Lifestyle

ไทยป่วยไข้เลือดออกกว่าแสนตาย102ราย

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

ไทยป่วยไข้เลือดออกกว่าแสนตาย102ราย ยันไม่มีสายพันธุ์ใหม่ พีคสุดช่วงเดือนส.ค. พบป่วย 7,000 รายต่อสัปดาห์

           11พ.ย.2558 นพ.โอภาส การย์กวินพงศ์ รองอธิบดีกรมควบคุมโรค ให้สัมภาษณ์ต่อสื่อมวลชนถึงสถานการณ์โรคไข้เลือดออกว่า ไข้เลือดออกเป็นโรคประจำถิ่นของแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หลายประเทศก็มีการระบาด เช่น มาเลเซีย จนถึงเดือน ก.ย. 2558 พบผู้ป่วย 80,000 ราย เสียชีวิต 200 กว่าราย

           ส่วนสถานการณ์ในประเทศข้อมูลตั้งแต่ต้นปีจนถึงต้นเดือน พ.ย. พบผู้ป่วย 102,000 ราย เสียชีวิต 102 ราย เมื่อเทียบกับปี 2556 ซึ่งถือเป็นปีที่มีการระบาดของโรคไข้เลือกออกหนักนั้นมีผู้ป่วย 150,000 ราย เสียชีวิต 150 ราย ในปีนี้ถือว่าระบาดแต่ไม่รุนแรงเท่าปี 2556 อย่างไรก็ตาม หากพิจารณาในช่วงเดือน ต.ค.-พ.ย. มากขึ้นกว่าปีก่อน แต่ถือว่าผู้ป่วยเริ่มชะลอตัวลง โดยพบผู้ป่วยรายใหม่ 3,000-4,000 รายต่สัปดาห์ จากช่วงที่มีการระบาดสูงสุดในเดือน ส.ค.มีผู้ป่วย 7,000 ต่อสัปดาห์

           “ที่น่าสังเกตคือปีนี้อากาศร้อนค่อนข้างมาก ซึ่งเอื้อต่อการเจริญเติบโตของเชื้อไวรัสเดงกี่ บวกกับฝนตกๆ หยุดๆ ทำให้ลูกน้ำยลายมีปริมาณมาก และเจริญเติบโตได้ดี โดยเฉพาะในเมืองใหญ่ เมื่อมีฝนตกมากคนอยู่รวมกันหนาแน่น โอกาสที่จะแพร่ระบาดก็เพิ่มมากขึ้น เช่น โคราช เชียงใหม่ กทม. ซึ่งในการป้องกันที่สำคัญที่สุดต้องกำจัดลูกน้ำยุงลาย เพราะลูกน้ำที่เกิดจากยุงลายที่มีเชื่อไข้เลือดออกก็จะมีเชื้ออยู่ในตัวเลย แต่ที่เป็นปัญหาในการกำจัดลูกน้ำยุงลาย นอกจากเจ้าของบ้านจะไม่กำจัดทุกสัปดาห์แล้ว เมื่อมีเจ้าหน้าที่จะเข้าไปกำจัดให้ภายในบ้าน ก็ไม่อนุญาตให้เข้าไปภายบ้าน ให้ทำได้แค่บริเวณท่อระบายน้ำ ซึ่งเป็นการกำจัดที่ไม่ตรงจุด เพราะลูกน้ำที่อยู่ตามท่อน้ำนั้นเป็นยุงรำคาญ ไม่ใช่ยุงลาย” นพ.โอภาส กล่าว

           นพ.โอภาส กล่าวต่อว่า โรคไข้เลืดออกเป็นโรคที่มีความรุนแรงสูง ถ้าหากมีผู้ป้ฝ่วย 1,000 ราย จะเสียชีวิต 1 ราย จาก 2 สาเหตุ 1. ภาวะเลือดออก 2.เลือดรั่วจากเส้นเลือดและเกิดภาวะช็อค และเสียชีวิตได้ โดยไวรัสเดงกี่ที่เป็นสาเหตุของไข้เลือดออกมี 4 สายพันธุ์ คือ เดงกี่ 1, 2, 3 และ 4 ย้ำว่าไม่มีสายพันธุ์ใหม่แต่อย่างใด และความรุนแรงของทั้ง 4 สายพันธุ์ไม่ต่างกันมาก ในการระบาดในประเทศไทยจะพบทั้ง 4 สายพันธุ์โดยอาจจะวนเวียนกันไป บางปีสายพันธุ์ อาจจะระบาดมากในภาคใต้ สายพันธุ์ที่ 3 อาจจะระบาดมากในภาคเหนือ เป็นต้น ดังนั้นคนหนึ่งคนจะสามารถเป็นไข้เลือดออกได้ 4 ครั้ง แต่จะไม่ได้เกิดจากสายพันธุ์เดิม เนื่องจากร่างกายจะมีภูมิต้านทานไวรัสเดงกี่สายพันธุ์นั้นๆ ทั้งนี้การป่วยไข้เลือดออกครั้งแรกจะไม่ค่อยรุนแรงมาก แต่หากเป็นครั้งที่ 2 จะเกิดความรุนแรงมากขึ้น เลือดออก และช็อคได้

           สำหรับอาการของผู้ป่วยไข้เลือดออกระยะแรกจะมีไข้ ปวดศีรษะ ปวดตัว อาเจียน เลือดออกที่ผิวหนัง แต่หากอาการรุนแรงไข้จะลดลง ตัวเย็น ซึม กินอาหารไม่ได้ เวียนศีรษะ ไม่สบายเนื้อไม่สบายตัว หมดสติ ซึ่งระยะติดเชื้อและรุนแรงจะอยู่ในช่วง 48 ชั่วโมง หากรักษาตามอาการจนพ้นระยะ 7 วันก็จะหายจากโรค การวินิจฉัยแรก จะแยกจากอาการไข้ทั่วไปค่อนข้างยาก ต้องเจาะเลือดตรวจซึ่งหากป่วยเพียง 1-2 วัน การเจาะเลือดตรวจอาจจะไม่พบเชื้อ ต้องใช้เวลา 3-4 วัน จึงจะเจาะเลือดและตรวจรู้ได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับปัจจัยส่วนบุคคลด้วย การเจาะเลือดครั้งแรกจึงอาจไม่เจอเชื้อไข้เลือดออกก็ได้ ซึ่งการรักษายังไม่มียาเฉพาะ ต้องให้การรักษาแบบประคับประคองมีไข้ ส่วนวัคซีนยังอยู่ในขั้นตอนการขอขึ้นทะเบียนยา

           “จากการสำรวจของกรมควบคุมโรค คนไทยรู้จักไข้เลือดออกกว่า 80 % แต่มีส่วนร่วมในกาป้องกันโรค กำจัดลูกน้ำยุงล่ยเพียง 20% เท่านั้น คนไทยจึงควรป้องกันโรคด้วยการสำรวจบ้านตัวเองและกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย เทน้ำทิ้งสัปดาห์ละอย่างน้อย 1 ครั้ง” นพ.โอภาสกล่าว


พิษณุโลกไข้เลือดออกแนวโน้มรุนแรงตาย1ราย

           นายแพทย์ปิยะ ศิริลักษณ์ นายแพทย์สาธารณะสุขจังหวัดพิษณุโลก กล่าวว่า จากสถานการณ์ของโรคไข้เลือดออกในช่วงปลายฝน ของปี 2558 ยังคงมีผู้ป่วยเพิ่มขึ้น อย่างต่อเนื่อง พบผู้ป่วยตั้งแต่ 1 มกราคม ถึง 6 พฤศจิกายน 2558 พบแล้ว 905 ราย มากกว่า ปี 2557 ที่มีผู้ป่วยเพียง 152 รายเท่านั้น อำเภอที่พบอัตราการป่วยมากที่สุดคือ อ.เนินมะปราง อ.ชาติตระการ และ อ.วัดโบสถ์ ส่วนพื้นที่พบน้อยที่สุดคือ ชุมชนในเขตเทศบาล กลุ่มผู้ป่วยส่วนใหญ่ อายุ 15-24 ปี ถึงร้อยละ 28.28 ของผู้ป่วยทั้งหมด รองลงมาคือกลุ่มอายุ 10-14 ปี ร้อยละ 21.62 มีประชาชนที่เสียชีวิตจากไข้เลือดออกแล้ว 1 ราย คือ ในพื้นทื่ อ.นครไทย

           จากการวิเคราะห์สถานการณ์ขอวงโรคพบว่า พื้นที่ที่พบแล้วจะก็จะกลับมาพบอีก ทั้งๆที่มีการควบคุมโรคทันทีที่พบผู้ป่วย มีการสอบสวนโรคลงพื้นที่ ที่มีฉีดพ่นหมอกควัน กำจัดยุงลายทัน แต่หลายแห่งยังขาดความร่วมมือในการกำจัดลูกน้ำยุงลาย จึงทำให้ยุงไม่หมดไปจากชุมชน มีผู้ป่วยเกิดขึ้นซ้ำแล้วซ้ำอีก ส่วนหนึ่งเป็นเพราะว่ามีประชาชนในชุมชนยังมองว่าไม่อันตราย ป่วยก็รักษา ซึ่งประชาชนส่วนใหญ่มองข้าม ปรากฏว่าล่าสุดนั้นได้มีการพัฒนาสายพันธุ์ของไข้เลือด นั้น เนื่องจากว่าผู้ป่วย ได้ป่วยแล้วเกิดภาวะแทรกซ้อน ก็จะเกิดอีกสายพันธุ์ใหม่อีก ซึ่งประชาชนควรระมัดระวัง และรีบรักษา ไปหาแพทย์ดีกว่า

           สำหรับมาตรการป้องกันนั้น ขณะนี้หากมีพื้นที่ใดเสี่ยงต่อการเกิดไข้เลือดออกระบาด ทางเจ้หาน้าที่ก็ประสานความร่วมมือกับองค์ปกครองส่วนท้องถิ่น ในการฉีดพ่นยา กำจัดลูกน้ำยุงลาย ตามจุดเสี่ยงต่างๆ ทั้งที่วัด โรงเรียน ชุมชนต่างๆ เพื่อป้องกันการเกิดโรคไข้เลือดได้อีก พร้อมกับให้ความรู้เกี่ยวกับโรคไข้เลือดออกให้กับประชาชนถึงพิษภัยของไข้เลือดออกที่หากมองข้ามอาจจะเสี่ยงต่อชีวิตได้


เชียงใหม่ไข้เลือดระบาดมีผู้ป่วยเสียชีวิตแล้ว3ราย

           นายแพทย์ไพศาล ธัญญาวินิชกุล นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดเชียงใหม่ เปิดเผยว่า สถานการณ์ไข้เลือดออกของจังหวัดเชียงใหม่ในปีนี้ อยู่ในระดับที่ค่อนข้างรุนแรง มีผู้ป่วยเข้ามารับการรักษาประมาณ 4-5,000 คน และมีผู้เสียชีวิต จำนวน 3 ราย ในขณะที่ปีที่ไข้เลือดออกระบาดรุนแรงมากที่สุดคือปี 2556 มีผู้เสียชีวิตจำนวน 4 ราย และมีผู้ป่วยเป็นไข้เลือดออกกว่า 10,000 คน กระจายอยู่ทั้งจังหวัดเชียงใหม่ จุดที่พบการระบาดค่อนข้างสูง อยู่ในเขต อ.เมือง อ.ดอยสะเก็ด อ.แม่ริม และ อ.สันทราย มีลักษณะเป็นเมืองและมีชุมชนอยู่หนาแน่นทำให้การแพร่ระบาดเป็นไปอย่างรวดเร็ว

           อย่างไรก็ตาม ได้พยายามเตือนประชาชนในพื้นที่จุดเสี่ยงที่โดยการประสานงานกับอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในทุกพื้นที่ ให้ประชาสัมพันธ์ทำความเข้าใจกับประชาชน โดยเฉพาะการให้ทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายซึ่งเป็นพาหะของโรคไข้เลือดออกตามบ้านเรือนและแหล่งชุมชน นอกจากนั้นยังให้อาสาสมัครสาธารณสุขให้ความรู้กับประชาชนป้องกันตัวเองไม่ให้เกิดยุงกัด โดยเฉพาะกลุ่มเด็กเล็ก หากป่วยมีอาการไข้สูง ปวดหัว ปวดกล้ามเนื้อ โดยที่ไม่มีอาการของไข้หวัด ห้ามซื้อยามารับประทานเอง แต่ให้รีบพบแพทย์เพื่อรับการรักษาทันที

           นอกจากนั้น ในให้ลงพื้นที่บริเวณงานก่อสร้างที่มีคนงานก่อสร้างอาศัยอยู่ในพื้นที่ เพื่อให้รณรงค์ให้ทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลาย เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโรคได้ในระดับหนึ่ง รวมทั้งให้ความรู้กับกลุ่มคนงานที่อาศัยอยู่กันเป็นชุมชนในการสังเกตอาการการเป็นไข้เลือดออกเพื่อจะได้ทำการรักษาได้ทันท่วงที

logoline
แท็กที่เกี่ยวข้อง

ข่าวที่น่าสนใจ