ไลฟ์สไตล์

การชะลอวัยเพื่อสุขภาพ

การชะลอวัยเพื่อสุขภาพ

07 ก.ย. 2552

การชะลอวัย (Anti-Aging) ไม่ได้หมายถึง การที่จะทำให้มีอายุยืนยาวขึ้น มนุษย์เราไม่สามารถจะหลีกหนีอายุหรือตัวเลขที่มากขึ้นในทุกๆ ปี แต่การแพทย์สาขาเวชศาสตร์ชะลอวัย (Anti-Aging Medicine) นั้น หมายถึง การแพทย์ที่เข้ามามีส่วนช่วยในการป้องกันหรือชะลอความเสื่อมหร

เช่น โรคเบาหวาน ไขมันสูง ความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ หรือโรคมะเร็ง เป็นต้น เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดี ไม่เจ็บป่วย แทนที่จะต้องทุกข์ทรมานด้วยโรคดังกล่าว ถ้าดูแลตัวเองให้ดีเสียตั้งแต่เนิ่นๆ อาจสามารถใช้ชีวิตได้อย่างมีคุณค่า มีความสุข

ความจริงก็ไม่ใช่เรื่องยาก หากปฏิบัติเบื้องต้นที่สามารถทำได้ง่ายๆ
 1.รับประทานอาหาร เลือกเป็น เลือกกิน ให้ถูกสัดส่วน เน้นโปรตีนธรรมชาติจากเนื้อสัตว์ที่ไม่ผ่านการแปรรูปและเลี้ยงอย่างเป็นธรรมชาติไม่ใช้ฮอร์โมน ผักผลไม้สดที่ปลอดสารฆ่าแมลง ไขมันที่มีประโยชน์ได้แก่ ไขมันที่ไม่อิ่มตัวจากน้ำมันปลา น้ำมันปอ น้ำมันมะกอก ลดอาหารที่ไม่มีประโยชน์ เช่น ขนมขบเคี้ยว ขนมเค้ก น้ำหวาน น้ำอัดลม ที่ประกอบด้วย น้ำตาลที่รีไฟน์ซึ่งก็คือ น้ำตาลที่ผ่านกระบวนการในการย่อยให้โมเลกุลเล็กลง ซึ่งทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดขึ้นได้ง่าย เสี่ยงต่อโรคเบาหวาน
 2.เรื่องการออกกำลังกาย การออกกำลังกายที่เหมาะสมคือการออกกำลังกายแบบปานกลาง เน้นชนิดแอโรบิก 3-5 ครั้งต่อสัปดาห์ ครั้งละ 30 ถึง 45 นาที นอกจากนี้ยังสามารถเพิ่มการเผาผลาญพลังงานให้มากขึ้น เช่น การเดินขึ้นบันไดแทนการขึ้นลิฟต์ การจอดรถให้ไกลหน่อย แล้วเดินให้มากขึ้น แม้แต่กิจกรรมที่ทำที่บ้าน เช่นการทำความสะอาดบ้าน ทำสวน ก็สามารถเพิ่มการเผาผลาญพลังงานเพื่อการควบคุมน้ำหนักให้เหมาะสมได้
 3. นอนวันละ 6-8 ชั่วโมง เริ่มนอนตั้งแต่ประมาณ 4 ถึง 5 ทุ่ม เนื่องด้วยฮอร์โมนเมลาโทนิน (Melatonin) ที่ช่วยเรื่องการนอนจะเริ่มผลิตตอน 4 ถึง 5 ทุ่ม แล้วมีระดับสูงสุดช่วงตีสอง หลังจากเมลาโทนินขึ้นระดับสูงสุดจะมีการผลิต Growth hormone (โกรธฮอร์โมน) ขึ้นมาเพื่อช่วยซ่อมแซมร่างกายของคนเราและจะเกิดการผลิตฮอร์โมนอื่นๆตอนเช้า เช่น ฮอร์โมนธัยรอยด์ ขึ้นมาในระดับที่เหมาะสม ถ้านอนเลยตีสอง การผลิตฮอร์โมนจะเสียสมดุลทันที จะไปนอนตอนกลางวันเพื่อทดแทนก็ไม่มีประโยชน์เพราะในช่วงกลางวันไม่สามารถผลิตฮอร์โมนเมลาโทนินขึ้นมาได้
 4.เรื่องของความเครียด เครียดมากก็เสื่อมเร็ว เครียดตอนทำงานไม่มีปัญหา ถึงบ้านต้องปล่อยวาง แต่บางคนเอาเก็บไปคิดก่อนนอน มีผลระยะยาว ในระยะแรกของการตอบสนองต่อความเครียดจะมีการผลิตฮอร์โมนเครียด ถ้าเครียดมาก ฮอร์โมนระดับสูงเกินปกติจะมีผลต่อการทำงานของฮอร์โมนชนิดอื่น ทำให้ฮอร์โมนชนิดอื่นๆ เช่นฮอร์โมนเพศ ฮอร์โมนธัยรอยด์ ฮอร์โมนเมลาโทนิน ทำงานได้ลดลง นอกจากนี้ฮอร์โมนเครียดที่มากกินไปอาจก่อให้เกิดการทำลายสมองส่วนความจำอีกด้วย แต่ถ้าเครียดไม่หายมีการเครียดต่อเนื่องระยะยาว ต่อมที่ผลิตฮอร์โมนเครียดก็เสื่อมเร็วมีผลทำให้การผลิตฮอร์โมนทำได้ลดลง แทนที่จะสามารถต่อสู้กับความเครียดได้กลายเป็นว่าไม่สามารถต่อสู้ความเครียดได้อีกต่อไป หมดพลังชีวิต เบื่อหน่าย อาจมีอาการอื่นๆ ร่วมด้วย เช่น อ่อนเพลีย นอนไม่หลับ หิวของหวานหรือของเค็ม ความดันโลหิตต่ำ ร่างกายไม่สามารถต่อสู้กับการอักเสบหรือติดเชื้อได้ เป็นต้น
 สำหรับเรื่องเทคโนโลยีทางการแพทย์ที่เข้ามาช่วยชะลอความเสื่อมนั้น มีตั้งแต่การลดการทำลายของอนุมูลอิสระต่อร่างกาย การปรับสมดุลของฮอร์โมนโดยใช้ฮอร์โมนที่มีลักษณะโครงสร้างทางเคมีเหมือนฮอร์โมนธรรมชาติ (Bioidentical hormone) และลงลึกถึงการตรวจสารพันธุกรรมเพื่อดูแนวโน้มความเสี่ยงของโรคก่อนที่จะเกิดพร้อมหาวิธีป้องกัน โดยใช้หลักการที่พิสูจน์ได้ทางวิทยาศาสตร์ อย่างไรก็ตามถ้าเริ่มดูแลตัวเองเสียแต่เนิ่นๆ อาจชะลอให้ความเสื่อมเกิดขึ้นช้าลง สุขภาพดีไปกว่าครึ่งแล้ว 
ศูนย์เวชศาสตร์ชะลอวัยกรุงเทพ
โรงพยาบาลกรุงเทพ 1719