
คลิปปรากฏการณ์ 'เมฆขอบตรง' ในจังหวัดน่านและจังหวัดใกล้เคียง
23 ธ.ค. 2558
เมื่อวันที่ 22 ธ.ค. 58 ที่ผ่านมา ประชาชนที่อาศัยอยู่ในจังหวัดน่าน ได้แชร์ภาพปรากฏการณ์ที่ท้องฟ้าปกคลุมด้วยเมฆครึ่งหนึ่ง แต่อีกครึ่งหนึ่งเป็นสีฟ้าสดใส
คลิปปรากฏการณ์ 'เมฆขอบตรง'
หลังจากช่วงเย็นเมื่อวันที่ 22 ธ.ค.ที่ผ่านมา ประชาชนที่อาศัยอยู่ในจังหวัดน่าน แพร่ และจังหวัดใกล้เคียง ได้แชร์ภาพปรากฏการณ์เมฆที่ท้องฟ้าปกคลุมด้วยเมฆครึ่งหนึ่ง แต่อีกครึ่งหนึ่งกลับเป็นท้องฟ้าสดใสไร้เมฆ ซึ่งปรากฏการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้นในวันที่ดวงอาทิตย์ขึ้นทางทิศตะวันออกเฉียงไปทางใต้มากที่สุด และตกทางทิศตะวันตกเฉียงไปทางใต้มากที่สุด จึงทำให้เป็นวันที่มีช่วงกลางวันสั้นและช่วงกลางคืนยาวนานที่สุดในรอบปี
โดยนายบัญชา ธนบุญสมบัติ ผู้เชี่ยวชาญเรื่องเมฆได้โพสต์อธิบายถึงปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นในบนเฟซบุ๊ก 'ชมรมคนรักมวลเมฆ' ว่า
1) ชื่อเรียก : มีหลายชื่อ เช่น straight-edged cloud (เมฆขอบตรง) หรือ cloudbank แต่ถ้ากล่าวถึงปรากฏการณ์ อาจเรียกว่า cutting phenomenon (CP)
2) กลไกการเกิด : อากาศเย็นและแห้ง (ฝั่งไม่มีเมฆ) ปะทะกับ อากาศอุ่นและชื้น (ฝั่งมีเมฆ) ทำให้เกิดรอยต่อระหว่างอากาศเย็น-อากาศอุ่น ตามขอบเมฆ (อาจจำง่ายๆ ว่า เมฆคือกลุ่มของหยดน้ำ ดังนั้น ฝั่งมีเมฆคือฝั่งที่อุ่นและชื้น)
3) ข้อสังเกต : ในประเทศไทย ปรากฏการณ์นี้เคยเกิดมาก่อนแล้วมากกว่า 1 ครั้ง เช่น ในช่วงฤดูหนาว เช่น 27 มกราคม 2554 และในช่วงฤดูอื่น เช่น 18 กรกฎาคม 2558
4) ระวัง! มีผู้อธิบายไม่ถูกต้องว่า "ปรากฏการณ์นี้เกิดจาก cold front (แนวปะทะอากาศเย็น) หรือ warm front (แนวปะทะอากาศอุ่น)" - คำอธิบายดังกล่าวนี้ แม้จะมีลักษณะทางกายภาพใกล้เคียงกับกลไกในข้อ 2 แต่การเรียกว่า cold front และ warm front ไม่ถูกต้อง เพราะแถบเขตร้อน (อย่างประเทศไทย) ไม่นิยมเรียกว่า แนวปะทะอากาศ (front) ดังเช่นที่เกิดในแถบละติจูดกลาง (mid-latitude)
ขอบคุณคลิปเหตุการณ์จากคุณ Den Thanaphon
https://www.facebook.com/den.mcotphrae
https://www.facebook.com/den.mcotphrae