
อาการปวดท้องที่ไม่ธรรมดา : ดูแลสุขภาพ ลุงแจ่ม
อาการปวดท้องที่ไม่ธรรมดา : ดูแลสุขภาพ ลุงแจ่ม
อาการปวดท้อง มีโอกาสเกิดขึ้นได้บ่อยๆ บางกรณีก็อาจรักษาด้วยตนเองได้ เช่น ปวดท้องจากโรคกระเพาะอาหาร ปวดท้องจากโรคอาหารเป็นพิษ
๐ อาการปวดท้องที่ควรรีบปรึกษาแพทย์ มีอาการร่วมดังนี้
-อาเจียนเป็นเลือด
-น้ำหนักลดลงมาก
-มีเจ็บหน้าอก เหงื่อแตก ใจสั่น
-การขับถ่ายผิดปกติ
-คลำได้ก้อนในท้อง
-ปวดท้องมาก
-มีไข้ ความดันโลหิตตก ชีพจรเต้นเร็ว
-เป็นเรื้อรังมานาน
๐ รายละเอียดของอาการปวดท้อง ที่ช่วยในการวินิจฉัยโรค
-ตำแหน่ง หรือบริเวณที่เริ่มปวด เช่น บริเวณลิ้นปี่ รอบๆ สะดือ หน้าท้องส่วนบน ใต้ชายโครงขวา หรือซ้าย ท้องน้อยตรงกลาง เหนือหัวเหน่า หรือท้องน้อยขวา หรือซ้าย
-มีอาการอื่นที่เกิดร่วมด้วย เช่น เบื่ออาหาร คลื่นไส้อาเจียน ท้องผูก ท้องเสีย เป็นไข้ เหงื่อแตก หน้ามืดเป็นลม
-ระยะเวลาของการปวด เช่น ภายในไม่กี่ชั่วโมง, 2-3 วัน หรือเป็นเรื้อรังมานาน
-อาการปวดเกิดขึ้นอย่างรุนแรงทันทีทันใด หรือค่อยๆ ปวดมากขึ้นเรื่อยๆ จนทนไม่ได้จึงมาพบแพทย์
-ประวัติการเจ็บป่วย และโรคประจำตัว
ไส้ติ่งอักเสบ
อาการของไส้ติ่งอักเสบเฉียบพลันอาจแบ่งได้เป็น 2 ชนิด คือ ชนิดตรงไปตรงมา มีอาการปวดบริเวณรอบสะดือก่อนที่จะย้ายไปปวดบริเวณหน้าท้องด้านล่างขวา มักมีร่วมกับอาการเบื่ออาหารและมีไข้
อาการที่ไม่ตรงไปตรงมา อาจเริ่มจากมีอาการปวด เริ่มที่หน้าท้องด้านล่างขวาตั้งแต่ต้น ท้องเสีย และมีการดำเนินโรคที่ยาวนาน ค่อยเป็นค่อยไป
หากมีการอักเสบของเยื่อบุช่องท้องมาก อาจมีอาการกดปล่อยแล้วเจ็บ (rebound tenderness)
ถุงน้ำดีอักเสบ หมายถึง ภาวะที่ถุงน้ำดีมีการอักเสบ สาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากนิ่วในถุงน้ำดี การวินิจฉัยโรค โดยการทำ ultrasound จะช่วยวินิจฉัยโรค โดยจะพบนิ่วในถุงน้ำดี และผนังของถุงน้ำดีหนาตัว
อาการถุงน้ำดีอักเสบ มีอาการปวดท้องทันที ปวดชายโครงข้างขวา อาจจะปวดร้าวไปยังสะบักข้างขวา หายใจลึกๆ จะทำให้ปวดมากขึ้น กดเจ็บใต้ชายโครงขวา อาการอื่นที่พบ ได้แก่ ไข้สูง คลื่นไส้ และอาเจียน
แผนกอายุรกรรมระบบทางเดินอาหาร
โรงพยาบาลเซ็นทรัลเยนเนอรัล
โทร.0-2552-8777
โรงพยาบาลธนบุรี จัดโปรแกรมตรวจสุขภาพกระดูกภายใต้คอนเซ็ปต์ “กระดูกพรุนไม่เห็นด้วยตา แต่ก็อย่าชะล่าใจ” ด้วยโปรแกรมตรวจสุขภาพกระดูก ประกอบด้วย ตรวจความสมบรูณ์ของเม็ดเลือด (CBC) ตรวจการทำงานของไต (BUN, Creatinine) ตรวจการทำงานของตับ (Alk,Phos,Albumin) ตรวจวิตามินดี ตรวจฮอร์โมนที่ช่วยรักษาภาวะสมดุลของแคลเซียมในเลือด (PTH) ตรวจปริมาณแคลเซียม (Total Calcium) ตรวจความหนาแน่ของมวลกระดูก และอีกหลายรายการ เมื่ออายุมากขึ้นร่างกายมีกระบวนการสร้างเนื้อกระดูกใหม่ช้ากว่ากระบวนการสลายเนื้อกระดูก จึงทำให้กระดูกเปราะบาง และมีโอกาสหักหรือยุบตัวได้ง่าย ตั้งแต่วันนี้-30 เมษายน 2557 สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ ศูนย์ข้อมูลสุขภาพ โทร.0-2866-1333 ต่อ 2005-7