
เปิดตัวเดอะ นิว ยู ปรับลุค เปลี่ยนลักษณ์
เดอะ นิว ยู ปรับลุค เปลี่ยนลักษณ์ส่งประสบการณ์ตรงลงตัวอักษรโดย... อ.เอ๋อภัยลักษณ์ ตันตระบัณฑิตย์
เพราะภาพลักษณ์เป็นสิ่งแรกที่ทุกคนมองเห็นเวลาเจอใครก็ต้องเห็นความประทับใจของเขาก่อน เรียกว่าเป็น ความประทับใจแรก เพราะฉะนั้นเวลาที่เจอใคร เราจะตัดสินคนอื่นและถูกตัดสินในเวลาเดียวกัน ในการที่จะเจอใครหรือใครเจอเราแล้วจะทำให้เกิดความชอบต่อกัน ภาพลักษณ์ถือว่า เป็นสิ่งสำคัญมากๆ
ด้วยเหตุผลนี้จึงเป็นที่มาของการรวบรวมข้อมูลอันเกิดจากการสั่งสมประสบการณ์ทำงานมาหลายปีของ "อ.เอ๋" อภัยลักษณ์ ตันตระบัณฑิตย์ ที่ปรึกษาภาพลักษณ์ไทย ซึ่งมีดีกรีจบจากสถาบันที่ปรึกษาภาพลักษณ์ติดอันดับหนึ่งในสิบของโลก ผ่านตัวหนังสือกลายเป็นคู่มือปรับภาพลักษณ์สู่ความสำเร็จ "The New You ปรับลุค เปลี่ยนลักษณ์" ซึ่งได้จัดงานเปิดตัวขึ้นภายในงานมหกรรมหนังสือระดับชาติ ครั้งที่ 19 บริเวณลานกิจกรรมเอเทรี่ยม ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ โดยได้รับเกียรติจาก พนา จันทรวิโรจน์ กรรมการผู้จัดการ บริษัทเนชั่น อินเตอร์เนชั่นแนล เอ็ดดูเทนเมนท์ จำกัด (มหาชน) เป็นประธานเปิดงาน
ในฐานะที่ปรึกษาภาพลักษ์ไทย อภัยลักษณ์ ตันตระบัณฑิตย์ เปิดเผยถึงแรงบันดาลใจของการเขียนหนังสือฉบับดังกล่าวว่า เราปฏิเสธไม่ได้เลย เวลาเจอใคร เพียงแค่แวบแรก ใช้เวลาภายในไม่กี่วินาที ในการตัดสินคนคนนั้นไปแล้ว เพียงแค่เห็นจากเสื้อผ้า หน้า ผม บุคลิก การเดิน การมอง ยืน นั่ง ถึงแม้ยังไม่ทันได้พูดคุยกันด้วยซ้ำ ก็สามารถบอกได้เลยว่า เรารู้สึกชอบ หรือไม่ชอบคนคนนั้น จากที่เห็นเพียงไม่กี่วินาที สามารถบอกได้ด้วยซ้ำว่า เขาเติบโตมาดีหรือไม่ บางทีอาจจะทายหน้าที่การงาน อาชีพ เงินเดือน และภูมิหลังเขาได้อีก
"ขณะเดียวกันในทางกลับกัน เราเองคือคนที่ถูกตัดสินจากผู้อื่นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้เช่นกัน พวกเขาได้เห็น และได้ตัดสินเราไปถึงไหนต่อไหน ภาพลักษณ์ของเราไปกระทบต่อสัญชาตญาณของเขา ทำให้รู้สึกได้ว่า เราเป็นคนที่น่าเข้ามาพูดคุยด้วย หรือควรหลีกเลี่ยง สิ่งนี้คือภาพลักษณ์ หรือแบรนด์ตัวเรานั่นเอง ซึ่งไม่เกี่ยวกับราคา ของเสื้อผ้าที่สวมใส่ หรือข้าวของที่ใช้"
สำหรับหนังสือ The NeW YOU ปรับลุค เปลี่ยนลักษณ์ เล่มนี้ ผู้เชี่ยวชาญด้านการปรับเปลี่ยนภาพลักษณ์ไทย กล่าวว่า ไม่เพียงแต่จะทำให้เรียนรู้ตัวตนของเราอย่างแท้จริง แต่ยังให้รู้จักตัวเองในมุมใหม่ ตั้งแต่เรื่องรูปร่าง หน้าตา และสิ่งสำคัญคือเรื่องสี สีสามารถเปลี่ยนลุคเป็นคนใหม่ที่น่าสนใจ หรือทำให้กลายเป็นคนที่ไม่มีใครมองเห็นก็ได้ ใครจะคิดว่า คนเราจะมีอุณหภูมิสีของแต่ละคนแตกต่างกันแล้วกลับเป็นสิ่งสำคัญเสียด้วย นับเป็นองค์ประกอบสำคัญที่จะทำให้เราแต่งกายได้เหมาะกับตัว ถ้าแต่งตัวถูกฤดูของสีผิว ยิ่งช่วยให้ดูดีขึ้นทันตา ฟังดูน่าอัศจรรย์เหลือเกินกับแค่เรื่องสี แต่เมื่อคุณได้ลองปรับเปลี่ยนตัวเองให้เข้ากับฤดูสีผิวของตัวเอง คุณจะพบผลลัพธ์ที่น่าประหลาดใจกว่าอย่างแน่นอน
ทั้งนี้ "อ.เอ๋" หรือ อภัยลักษณ์ นอกจากจะเป็นผู้บุกเบิกเรื่องที่ปรึกษาภาพลักษณ์รุ่นแรกๆ ของประเทศไทย ยังเป็นที่ปรึกษาภาพลักษณ์คนแรกที่ให้ความสำคัญกับการทำให้ผู้คนสร้างความรู้สึกที่ดีจากภายในสู่ภายนอก ผ่านกระบวนการใช้วิธีการโค้ชไปถึงจิตใต้สำนึก (NLP) ทั้งในการโค้ชแบบตัวต่อตัวและการจัดเทรนนิ่ง เพื่อให้ทุกคน ไม่ว่าหญิงและชายเกิดความรักในตัวเองและทำให้เปล่งประกายศักยภาพของตัวเองออกมา โดยเน้นให้ผู้ที่รับการอบรมรักตัวเองจากภายใน ซึ่งจะทำให้มีพลังในชีวิตเพิ่มมากขึ้น และเมื่อได้เรียนรู้ที่จะรักตัวเอง ปรับมุมมองความคิดตัวเองจากภายในแล้ว ก็จะช่วยส่งเสริมภาพลักษณ์ใหม่ให้สมบูรณ์จากภายในสู่ภายนอก กลายเป็น เดอะ นิว ยู ในแบบของแต่ละคนได้ไม่ยาก เมื่อดูดีในแบบฉบับของแต่ละคนแล้ว ก็ส่งผลให้จะทำงานได้ดีอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ดึงดูดสิ่งแวดล้อมแห่งความสำเร็จในแบบที่แต่ละคนต้องการ
ผู้ที่สนใจต้องการเป็นเจ้าของหนังสือ "The NeW YOU ปรับลุค เปลี่ยนลักษณ์" มีวางจำหน่ายแล้วที่บูธเนชั่นบุ๊คส์ M49 โซน C1 ในงานมหกรรมหนังสือระดับชาติครั้งที่ 19 ตั้งแต่วันนี้ -26 ตุลาคม 2557 ที่ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ และร้านหนังสือชั้นนำทั่วประเทศ
สาเหตุที่เป็นเช่นนี้ เพราะเขาถูกจับหลังเหตุการณ์ชุมนุมที่ตากใบ แล้วถูกนำตัวขึ้นรถบรรทุกให้นอนชั้นล่างสุดติดกับกระบะรถ แล้วถูกซ้อนทับจากเพื่อนร่วมชะตากรรมเดียวกันอีกหลายชั้น ทำให้เลือดไม่ไหลเวียน หากพระเจ้ายังเมตตาที่ให้เขารอดชีวิตมาได้
"เจ้าหน้าที่ทำรุนแรงกับเราเกินไป เขาจับมัดมือไพล่หลังด้วยเชือก ตอนนั้นคิดว่าตัวเองตายแล้ว เขาให้นอนคว่ำหน้าบนพื้นรถ ผมอยู่ชั้นล่างสุด มือถูกมัดไพล่หลัง ฝนก็ตก มองเห็นแต่เพื่อนที่นอนชั้นล่างสุดแค่นั้น จะช่วยเหลือใครก็ไม่ได้ เพราะทุกคนถูกมัดมือทั้งหมด คนข้างบนปวดฉี่ก็ราดลงมาข้างล่าง บางคนก็ปวดหนัก บางคนที่โดนพานท้ายปืน โดนซ้อมมาก็ร้องเจ็บปวด ผมได้แต่ฟังเสียง พยายามไม่ให้ตัวเองสลบหรือหลับ แต่หายใจไม่สะดวก"
"ตอนถึงค่ายอิงคยุทธก็หมดแรง รู้สึกชาที่แขนและขา เดินตรงไม่ได้ อยู่ในค่ายนั้น 2 วัน ได้ออกไปนอนรักษาตัวที่โรงพยาบาลปัตตานี อยู่โรงพยาบาลอีกหนึ่งอาทิตย์ แขนขวาบวมมากเพราะเลือดคั่ง จนหายบวม กลับมาบ้าน แขนขวาก็ชา ทำงานไม่ถนัด ต้องปรับตัวใช้แขนซ้ายให้เป็นประโยชน์จนถึงทุกวันนี้" เขาเล่าถึงเหตุการณ์ที่อยากจะลืม แต่กลับแจ่มชัดในความทรงจำ
สานูสีและเพื่อนร่วมชะตากรรม คือ ก๊ะแยนะ สะแลแม เป็นแกนนำ ได้ต่อสู้เรียกร้องความเป็นธรรม เดินทางไปศาลทุกนัดเพื่อรับฟังความคืบหน้าการพิจารณาคดี จนมีการจ่ายเงินเยียวยา และเขาได้รับมาจำนวนหนึ่งจากความพิการ ซึ่งเขาเก็บไว้ใช้จ่ายยามจำเป็น ทุกวันนี้ สานูสี ยังไม่มีครอบครัว จึงอยู่กับพ่อแม่ ซึ่งมีบ้านใกล้กับครอบครัวของพี่สาว เขาทำงานเป็นพนักงานส่งของในร้านจำหน่ายวัสดุก่อสร้างแห่งหนึ่ง และใช้ชีวิตประจำวันเหมือนชาวบ้านทั่วไป
"เงินที่ได้มาถือว่าอัลลอฮ์ให้เรามาเท่านี้ แม้จะไม่คุ้มกับสิ่งที่เกิดขึ้นกับชีวิตและร่างกายของเราก็ตาม" สานูสี บอก
สิบปีตั้งแต่เกิดเรื่อง เจ้าหน้าที่ชอบบอกว่า อย่ารื้อฟื้นแผลเก่าขึ้นมาอีก แต่เจ้าของแผลอย่างสานูสี บอกว่า "ถ้าเจ้าหน้าที่รัฐไม่รับผิดในสิ่งที่ทำ ก็ไม่มีความยุติธรรมอยู่ดี ผมไม่อยากพูดเรื่องนี้แล้ว แต่อยู่ในใจตลอดมาและไม่เคยลืม"
ไม่ไกลจากบ้านของสานูสี เป็นบ้านของ กะเมาะ วัย 59 ปี ที่สูญเสียลูกชายไปในเหตุการณ์ตากใบ ทุกวันนี้กะเมาะต้องใช้ชีวิตอยู่ตามลำพัง มีลูกชายที่เหลือเพียงคนเดียว แต่ก็ไปทำงานในมาเลเซีย เดือนหนึ่งจะกลับมาเยี่ยมบ้านสักครั้ง
"ก่อนหน้าเกิดเหตุตากใบ 2 เดือน อาแบ (สามีของกะเมาะ) เสียชีวิตไปก่อน ฉันมีลูกชาย 3 คน ลูกชายคนที่สองเสียชีวิตในเหตุการณ์ตากใบในวันที่เกิดเหตุ ไปรับศพที่โรงพยาบาล ถ้าเขายังมีชีวิตอยู่ ตอนนี้ก็อายุประมาณ 35 ปี หลังสามีกับลูกชายคนที่สองเสียชีวิต ต่อมาลูกชายคนโตก็ป่วยจนเสียชีวิตอีก ตอนนี้จึงเหลือแต่ลูกชายคนสุดท้องอายุ 19 ปีคนเดียว เขาไปทำงานที่มาเลเซีย นานๆ จึงกลับมาบ้านครั้งหนึ่ง แต่ก็ยังดีที่มีหลานสาว ซึ่งเป็นลูกของน้องสาวมาอยู่เป็นเพื่อน มีเพื่อนบ้านใกล้กันบ้าง ทำให้ไม่เหงามาก ช่วยกันดูแลทุกข์สุข"
เงินที่กะเมาะได้รับจากการเยียวยา เธอนำไปซื้อสวนยางพารา สวนปาล์ม และเก็บไว้ในธนาคาร บางส่วนนำมาใช้จ่ายในชีวิตประจำวันที่อยู่เพียงคนเดียว และทำอะไรได้ไม่ถนัด เพราะมีหลายโรครุมเร้า ทั้งความดัน หอบ และหัวเข่าที่เจ็บเนื่องจากลื่นล้ม ทำให้เดินไม่สะดวก จะลุกจะนั่งก็ลำบาก
"ยังทำใจยอมรับไม่ได้กับเงินที่ได้มา เหมือนต้องแลกกับชีวิตของลูก มีเงินแต่ไม่มีใครอยู่ด้วย ก็ไม่มีประโยชน์ สิบกว่าปีที่ผ่านมาไม่เคยลืมความไม่ยุติธรรมที่ได้รับ รัฐไม่ยอมรับผิด ฉันไม่พอใจที่คนทำผิดไม่ยอมรับผิด มันยังคาใจ ไม่มีความกระจ่างอยู่ถึงตอนนี้ และในใจไม่เคยลืมการกระทำของเจ้าหน้าที่ในวันนั้นเลย"
เมื่อถามถึงความรู้สึกในวาระ 10 ปีตากใบ กะเมาะบอกสั้นๆ เพียงว่า "กี่ปีก็ไม่ลืม"