ไลฟ์สไตล์

เทคนิคเลี้ยงลูกเข้าม.1

เทคนิคเลี้ยงลูกเข้าม.1

08 พ.ค. 2560

แม้จะยังไม่ใช่วัยผู้ใหญ่ แต่เด็กจะรู้สึกว่าเป็นผู้ใหญ่แล้ว อยากเป็นตัวของตัวเองการดูแลลูกในวัยนี้ พ่อแม่ไม่ควรสั่งให้ทำ หรือห้ามทำ และไม่ควรทำอย่างยิ่ง

        ที่่สำคัญพ่อแม่ไม่ควรนำความต้องการหรือคาดหวังของตัวเองมาเป็นบรรทัดฐานบอกให้ลูกทำหรือไม่ทำอะไร ควรดูแลลูกในวัยนี้แบบเป็นทั้งเพื่อนและลูก ที่เข้าใจความรู้สึกและไม่ฝืนให้เขาต้องปรับเปลี่ยนสิ่งที่ทำ

       เทคนิคที่พ่อแม่ควรใช้ในการพูดคุยหรือเข้าถึงลูกในวัยนี้  "น.ต.นพ.บุญเรือง ไตรเรืองวรวัฒน์" อธิบดีกรมสุขภาพจิต กล่าวว่าต้องรับฟังเป็นหลัก โดยหาเวลาที่จะพูดคุยกับลูกแล้วให้ความสำคัญกับสิ่งที่ลูกพูดสะท้อนออกมาให้มาก

เทคนิคเลี้ยงลูกเข้าม.1

   น.ต.นพ.บุญเรือง ไตรเรืองวรวัฒน์"

      อย่างเช่น เมื่อลูกทำพฤติกรรมบางอย่างที่ไม่ถูกต้อง ควรให้ลูกได้อธิบายว่าทำไมลูกทำแบบนั้น แล้วจึงค่อยๆเสนออีกทางเลือกให้ลูกว่าถ้าลูกทำแบบนี้จะดีกว่าหรือไม่ ด้วยการชี้ถึงประโยชน์ที่จะเกิดขึ้นหากทำแบบที่เสนอแนะ และให้ลูกช่วยคิดว่าดีหรือไม่ดีอย่างไร และจะเลือกแบบไหนดี ต้องพูดคุยกันด้วยเหตุผลเป็นสิ่งสำคัญที่สุด

     “วัยนี้พ่อแม่ไม่ควรสั่งให้ทำ หรือห้ามทำ เพราะจะเหมือนเป็นการใช้อำนาจของพ่อแม่ข่ม ลูกจะต่อต้านเพราะเขารู้สึกเขาเป็นผู้ใหญ่แล้ว ไม่ต้องทำตามพ่อแม่สั่งก็ได้ แต่ต้องเป็นการใช้วิธีออกความคิดร่วมกัน และสิ่งที่ไม่ควรทำอย่างยิ่ง คือ การพูดเรื่องเปรียบเทียบ เช่น ทำไมไม่ทำอย่างคนนั้นคนนี้ ยิ่งเปรียบเทียบลูกจะยิ่งประชดและกลั่นแกล้งด้วยการยิ่งทำในทางตรงกันข้าม”น.ต.นพ.บุญเรืองกล่าว

เทคนิคเลี้ยงลูกเข้าม.1

ณฐา พงษ์ศาศวัต

     “ณฐา พงษ์ศาศวัต” คุณแม่ลูก 1 วัยเพิ่งก้าวผ่านจากประถม สู่พี่ม.1 ในเปิดเทอมนี้ ล่าสุดเธอเพิ่งจะกลายเป็นแม่เลี้ยงเดี่ยว  เล่าว่าช่วงเปลี่ยนผ่านของวัยเด็กประถมสู่วัยรุ่นตอนต้น พ่อแม่ต้องปล่อยให้เด็กเป็นตัวเอง โดยคอยเป็นพี่เลี้ยงช่วยให้เพื่อให้ลูกตัดสินใจสิ่งที่ถูกต้อง อย่างเช่น พยายามปลูกฝังให้ลูกเห็นความสำคัญของภาษาอังกฤษ

      ด้วยการส่งเสริมให้เรียนหลักสูตรภาษาอังกฤษ ปรากฏว่าลูกชอบและทำได้ดี พยายามสอนให้พึ่งตัวเองให้มากที่สุด  ถ้าวันใดวันหนึ่ง ไม่มีพ่อแม่แล้ว ลูกต้องอยู่เองได้ ให้ตั้งใจเรียนในห้องเรียน สนับสนุนกิจกรรมที่ลูกชอบ และฝึกให้เก็บเงินซื้อของเล่นหรือของอื่นๆที่อยากได้เอง

      ที่สำคัญช่วงวัยรุ่นนี้จะบางคนก็เริ่มจะมีแฟน บางทีก็มีจะมีเด็กสาวๆมาขอให้ขึ้นสเตตัสว่าเฟสบุคว่ามีแฟนแล้ว ก็เลยบอกลูกว่า เราเป็นสุภาพบุรุษจะทำอะไรก็ต้องให้เกียรติผู้หญิงและระมัดระวัง เขาก็มีพ่อ แม่ เหมือนเรา  อย่าทำให้ผู้หญิงเสื่อมเสีย ต้องคิดให้รอบด้าน แม่ไม่ว่ามีแฟนได้ แต่เรื่องเรียนเป็นหน้าที่ที่สำคัญที่ต้องทำให้สำเร็จ 

เทคนิคเลี้ยงลูกเข้าม.1

     "เข้า ม.1 เป็นการเปลี่ยนโรงเรียน เปลี่ยนเพื่อน เปลี่ยนสภาพแวดล้อม แต่โลกยุคนี้ก็ทำให้เราใกล้ชิดกันได้มากขึ้นเช่นกัน มีไลน์กลุ่มทั้งที่โรงเรียน รถตู้ที่นั่งไปเรียนด้วยกัน ใช้โชเชียลให้เป็นประโยชน์กับชีวิตแม่อย่างเราได้มากขึ้น"    

เทคนิคเลี้ยงลูกเข้าม.1

   ด้านแม่ลูก 1 กรรมการข่าววัย 47 ปี รายหนึ่งเล่าว่า การเตรียมพร้อมเด็กป.6 เข้าม.1 เป็นช่วงเปลี่ยนผ่านที่สำคัญ ยิ่งถ้าเรียนในโรงเรียนประถมมาแบบไม่เน้นวิชาการต้องสปีดตั้งแต่ป. 4 ด้วยการเรียนพิเศษในวิชาหลักๆที่ใช้สอบเข้าเรียน ม.1 อย่างน้อย 3 วิชาคือคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์และภาษาอังกฤษ เพื่อให้สอบเข้าม.1 ห้องเป้าหมายให้ได้

   “ต้องเรียนพิเศษวิชาที่ใช้สอบเข้าม.1 ตั้งแต่ช่วงซัมเมอร์ป.4  เพราะก่อนหน้านั้นไม่เคยเรียน และต่อเนื่อง ป.5 -6 แต่ก็ประสบผลสำเร็จสอบเข้าม.1 โรงเรียนดังห้องโครงการได้ และยังเรียนพิเศษต่อเนื่องไปจนกว่าทักษะทางวิชาการจะใกล้เคียงกับเด็กที่ช่วงประถมเน้นวิชาการมาโดยตลอด แต่ พ่อแม่ต้องคอยให้กำลังใจว่าขอให้ลูกพยายามและทำได้ โดยให้เหตุผลมาประกอบและให้ลูกคิดตามและตัดสินใจเอง และคำพูดที่ควรพูดให้ติดปากไว้คือ พ่อแม่ รักลูกและเชื่อว่าลูกทำได้ขอให้พยายามให้ถึงที่สุดซะก่อนนะค่อยมาบอกว่าไม่ได้ ถามตัวเองซะก่อนว่าทำเต็มที่แล้วหรือยังถ้าทำเต็มที่แล้วพ่อแม่ก็ยอมรับได้ทุกอย่าง โดยไม่กดดันลูก เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับเด็ก”

เทคนิคเลี้ยงลูกเข้าม.1

    “ด้านครูศิริมา” ครูสอนคณิตศาสตร์ ร.ร.ดังจ.เพชรบุรี เล่าเด็ก ม.1หลายคนจะอยู่ในช่วงปรับตัว จากที่เรียนแบบสบายๆต้องมารับผิดชอบมากขึ้นทั้งการเรียน ชีวิตประจำวันและเพื่อนใหม่ แรกๆอาจจะยังไม่ลงตัว พ่อ แม่ ครูประจำชั้นจำเป็นต้องมีการตสื่อสารกันมากขึ้น พอผ่านไปถึง ม.2  หลายเรื่องก็จะลงตัวไปเอง ขอแนะนำว่า พ่อแม่ ควรมีการสื่อสารกับโรงเรียนตลอดเวลา เพื่อช่วยกันดูแลนักเรียนร่วมกัน ที่สำคัญจะช่วยป้องกันการสื่อสารที่อาจตกหล่นระหว่าง ครู นักเรียนและผู้ปกครองได้

     เชื่อได้ว่า พ่อแม่ทุกคนอยากให้ลูกเก่ง เข้าเรียนโรงเรียนดีๆ ได้ แต่ต้องไม่ยัดเยียดความฝันของเราให้ลูก ถ้าผลการเรียนออกมาปานกลาง ต้องหารือร่วมกันระหว่างพ่อแม่ลูกว่าต้องร่วมกันแก้ไขอย่างไร พูดคุยกับครูประจำชั้นตลอดเวลา เพื่อหาความจริงและแก้ไขกันต่อไป เพื่อทำเป้าหมายชีวิตของลูกให้เป็นจริง 

      0 หทัยรัตน์ ดีประเสริฐ  [email protected] 0