ โครงการ “หนังสือเพื่อน้องปีที่2” ของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร ร่วมกับหนังสือพิมพ์คมชัดลึก และศูนย์หนังสือจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เพื่อปลูกฝังให้เยาวชนตระหนักถึงความสำคัญของการอ่านและรู้จักแบ่งปันโอกาสให้กับนักเรียนในชนบท ด้วยความมุ่งหวังจะปลูกฝังจิตสำนึกให้เยาวชนใฝ่รู้ รักการอ่านในอนาคต
"อนุสรณ์ ทาสระคู" ผอ.ร.ร.ทรายทองวิทยา กล่าวว่าโรงเรียนในชนบทส่วนใหญ่จะขาดแคลนอุปกรณ์การเรียนการสอน แม้ว่าจะเป็นโรงเรียนขนาดกลางนักเรียน 726 คนก็ยังมีปัญหาขาดแคลนอุปกรณ์การเรียนการสอนหลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็น หนังสือส่งเสริมการอ่านเกือบทุกวิชา รวมทั้งอุปกรณ์การเรียนการสอน ไม่ว่าจะเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ ไมโครไฟนประกอบการสอน โปรเจคเตอร์หรือแม้กระทั่งเครื่องปริ้น
แม้ว่าโรงเรียนแห่งนี้จะเปิดสอนถึงระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย แต่นักเรียนที่พอมีฐานะก็จะไปเรียนในโรงเรียนมัธยมขนาดใหญ่ที่อยู่ห่างไปประมาณ 30 กิโลเมตร นักเรียนบางคนที่บ้านไกลก็เลือกที่จะไม่เรียนต่อหลังเรียนจบการศึกษาภาคบังคับ โรงเรียนอยากมีรถโรงเรียนไปรับนักเรียน แต่ก็จนด้วยขาดแคลนงบประมาณ
หนังสือที่ได้รับบริจาคจะทำไปไว้ในห้องสมุด โดยจะเปิดโอกาสให้นักเรียนและเครือข่ายท้องถิ่นเข้ามาใช้บริการยืมกลับบ้านไปใช้ได้ โดยมอบให้ ครูบรรณารักษฺ์ห้องสมุดไปจัดทำระบบลงทะเบียนหนังสือใหม่ก่อนที่จะเปิดให้นักเรียนมาศึกษาค้นคว้า ที่ห้องสมุดก็จะมียุวบรรณารักษ์ มาช่วยงานจัดทำทะเบียนหนังสือใหม่
จากนั้นก็จะเปิดให้บริการได้ทีผ่่านมาไม่มีนักเรียนมาใช้บริการมากนักเนื่องจากหนังสือมีน้อย หนังสือส่งเสริมการอ่านใหม่ไม่มี แต่เชื่อว่าหลังจากได้รับบริจาคในครั้งนี้จะทำให้มีหนังสือใหม่ นักเรียนคงเข้าห้องสมุดมากขึ้น
รศ.สุภัทรา โกไศยกานนท์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร (มทร.พนะคร) กล่าาวว่ามหาวิทยาลัยจัดทำโครงการหนังสือเพื่อน้องปีมาแล้วเป็นปี ที่2 เพื่อปลูกฝังให้นักศึกษาเยาวชนคนรุ่นใหม่ตระหนักถึงความสำคัญของการอ่านและรู้จักแบ่งปันโอกาสให้กับนักเรียนในชนบท มอบหนังสือ อุปกรณ์การศึกษา กีฬา รวมทั้งคอมพิวเตอร์และเครื่องปริ้น คงจะทำให้นักเรียนได้เข้าถึงองค์ความรู้มากขึ้น และในอนาคตมหาวิทยาลัย จะทำโครงการต่างๆเพื่อช่วยเหลือทางด้านการศึกษาให้กับสถานศึกษาที่ขาดแคลนในชนบทอย่างต่อเนื่องต่อไป
“โรงเรียนแห่งนี้ไม่มีน้ำปะปาต้องใช้น้ำบาดาล และค่าไฟแพงมาก ในอนาคตคณะวิศวกรรมศาสตร์ อาจจะให้ไปช่วยเหลือสอนการทำโครงการโซลาเซล์ เพื่อจะได้ประหยัดค่าไฟฟ้า หรือนักศึกษาอาสาพัฒนาชนบทอาจจะไปออกค่ายสร้างที่โรงเรียนแห่งนี้ เพื่อช่วยเหลือโรงเรียนในด้านต่างๆต่อไป เพราะสถานการศึกษามีหน้าที่ให้ความรู้ บริการสังคม ซึ่งสนับสนุนให้นักศึกษาออกค่ายอาสา จะเป็นการสอนนักศึกษาได้เรียนรู้การลงมือปฏิบัติจริงได้อีกทางหนึ่ง ”
การศึกษาคือการเลื่อนชนชั้นของเด็กชนบทที่ดีที่สุด จะเป็นการดีไม่น้อยที่คนที่มีโอกาสมากมายได้แบ่งปันโอกาส การเข้าถึงข้อมูล การเรียนรู้ต่างๆให้กับเด็กในชนบท เพราะนั่นถือเป็นการช่วยพัฒนาทรัพยากรของชาติให้มีคุณภาพไปพร้อมกันได้เป็นอย่างดีนั่นเอง
0 หทัยรัตน์ สังขศิลา [email protected] 0
ข่าวที่เกี่ยวข้อง