“คณะศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยทักษิณ เดิมก็คือมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ สงขลา เราผลิตบัณฑิตสายครูมาตลอดทุกครั้งที่ลงพื้นที่ไปช่วยพัฒนาโรงเรียนตชด.เราจะช่วยพัฒนาหลักสูตรร่วมกับครู จัดทำแผนการเรียนการสอนร่วมกัน ทำสื่อการสอน และยังอบรมผู้บริหารโรงเรียนให้อีกด้วย ปัจจุบัน รับนักศึกษาสาขาละ 30 คน เชื่อว่าจะทำให้การเรียนการสอนมีคุณภาพ บัณฑิตที่จบออกไปสามารถถ่ายทอดองค์ความรู้ให้กับนักเรียนได้เป็นอย่างดี”เกษม สุริยกัณฑ์ คณบดีคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณกล่าว
คณบดีคณะศึกษาศาสตร์ ม.ทักษิณ ระบุว่าคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ ผลิตบัณฑิตครูมาเป็นเวลาร่วม 50 ปี ที่ผ่านมาได้นำคณะอาจารย์และนักศึกษาคณะศึกษาศาสตร์ทั้งหมด 12 สาขาๆละ 30 คนลงพื้นที่ช่วยการพัฒนาโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนในโครงการสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี 15 แห่งในจังหวัดสงขลา ตรัง และสตูล รวมทั้งโรงเรียนบนเกาะต่างๆ โดยช่วยพัฒนาและอบรมครูทุก 8 สาขาวิชา ซึ่งจะช่วยให้นักศึกษามีประสบการณ์ในสอนต่างๆ กว่าจะสำเร็จการศึกษา จะทำให้มหาวิทยาลัยผลิตบัณฑิตครูมีคุณภาพมากขึ้น
เกษม สุริยกัณฑ์
“ผมเชื่อว่าหากว่าทุกสถาบันที่ผลิตบัณฑิตครู ช่วยกันรับนักศึกษาเพียงสาขาละ 30 คน เชื่อว่าจะสามารถทำให้ผลิตบัณฑิตที่มีคุณภาพ และได้คนเก่งมาเรียนครูแน่นอน จบออกไปก็มีงานทำไม่ต้องแย่งงานกัน ครูผู้สอนก็สามารถดูแลลูกศิษยฺ์ได้อย่างทั่วถึง การนิเทศน์นิสิต การฝึกงาน ออกแบบการฝึกสอน ออกแบบหลักสูตร แผนการสอน ทุกอย่างสามารถทำอย่างมีคุณภาพได้ เพราะจำนวนนิสิตเ้หมาะสมกับการดูแลของคณุผู้สอน ไม่ใช่เปิดแบบทุกวันนี้ จบออกไปมากกว่าตำแหน่งงานไม่พอรองรับ”คณบดีคณะศึกษาศาสตร์ ม.ทักษิณ กล่าว
นอกจากนั้น ยังได้ร่วมกับมูลนิธิชัยพัฒนา คัดเลือกนิสิตในพื้นที่มารับทุนของมูลนิํธิชัยพัฒนามาเรียนครู 5 ปี เมื่อสำเร็จการศึกษา จะได้กลับไปใช้ทุนในท้องถิ่น เป็นการแก้ปัญหาการขาดแคลนครูที่ถูกวิธีและยั่งยืน เพราะบัณฑิตจะสามารถประกอบอาชีพเลี้ยงตัวเองในพื้นที่ และในอนาคตโอกาสที่จะย้ายถิ่นฐานไปจากพื่้นที่คงมีโอกาสเกิดขึ้นน้อย
“นักเรียนในพื้นที่หากเขาได้รับโอกาสและเข้าถึงการศึกษา ได้ทุนการศึกษาและได้รับการศึกษาที่ดี มีงานทำ โดยเฉพาะลูกหลานนิสิตที่อยู่บนเกาะซึ่งภาคใต้มีหลายเกาะ หากว่าพวกเขาได้ทุนเรียนต่อปริญญาตรี เป็นครูเชื่อว่าพวกเขาจะกลับไปเป็นครูในพื้นที่ แก้ไขปัญหาครูขาดแคลน ครูทิ้งถิ้นได้เป็นอย่างดี ซึ่งขณะนี้นศ.ที่จบหลักสูตรครู 5 ปี ได้กลับไปใช้ทุนเป็นครูในพื้นที่แล้ว” คณบดีคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณกล่าว กล่าว
ล่าสุดม.ทักษิณ ได้ลงนามบันทึกความร่วมมือทางวิชาการกับสถาบันพัฒนาคุณภาพวิชาการ(พว.) เพื่อร่วมกันพัฒนาทางวิชาการแก่นิสิต และครูผู้สอนในโรงเรียนเครือข่าย และสนับสนุนการทำงานวิจัยของคณาจารย์คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ เพื่อเสริมสมรรถนะความเป็นครูให้แก่นิสิตเตรียมเข้าสู่ยุทธศาสตร์ 4.0 เป็นยุคของการพัฒนานวัตกรรม ซึ่งการจะไปสู่เป้าหมายได้การจัดการเรียนการสอนต้องใช้การสอนด้วยกระบวนการ หรือ Active Learning เป็นการจัดการเรียนรู้ด้วยการฝึกให้เด็กได้ปฏิบัติและสรุปเป็นชุดความรู้ด้วยตัวเอง
ข่าวที่เกี่ยวข้อง