ไลฟ์สไตล์

คิดให้ดีก่อนปลูก"ตะกู"

คิดให้ดีก่อนปลูก"ตะกู"

26 ส.ค. 2552

ช่วงนี้มีการโฆษณาชวนเชื่อผ่านสื่อต่างๆ ตามเว็บไซต์ วิทยุกระจายเสียง โดยอ้างถึงรายได้และประโยชน์ของ "ต้นตะกู" บางครั้งดูเหมือนว่าไม้ชนิดนี้เกินความเป็นจริง เพื่อหวังที่จะขายเมล็ดและกล้าพันธุ์ บ้างก็อ้างว่าเป็นไม้มงคล บ้างก็ว่าใช้ประโยชน์ได้สารพัด ปลูกได้

 ตามข้อมูลทางวิชาการและจากงานวิจัยของนักวิจัยจากคณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน พบว่าต้นตะกูจะขึ้นอยู่ในป่าทั่วประเทศไทยที่มีความสูงไม่เกิน 1,000 เมตรจากระดับน้ำทะเลปานกลาง โดยเฉพาะในป่าบริเวณพื้นที่เปิดโล่ง เป็นต้นไม้ที่ไม่ทนแล้งและไม่ทนหนาว จะมีการเจริญเติบโตเร็วมากในช่วง 2-4 ปีแรก เมื่อเปรียบเทียบกับไม้มีค่าทางเศรษฐกิจอย่างอื่น แต่เมื่อตะกูมีอายุมากขึ้นพบว่าการเจริญเติบโตเริ่มลดลงเนื่องจากเรือนยอดเบียดเสียดกันมาก ทำให้มีผลผลิตต่ำกว่ายูคาลิปตัสสายพันธุ์ดี

 นอกจากนี้ยังพบว่าแมลงที่เป็นศัตรูพืชตะกูมีอย่างน้อย 12 ชนิด เป็นแมลงทำลายใบ 8 ชนิด  แมลงทำลายลำต้น 4 ชนิด แมลงที่มีความสำคัญคือหนอนผีเสื้อที่จะทำลายใบและเจาะยอดอ่อนทำให้ยอดหัก ลำต้นสูญเสียรูปทรวง และหากระบาดรุนแรงอาจทำให้ต้นไม้ตาย 

 ส่วนลักษณะเนื้อไม้ตะกูมีความละเอียดปานกลาง ผิวค่อนข้างเรียบและสม่ำเสมอ การเรียงตัวของเสี้ยนเป็นลักษณะเสี้ยนตรง เนื้อไม้ขาวนวลทั้งกระพี้และแก่น ส่วนใหญ่จะมีรอยของเชื้อราเป็นริ้วๆ ที่ผิว เนื้อไม้ไม่มีความมันวาว เป็นไม้เนื้ออ่อนและมีความทนทานตามธรรมชาติต่ำ และตะกูยังมีข้อจำกัดในการใช้งานด้านโครงสร้างรับแรง เช่น ใช้ทำคาน เสา เพดาน หรือพื้นไม้ แต่อาจมีประโยชน์กับการใช้งานในลักษณะการกันกระแทกต่างๆ เช่น ลังไม้ กล่อง ไม้รองยก ไม้รองเลื่อน เป็นต้น 

 ข้อมูลของนักวิชาการจากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ที่มาเปิดเผยในวันแถลงข่าวเรื่อง “ไม้ตะกู...ศักยภาพไม้เศรษฐกิจของไทย” ที่ห้องประชุมกำพล อดุลวิทย์ อาคารสารนิเทศ 50 ปี มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน เมื่อกลางเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา ระบุชัดว่า ระหว่างปี 2549-2551 มีเงินหมุนเวียนนในระบบการผลิตไม้ตะกูซื้อต้นกล้าประมาณ 533,500,224 บาท เมื่อคำนวนค่าตอบแทนสุทธิและอัตราผลได้ต่อต้นทุน เมื่อปลูกถึง 5 ปี พบว่าประสบปัญหาการขาดทุนในสถานภาพปัจจุบัน

   เมื่อวิเคราะห์ราคาไม้ท่อนตะกู ณ จุดคุ้มทุน พบว่ามีค่าเท่ากับ 1,734 บาทต่อตัน เมื่อเปรียบเทียบผลตอบแทนด้านการเงินของการลงทุนปลูกสร้างสวนป่าไม้ตะกูกับพืชเศรษฐกิจ 5 ชนิด ได้แก่ ไม้ยูคาลิปตัส ไม้ยางพารา มันสำปะหลัง อ้อย และข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ พบว่าไม้ตะกูให้ผลตอบแทนต่ำที่สุด ในขณะที่ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ให้ผลตอบแทนสูง และสุดท้ายคือการวิเคราะห์ความอ่อนไหวของการปลูกสร้างสวนป่าไม้ตะกู พบว่าที่ระดับราคากล้าไม้เท่ากับ 1 บาทต่อต้น

 ฉะนั้นก่อนที่จะลงทุนปลูกต้นตะกูควรศึกษาให้ดีครับ

ดลมนัส  กาเจ