
ลายเส้นถวัลย์ ดัชนีวัยหนุ่มสู่หอศิลป์กทม.
ลายเส้นถวัลย์ ดัชนีวัยหนุ่ม จุดประกายงานศิลปะร่วมสมัย ณ หอศิลป์กทม. : ผกามาศ ใจฉลาดรายงาน
จากนี้ไปเราคงไม่ได้เห็นศิลปินนามอุโฆษชาวจังหวัดเชียงราย “ถวัล ดัชนี” วัย 74 ปี ศิลปินแห่งชาติปี 2544 ชายผู้ถือพู่กัน สีสันที่ผู้สะสมอันพึงมีทรัพย์มหาศาลเท่านั้นจะได้มาครอบครอง แต่ภายใต้เคราสีขาวในชุดดำ หม้อฮ่อมทมึนนั้น กลับมาพร้อมกับมุขตลก เสียงหัวเราะ คงเหลือไว้ซึ่งความทรงจำในฐานะพ่อครูงานศิลป์ของศิลปินล้านนา ศิลปินทั่วประเทศ ข้อคิดอันเป็นสัจธรรมตามความเชื่อพระพุทธศาสนา แนวทางการดำเนินชีวิตที่เป็นเอกลักษณ์ และที่สำคัญ “ผลงานศิลปะ” ที่โดดเด่นมีรูปแบบที่ไม่เหมือนใครในโทนสีดำและแดง ซึ่งมีต้นกำเนิดจากงานพุทธศิลป์ดั้งเดิม อันเลื่องชื่อจารึกไว้ในแผ่นดินหลายร้อยหลายพันชิ้น
ดังปรากฏ จะเป็นนิทรรศการต่างๆทั้งในและต่างประเทศ ยังได้รับเชิญให้วาดฝาผนังในสถานที่ราชการ เอกชนหลายแห่ง เช่น พระราชวังดอยตุง ธนาคารแห่งประเทศไทย ธนาคารกรุงเทพ ธนาคารไทยพาณิชย์ และอาคารเชลล์ ของบริษัทเซลล์แห่งประเทศไทย จำกัด เป็นต้น เป็นผู้ออกแบบตุงทองคำ เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 5 ธันวาคม 2542 และยังเป็นผู้ถ่ายทอดศิลปะของไทยและเอเชียในงานสำคัญระดับโลกหลายงานได้รับรางวัลศิลปินดีเด่น เหรียญทอง จากสมาคมสถาปนิกสยามและเป็นศิลปินแห่งชาติ สาขาทัศนศิลป์ (จิตรกรรม) ปี 2544 เหนือคำว่า มูลค่านั่นคือ คุณค่า ข้อคิด ความเชื่อที่อาจารย์ถวัล แฝงไว้ในลายเส้น สี กระดาษทุกๆแผ่น
ล่าสุดผลงานของอ.ถวัช ดัชนี ชิ้นเล็กๆแต่ถือเป็นชิ้นสำคัญยิ่งยวด ปรากฏให้ผู้ชื่นชมศิลปะได้เห็นเป็นครั้งแรก ในห้องจัดแสดงห้องที่ 2 ของ นิทรรศการ “มนต์เสน่ห์ไทย : มรดก+พลังสร้างสรรค์ (ThaiCharisma : Heritage+Creative Power) ที่เปิดให้ผู้ชมทั่วไปชมฟรี อย่างเป็นทางการแล้วเมื่อวันที่ 29 สิงหาคมที่ผ่านมา และยังจัดแสดงไปจนถึงวันที่ 16 พฤศจิกายน 2557 ณ บริเวณชั้น 8 หอศิลปวัฒนธรรมกรุงเทพมหานคร และนี่ถือเป็นครั้งแรกที่โบราณวัตถุ ศิลปะวัตถุอันล้ำค่าของชาติที่รังสรรค์จากช่างโบราณนำมาจัดแสดงพร้อมกับงานศิลปะร่วมสมัย อีกทั้งมรดกเหล่านี้ยังกลายเป็นแรงบันดาลใจให้ศิลปินยปัจจุบันนำมาสร้างเป็นงานศิลปะ สืบทอดความเป็นไทยร่วมสมัย
“ศ.ดร.อภินันท์ โปษยานนท์” ปลัดกระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) บอกว่า ผลงานอ.ถวัลนั้น เป็นงานวาดภาพชุดลายเส้นภาพของอาจารย์ถวัลย์ ดัชนี ศิลปินแห่งชาติปี 2544 ซึ่งไม่เคยนำออกแสดงที่ไหนมาก่อน อาจารย์ถือเป็นศิลปินที่มีฝีมือเป็นเลิศเรื่องนำเอาเนื้อหาความหมาย ความเชื่อต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นพราหมณ์ ฮินดู วิญญาณนิยม นำมาเขียนเป็นภาพลักษณะของลายเส้น ในอิริยาบถต่างๆ ได้รับแรงบันดาลใจจากไตรภูมิกถา ซึ่งมีบันทึกเนื้อหาเกี่ยวกับความเชื่อ สวรรค์ โลกมนุษย์ นรก มาถ่ายทอดผ่านความรู้ความสามารถของอาจารย์ที่ได้ไปศึกษามาจากต่างประเทศด้วย
“เราอยากให้เห็นผลงานชิ้นนี้ ที่ผมคิดว่าเป็นผลงานชิ้นสำคัญที่สุดชิ้นหนึ่งของอาจารย์ถวัล ดัชนี กล่าวคือเป็นชุดลายเส้นภาพเหมือนจริงใบหน้าของอาจารย์ถวัลย์ ดัชนี ตอนยังหนุ่มเมื่อ 30-40 ปีที่แล้ว เอามาจัดแสดงที่นี่เป็นที่แรก โดยผลงานชุดนี้เป็นงานสะสมของคุณ Rolf von Buren ซึ่งเป็นชาวเยอรมันที่อยู่ในประเทศไทยมานานกว่า 50 ปี ดังนั้น เราต่างก็ทราบว่าอาจารย์ถวัลย์ ดัชนี มีฝีมือและความสามารถมากมาย แต่ผมคิดว่าเราเอางานของศิลปินแห่งชาติจากจังหวัดเชียงรายท่านนี้มาเป็นจุดเริ่มต้นของงานนิทรรศการครั้งนี้ บ่อบอกว่าท่านเป็นสัญลักษณ์ของการเชื่อมต่อช่างนิรนามกับช่าง ศิลปิน สล่าร่วมสมัย สืบทอดเทคนิคการทำงานศิลปะให้เป็นมรดกร่วมสมัยได้ นี่คือจุดเริ่มต้นของงานครั้งนี้”
ส่วนใหญ่อาจารย์ไม่ ถือเป็นการสูญเสียครั้งยิ่งใหญ่วงการศิลปะบ้านเรา อ.เป็นปู้ชนียบุคค บุกเบิกงานช่วงต้นๆลูกศิลป์คนท้ายอ.ศิลป์ภีรศี ไปจบดร.เนเธอแลนด์ มีเอกลัษณ์ ประจำตัวโดดเด่น สมัยเยน เอลวิส สมัยร๊อคแอนโรล อ.ผู้บุกเบิกงานท้องถิ่น งานล้านนา ศึกษาไตรภูมิ ศาสนา พม่า ทิเบศ กัมพูชา เป็นผู้บุกเบิกงานพระพุทธศาสนาใน ตอนนั้นตะวันตก อา.พลิกกลับท้องถิ่นนิยม สิ่งหนึ่งที่อ.สร้างความฮือฮา ปี 2514 นำภาพชุดหนึ่งไปร.ร.กรุงเทพคริสเตียน มีการตีความผิดเพี้ยน บางคนว่าหลบหลู่ศาสนา แต่อ.สะท้อนมารผฐนมิติต่าง ขอดี ขอเลว มีนิสิต นศ.นำมีดกรีดงานศิลปิน ไม่ย่อท้อ พัฒนาต่อมาย่อ แสดงงาน ม.ร.ว.คึกฤทฑิ์ อุปถ้มภ์ เชิญปราสาทเยอรมัน รางวัลญี่ปุ่น ความสามารถสูงส่ง ดูแลให้ทุนนัก อารมณ์ขันอยู่มาก การนำเสนองานโดยวาทศิลป์อันเป็นที่เลื่องลือ หวยหาเสียงหัวเราะ ได้ร่วมทำงามาร่วม 30 ปี วงการศิลปะอย่างยิ่ง เป็นต้น
นายพลากร สุวรรณรัฐ องคมนตรี ประธานในพิธีเปิดนิทรรศการ กล่าวว่า ทราบว่าการจัดนิทรรศการครั้งนี้เป็นการทำงานร่วมกันระหว่างเครื่อข่ายทางศิลปวัฒนธรรมหลายองค์กร ภาครัฐ เอกชน ประชาชน นับเป็นนิมิตรหมายอันดีทำให้มรดกทางวัฒนธรรมของชาติ ได้รับการส่งเสริมสนับสนุนในวงกว้างขึ้น การนำโบราณวัตถุศิลปะวัตถุมาจัดแสดงร่วมกับผลงานศิลปะร่วมสมัย จะทำให้พี่น้องประชาชนผู้รักงานศิลปะได้เห็นถึงพัฒนาการงานศิลปกรรมไทยที่สืบทอดกันมายาวนานตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน เป็นเครื่องบ่งบอกถึงความรุ่งเรืองของอารยธรรมชาติไทยได้เป็นอย่างดี นิทรรศการครั้งนี้ถือเป็นการอนุรักษ์มรดกทางศิลปะวัฒนธรรมของชาติควบคู่กับการพัฒนาให้ทันต่อยุคสมัย นับเป็นน่าชื่นชมยินดีเป็นอย่างยิ่ง
“กระผมหวังว่าท่านผู้โชคดีที่จะได้มีโอกาสชมนิทรรศการในครั้งนี้ จะได้ซึมซับกับความมีเสน่ห์ของศิลปกรรมไทยและตระหนักถึงคุณค่าของมรดกทางศิลปวัฒนธรรมของชาติ พร้อมมีส่วนร่วมดูแลรักษา สืบสานให้คงอยู่อย่างมั่นคง รวมทั้งสร้างแรงบันดาลใจให้ศิลปินร่วมสมัยได้มีพลังในการสร้างสรรค์ ผลิตผลงานสู่สาธารณะชนต่อไป”
หากใครคิดถึงอ.ถวัลย์ อยากจะชื่นชมและสืบทอดงานศิลปะไทยร่วมสมัย ไปพร้อมๆกับศิลปินรุ่นใหม่ที่เดินบนถนนศิลปะ อาทิ ผลงานชุด “Beyond” ของ คามิน เลิศชัยประเสริฐ สร้างสรรค์ผลงานที่ได้รับแรงบันดาลใจจากพระพุทธรูปไม้โบราณ สร้างพระพุทธรูปจากสำริดถ่ายทอดลักษณะความเกิดแก่เจ็บตาย ความโลภหลง ถือเป็นวัฏจักรของมนุษย์ ให้ผู้ชมได้ศึกษาและมีสติจากผลงานเหล่านี้ , ผลงาน “Ayodhya” ของจักกาย ศิริบุตร ที่ได้รับแรงบันดาลใจจากผ้าปักรามเกียรติ์ พุทธศตวรรษที่ 25 ,ผลงานรอยต่อแห่งศรัทธาของกาลเวลา ของปานพรรณ ยอดมณี , ผลงาน Angel ของประเสริฐ ยอดแก้ว ที่สะท้อนแนวคิดหากเทวดาตกสวรรค์แล้วจะเป็นอย่างไร ,ผลงานการถ่ายทอดสัญลักษณ์ของความเสียสละ ผู้ให้ และผู้ขอเสมอ ชื่อ ”วัวนักบุญผู้ให้กับหมูขี้ขอ” ของยุรี เกนสาคู เป็นต้น