
"กฎหมายส่งเสริมการพัฒนาเด็กและเยาวชนน”ฉบับใหม่บังคับใช้แล้ว!
พม. เตรียมจัดตั้งสภาเด็กและเยาวชนตั้งแต่ระดับต าบล/เทศบาล รวมจ านวน 8,781 แห่งทั่วประเทศ
นายวิทัศน์ เตชะบุญ อธิบดีกรมกิจการเด็กและเยาวชน(อย.) กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์(พม.) กล่าวว่า พรบ.ส่งเสริมการพัฒนาเด็กและเยาวชนแห่งชาติ (ฉบับที่2) พ.ศ. 2560 ประกาศใช้ในราชกิจจานุเบกษาแล้วเมื่อวันที่ 13 มิถุนายน 2560 มีเจตนารมณ์เพื่อส่งเสริมให้เด็กและเยาวชนทุกระดับมีส่วนร่วมในการพัฒนาตนเอง ชุมชน สังคม โดยสรุปสาระสำคัญ ดังนี้ เพิ่มเติมองค์ประกอบคณะกรรมการส่งเสริมการพัฒนาเด็กและเยาวชนแห่งชาติ (กดยช.) ได้แก่ ปลัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ปลัดกรุงเทพมหานคร และ ประธานสภาเด็กและเยาวชนแห่งประเทศไทย และผู้แทนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นซึ่งคัดเลือกกันเอง จำนวน 3 คน
กำหนดให้มีการจัดตั้งสภาเด็กและเยาวชน จำนวน 8,781 แห่ง นับตั้งแต่ พรบ. นี้ใช้บังคับ ได้แก่ สภาเด็กและเยาวชนตำบล/ เทศบาล 7,775 แห่ง สภาเด็กและเยาวชนอำเภอ 878 แห่ง สภาเด็กและเยาวชนเขต 50 แห่ง สภาเด็กและเยาวชนจังหวัด 76 แห่ง สภาเด็กและเยาวชนกรุงเทพมหานคร 1 แห่ง และสภาเด็กและเยาวชนแห่งประเทศไทย 1 แห่ง ซึ่งประธานสภาเด็กและเยาวชนทุกระดับต้องผ่านการเป็นคณะบริหารสภาเด็กและเยาวชน ระดับตำบล/เทศบาล มีวาระการดำรงตำแหน่งคราวละ 2 ปี ไม่เกิน 2 วาระติดต่อกัน
และกำหนดให้สภาเด็กและเยาวชนทุกระดับ เป็นผู้เสนอแต่งตั้งที่ปรึกษาคณะบริหารสภาเด็กและ เยาวชน มีหัวหน้าบ้านพักเด็กและครอบครัวทุกจังหวัดเป็นผู้ให้คำปรึกษา โดยให้กรมกิจการเด็กและเยาวชน ส่งเสริม สนับสนุน และประสานงานจัดให้มีและดำเนินกิจการสภาเด็กและเยาวชนทุกระดับ สำหรับบทบาทหน้าที่ของหน่วยงานตามพรบ.ส่งเสริมการพัฒนาเด็กและเยาวชนแห่งชาติ (ฉบับที่2) พ.ศ. 2560 กำหนดให้ดย. ส่งเสริม สนับสนุนและประสานงานจัดตั้งและดำเนินกิจการสภาเด็กและเยาวชนทุกระดับ
บ้านพักเด็กและครอบครัวให้คำแนะนำองค์การบริหารส่วนตำบล/เทศบาล ในการจัดตั้งสภาเด็กและเยาวชนตำบล/เทศบาล องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จัดให้มีสภาเด็กและเยาวชนตำบล/เทศบาล ให้แล้วเสร็จภายใน 11 ต.ค. 2560 กรุงเทพมหานคร จัดให้มีสภาเด็กและเยาวชนเขต ให้แล้วเสร็จภายใน 10 พ.ย. 2560และจัดให้มีสภาเด็กและเยาวชน กรุงเทพมหานคร ให้แล้วเสร็จภายใน 10 ธ.ค. 2560
ประโยชน์ที่เด็กและเยาวชน และหน่วยงานต่างๆจะได้รับ 1. เด็กและเยาวชนได้รับการส่งเสริมและพัฒนาผ่านกระบวนการเรียนรู้โดยการรวมกลุ่มของสภาเด็กและเยาวชน เน้นให้มีส่วน ร่วมในการร่วมคิด ร่วมทำร่วมติดตาม การแลกเปลี่ยนประสบการณ์ ตลอดจนการแสดงออกที่เหมาะสมกับช่วงวัยและ การท างานร่วมกัน
2. เด็กและเยาชนในทุกระดับได้เข้ามามีส่วนร่วมแสดงความคิดเห็นในเรื่องต่างๆ ที่มีผลกระทบต่อเด็กและเยาวชน ผ่านกลไก สภาเด็กและเยาวชน โดยนำเสนอผ่านคณะกรรมการส่งเสริมการพัฒนาเด็กและเยาวชนแห่งชาติ (กดยช.) เพื่อนำไปสู่นโยบายการพัฒนาเด็กและเยาวชนระดับชาติ
3. หน่วยงานภาครัฐและภาคประชาสังคม มีส่วนร่วมในการพัฒนาเด็กและเยาวชน ก่อให้เกิดความตระหนักถึงความสำคัญของ เด็กและเยาวชน มีผลให้ข้อเสนอหรือข้อเรียนร้องของเด็กและเยาวชนได้รับการพิจารณาอย่างจริงจัง รวมทั้ง การสนับสนุน ทรัพยากร องค์ความรู้ในการดำเนินงานของสภาเด็กและเยาวชนทุกระดับ