
สามี(ตัวดี)ลูกเมียน้อย
ดิฉันมีเรื่องอยากทราบค่ะ คือว่า ได้อยู่กินกับสามีมาประมาณ 7 ปี มีลูกด้วยกัน 2 คน เราไม่ได้จดทะเบียนสมรสกัน สามีเคยชวนไปจดทะเบียน แต่ดิฉันเห็นว่าไม่จำเป็น เพราะสามีก็จดทะเบียนรับรองบุตรทั้งสองคน เหตุที่ดิฉันรู้สึกว่าไม่จำเป็นเพราะดิฉันทราบดีว่า สามียังไม
ดังนั้น ถ้าไปจดทะเบียนอีกก็จะกลายเป็นการจดทะเบียนซ้อน ดิฉันทราบมาว่า ถ้าจดทะเบียนซ้อนเมื่อมีการตรวจสอบถือว่าเป็นการโมฆะใช่ไหมคะ
ด้วยเหตุนี้ ดิฉันจึงคิดว่าไม่จำเป็นต้องจด เพราะสามีก็รับผิดชอบดูแลดิฉัน และลูก ๆ เป็นอย่างดี เพราะมีธุรกิจส่วนตัว เพียงแต่ภรรยาเก่าไม่หย่าให้ ก็เลยต้องอยู่กันไปอย่างนี้ โดยที่สามีเลิกกับภรรยาเก่ามาแล้ว 2 ปี ก่อนที่จะมาพบและอยู่กินกับดิฉัน
แต่เพื่อนสนิทดิฉันก็มาพูดให้ได้คิดว่า ถ้าดิฉันอยู่ในสภาพเช่นนี้ แล้ววันหนึ่งหากสามีเป็นอะไรไป ลูกๆ และดิฉันจะอยู่กันอย่างไร ดังนั้น ควรจะรู้สิทธิของตัวเองไว้ด้วย
ด้วยเหตุนี้ จึงอยากทราบว่า หากสามีเป็นอะไรไป ดิฉันและลูกจะมีปัญหาไหมคะ ลูกๆ ของดิฉันจะได้รับสิทธิต่างๆ ของพ่อหรือไม่ อย่างไร
จรรยา
ตอบ
ศูนย์ปรึกษากฎหมายชุมชน ผู้ช่วยศาสตราจารย์ยศศักดิ์ โกไศยกานนท์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต แนะนำเรื่องนี้ว่า จากข้อมูลที่ให้มา ลูกๆ ของคุณได้รับการจดทะเบียนเพื่อรับรองความเป็นพ่อของลูก ในทางกฎหมาย หมายถึง ได้มีการรับรองอย่างถูกต้องแล้ว เทียบเท่ากับว่า ลูกของคุณเป็นลูกที่ถูกตามกฎหมายของพ่อ
ดังนั้น จึงมีสิทธิในการรับมรดกทุกอย่างของพ่อเที่ยบเท่ากับลูกของเมียคนแรก
ส่วนสิทธิต่างๆ ของคุณนั้น ตราบใดที่สามียังมีทะเบียนสมรสกับภรรยาเก่าอยู่ สิทธิต่างๆ ในทางกฎหมายยังอยู่กับภรรยาเก่า เพราะยังถือว่า ภรรยาเก่าเป็นภรรยาที่ถูกต้องตามกฎหมายของสามีคุณอยู่ เธอมีสิทธิรับมรดกของสามี
แต่คุณไม่มีสิทธิในการรับมรดก หรือทรัพย์สินจากสินสมรส จะมีสิทธิเกี่ยวกับกรรมสิทธิ หรือทรัพย์สินร่วมก็ต่อเมื่อ หลังจากอยู่กินด้วยกันแล้ว คุณและสามีได้มีทรัพย์สินที่เป็นกรรมสิทธิ์ร่วมกัน หรือมีชื่อร่วมกัน ถ้าเป็นทรัพย์ในที่ไม่ได้มีชื่อร่วมกัน ก็ต้องไปพิสูจน์ว่า สิ่งของนั้นๆ เป็นสิ่งของที่หามาได้ หลังจากคุณและสามีอยู่กินด้วยกันแล้ว
แต่สำหรับลูกๆ ของคุณนั้น จะได้รับสิทธิตามกฎหมายในการเป็นผู้รับมรดก
ลุงแจ่ม