ไลฟ์สไตล์

'หลักสูตรศิลป์ผสานศาสตร์บูรณาการออกแบบมัณฑนศิลป์'

'หลักสูตรศิลป์ผสานศาสตร์บูรณาการออกแบบมัณฑนศิลป์'

22 มี.ค. 2557

'หลักสูตรศิลป์ผสานศาสตร์บูรณาการออกแบบมัณฑนศิลป์' : คอลัมน์ ดีไซน์นิวส์

 
 
          ศิลปะและการออกแบบ คือ รากฐานแห่งการพัฒนาประเทศด้านหนึ่งที่สำคัญ การสนับสนุนให้เกิดการสร้างสรรค์ผลงานในประเทศไทย เป็นเรื่องจำเป็นที่สุด การเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมของไทยด้วยศิลปะ และการออกแบบ ถือเป็นยุทธศาสตร์สำคัญของชาติ โดยศิลปะและการออกแบบเป็นเสมือนแกนสำคัญที่สามารถสอดคล้องกับทุกวิชาชีพไปแล้ว เช่น การนำศิลปะมาสร้างสรรค์ออกแบบแบรนด์ให้แข็งแกร่ง  การนำศิลปะมาฟื้นฟูออกแบบชุมชนให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี  การนำศิลปะมาประยุกต์สู่ผลิตภัณฑ์ชุมชนออกแบบให้เกิดผลผลิตที่มีคุณภาพเป็นเสน่ห์แห่งชุมชน
 
          การนำศิลปะมาพัฒนาการท่องเที่ยวด้วยการสร้างสรรค์สภาพแวดล้อมให้งดงามเหมาะสมกับวัฒนธรรมของชาติและสอดคล้องกับแหล่งท่องเที่ยวที่ไม่แปลกแยก 
 
          การนำศิลปะมาพัฒนาองค์กรให้มีประสิทธิภาพออกแบบอัตลักษณ์องค์กรให้แข็งแกร่งงดงาม มีความเป็นเอกภาพ การนำวิธีการสร้างสรรค์ไปประยุกต์ใช้กับทุกอาชีพทุกกิจกรรม สามารถสร้างเสริมมูลค่าเพิ่มให้กับทุกสิ่งในประเทศได้
 
          ศิลปะและการออกแบบจึงเป็นเสมือนเครื่องมือที่ประเทศสามารถนำหลักคิดไปผสมสาสตร์กับศาสตร์อื่นๆ ได้เป็นอย่างดี และคือทางออกแห่งการพัฒนาประเทศไปในอนาคตที่สำคัญ  การสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ มีความจำเป็นมากเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้น รองรับพฤติกรรมใหม่ของผู้บริโภค รองรับการสร้างสรรค์ลิขสิทธิ์และสิทธิบัตรทางปัญญาที่จะเป็นเครื่องมือสำคัญแห่งการค้าในอนาคต
 
          อีกทั้งการก่อเกิดศาสตร์ใหม่ต่อจากนี้จะเป็นศาสตร์แห่งการบูรณาการผสมศาสตร์หรือเรียกได้ว่า “ศิลป์ผสานศาสตร์” โดย คณะมัณฑนศิลป์ ได้เปิดหลักสูตรการรวมกันของศาสตร์ อันเกิดจาก 4 สาขาที่รวมกันให้เกิดพลังแห่งความคิดและการปฏิรูปการศึกษา คือ
1. การออกแบบภายใน
2. นิเทศศิลป์
3.ประยุกต์ศิลปศึกษา
4. เครื่องเคลือบดินเผา
 
โดยผู้เรียนสามารถเสนอศาสตร์ในแนวทางที่สามารถผสมศาสตร์เองได้ ทั้ง 4 สาขา ซึ่งสามารถ 1 ผสม 2 หรือ ผสมกันทั้ง 4 ศาสตร์ได้เลย เป็นความน่าสนใจในการพัฒนาวิชาชีพในอนาคต โดยการสมัครเข้าเรียนและสอบถามสาระของศาสตร์นี้ได้ที่ 0-2221-5874  และ www.graduate.su.ac.th 
 
.......................................
(หมายเหตุ 'หลักสูตรศิลป์ผสานศาสตร์บูรณาการออกแบบมัณฑนศิลป์' : คอลัมน์ ดีไซน์นิวส์)