
เด็กไทยเรียนหนักที่สุดในโลก
หากพิจารณาข้อมูลของยูเนสโก แสดงจำนวนชั่วโมงเรียนต่อปีของนักเรียนในระดับอายุ 9-13 ปี ในแต่ละประเทศ จะพบว่า
-เด็กไทยเรียนหนักเป็นอันดับ 2 ในระดับอายุ 9 ปี (1,080 ชั่วโมงต่อปี)
-เด็กไทยเรียนหนักเป็นอันดับ 1 ในระดับอายุ 10 ปี (1,200 ชั่วโมงต่อปี)
-เด็กไทยเรียนหนักเป็นอันดับ 1 ในระดับอายุ 11 ปี (1,200 ชั่วโมงต่อปี)
-เด็กไทยเรียนหนักเป็นอันดับ 5 ในระดับอายุ 12 ปี (1,167 ชั่วโมงต่อปี)
-เด็กไทยเรียนหนักเป็นอันดับ 8 ในระดับอายุ 13 ปี (1,167 ชั่วโมงต่อปี)
ตัวเลขของประเทศอื่นๆ ที่น่าสนใจมีดังนี้ (เด็กอายุ 11 ปี)
-อันดับ 2 อินโดนีเซีย 1,176 ชั่วโมงต่อปี
-อันดับ 3 ฟิลิปปินส์ 1,067 ชั่วโมงต่อปี
-อันดับ 4 อินเดีย 1,051 ชั่วโมงต่อปี
-อันดับ 11 มาเลเซีย 964 ชั่วโมงต่อปี
-อันดับ 19 เยอรมนี 862 ชั่วโมงต่อปี
-อันดับ 28 จีน 771 ชั่วโมงต่อปี
-อันดับ 30 ญี่ปุ่น 761 ชั่วโมงต่อปี
ตัวเลขเหล่านี้นับเฉพาะ "เวลาเรียนในโรงเรียน" เท่านั้น ยังไม่รวมเวลาเรียนพิเศษนอกเวลา
เป็นที่น่าสังเกตว่า เวลาที่ใช้ในการศึกษาภาคบังคับของเด็กไทยไม่ได้เปลี่ยนไปมากจากชั้นประถมไปสู่มัธยม ในขณะที่บางประเทศให้เวลากับชั้นมัธยมมากยิ่งขึ้น (ดังจะเห็นได้จากอันดับของไทยที่ลดลง) และยังน่าสังเกตด้วยว่า เยาวชนในกลุ่มประเทศพัฒนาแล้วล้วนมีชั่วโมงเรียนที่น้อยกว่าเยาวชนไทย หรือแม้กระทั่งเยาวชนในกลุ่มประเทศที่ “เชื่อกันว่า” เรียนหนักกว่าเรา เช่น จีน หรือ ญี่ปุ่น ก็ล้วนมีชั่วโมงเรียนน้อยกว่าเราเช่นกัน
แอดมิน เชื่อว่า “ผู้ใหญ่” ในวันนี้ ซึ่งล้วนเคยเป็นเด็กนักเรียนมาก่อน น่าจะทราบดีว่า คุณภาพของการศึกษาไม่ได้ขึ้นกับจำนวนชั่วโมงเรียนเพียงอย่างเดียว คำถามก็คือ เวลาเราพูดเรื่องการจัดการศึกษา หรือคุณภาพการศึกษาของเด็กไทยนั้น เราได้ดูหรือไม่ว่า เด็กไทยเรียนมากหรือน้อยเพียงใด และแค่ไหนถึงควรจะเป็นปริมาณที่เหมาะสม?
ประเทศไทยอยู่ตรงไหน ช่วงอายุ 10-11 ปี
ข้อมูลอ้างอิง
www.nationmaster.com/graph/edu_hou_of_ins_for_pup_age_11-hours-instruction-pupils-aged-11