ไลฟ์สไตล์

ต้องสอนให้เรียนรู้ตลอดชีวิตรศ.ดร.มนตรี  แย้มกสิกร

ต้องสอนให้เรียนรู้ตลอดชีวิตรศ.ดร.มนตรี แย้มกสิกร

24 ส.ค. 2552

"ครูในระบบส่วนใหญ่ยังสอนแบบเก่า คือสอนให้นักเรียนเชื่อฟังคำสั่งสอนที่ตัวเองร่ำเรียนมา ไม่ได้สอนแบบกระตุ้นให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้ด้วยตัวเอง ทั้งๆ ที่เป็นการสอนให้เรียนรู้ตลอดชีวิต ที่ประเทศเจริญแล้วนำมาใช้ได้ผลคนของเขามีคุณภาพ ลองคิดดูว่าทรัพยากรของชา

  รศ.ดร.มนตรีกล่าว

 การแก้ปัญหานี้ต้องพัฒนา "คุณภาพของครู" เป็นอันดับแรกเพื่อให้ครูสอนนักเรียนให้เกิดการ "เรียนรู้ตลอดชีวิต" ในฐานะที่เป็น รศ.ดร.มนตรี แย้มกสิกร เป็นประธานที่ประชุมคณบดีคณะครุศาสตร์ ศึกษาศาสตร์ 16 สถาบัน และรองประธานสภาคณบดีครุศาสตร์ ศึกษาศาสตร์ พ่วงด้วยคณบดีคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา มองว่ารัฐบาลจะต้องพัฒนาครูสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) และทั้งระบบให้มีคุณภาพ พัฒนาทักษะการจัดการเรียนรู้ของตนเอง ให้ผู้เรียนได้รู้จักคิดและมีความสุขที่จะได้เรียนให้ได้

 ที่สำคัญจะต้องเปลี่ยนแปลงกระบวนการผลิตให้ครูมีความรู้ในเนื้อหาสาระที่เข้มข้นทางวิชาการที่จะสอนเด็ก ครูที่จบออกไปจะต้องมีเทคนิคการเรียนการสอนที่ดี ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของยุคสมัย ให้ทุนการศึกษาแก่ผู้ที่จะมาเรียนครู จัดหาอัตราการทำงานรองรับ และเพิ่มผลตอบแทนให้แก่วิชาชีพครู ยกวิชาชีพครูให้เป็นวิชาชีพชั้นสูงเช่นเดียวกับแพทย์ หรือผู้พิพากษา หากทำได้คุณภาพของครูทั้งระบบจะดีขึ้น

 “ขณะนี้คณะศึกษาศาสตร์ ครุศาสตร์หลายแห่งกำลังจะตาย เพราะไม่มีคนอยากเรียน และหลักสูตรไม่มีการพัฒนา หากในระยะ 5 ปีจากนี้รัฐบาลยังไม่ใส่ใจและหันกลับมาเอาใจใส่ในเรื่องดังกล่าวอย่างจริงจัง จะเกิดวิกฤติอย่างรุนแรงในการผลิตและพัฒนาครู รวมถึงจะขาดครูที่มีคุณภาพมาสอนครูอย่างหนักด้วย  เพราะฉะนั้นการคัดเลือกคนเก่งมาเรียนครู จะใช้เพียงคะแนนความถนัดทางวิชาชีพครู หรือ แพต 5  ไม่เพียงพอ ต้องสอบความถนัดในสาขาวิชาที่เรียนด้วย เพราะผู้ที่จะไปเป็นครูที่ดีนั้น จะต้องมีความรู้ทางวิชาการอย่างเข้มข้น และมีจิตวิญญาณในความเป็นครูควบคู่กันไปด้วย" รศ.ดร.มนตรีกล่าว

 ซึ่งในวันที่ 15-17 ตุลาคม ที่ประชุมคณบดีคณะครุศาสตร์ ศึกษาศาสตร์ 16 สถาบัน ร่วมกับบริษัท ปิโก (ไทยแลนด์) จำกัด (มหาชน) จัดงาน “การประชุมนานาชาติด้านการเรียนการสอน EDUCA 2009 และโครงการประกวดนวัตกรรมการศึกษา ชิงถ้วยพระราชทานสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ประจำปี 2552” ที่ศูนย์การประชุมไบเทคบางนา เป็นโอกาสที่ดีของครูไทย และบุคลากรทางการศึกษา จะได้เรียนรู้ประสบการณ์ แนวคิด และต้นแบบการพัฒนาการศึกษาที่ดี และการจัดระบบการศึกษาจากประเทศที่ได้ชื่อว่ามีระบบการศึกษาที่ดีที่สุดของโลก

 อาทิ หน่วยงานด้านการศึกษาของ The Organization for Economic Co-Operation and Development (OECD) ซึ่งเป็นองค์กรที่มีบทบาทอย่างยิ่งในการจัดอันดับการศึกษาของประเทศฝรั่งเศล ผู้แทนจากกระทรวงศึกษาธิการของประเทศฟินแลนด์ นักการศึกษาและครูใหญ่จากประเทศสิงคโปร์ ซึ่งถือเป็นประเทศที่สหรัฐอเมริกา และอังกฤษ ให้ความสนใจ

 นอกจากนี้ยังมีการประชุมเชิงปฏิบัติการ อาทิ หลักสูตรแผนการจัดการเรียนรู้ เทคนิคการจัดการเรียนรู้ การใช้งานผลิตพัฒนาสื่อเทคโนโลยีและไอซีที การวัดและประเมินผล การพัฒนาอัจฉริยภาพ และการจัดการเรียนรู้สำหรับเด็กพิเศษ เป็นต้น นอกจากนี้ยังได้ออกแบบโปรแกรมให้ความต่อเนื่องกัน 6 หัวข้อ โดยมุ่งหมายให้ครูได้เรียนรู้ เข้าใจ ได้แนวทางปฏิบัติและนำไปใช้ได้

 "ทิศทางการปฏิรูปการศึกษารอบสองของรัฐบาล เน้นการพัฒนาทักษะการจัดการเรียนรู้ของครูที่ให้ผู้เรียนได้รู้จักคิดและมีความสุขที่จะได้เรียน การประชุมครั้งนี้ จึงเน้นการมีส่วนร่วมของครูผู้สอนทุกระดับการศึกษา รวมทั้งผู้สนใจทั่วไป ให้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ ประสบการณ์รูปแบบเวิร์กช็อป โดยมีผู้เชี่ยวชาญคอยแนะนำตลอดทั้ง 3 วัน"  รศ.ดร.มนตรีกล่าว

 การเตรียมตัวประเทศไทยเข้าสู่โลกสังคมฐานความรู้ ต้องอาศัยทั้งภาครัฐ เอกชน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ผลักดันจึงจะเกิดขึ้นได้ ไม่อย่างนั้นแล้ว ประเทศไทยอาจจะก้าวไม่ทันกับการเปลี่ยนแปลงได้ ครู อาจารย์ โดยเฉพาะคณะครุศาสตร์ ศึกษาศาสตร์ทั่วประเทศ ลงทะเบียนล่วงหน้าได้ที่ www.educa-iclt.com  โทร.0-2748-7007 ต่อ 126, 137        
 
    0 หทัยรัตน์   ดีประเสริฐ 0