เด่นโซเชียล

หนูน้อยสุดซวย แค่ไปตลาดสดกับย่า อาจถูกตัดขาทิ้ง เพื่อรักษาชีวิต?

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

หนูน้อย 2 ขวบสุดซวย แค่ไปตลาดสดกับย่า อาจถูกตัดขาทิ้งเพื่อรักษาชีวิต? พ่อรู้สาเหตุแทบเข่าทรุด เตือนด็กๆ อยู่ให้ห่างอย่าสัมผัสสิ่งนี้

สำนักข่าวต่างประเทศ รายงานเรื่องราวสุดสะเทือนใจ คนเป็นพ่อแม่ผู้ปกครอง เด็กชายวัย 2 ขวบ ของครอบครัวตระกูลเฉิน ในมณฑลกวางตุ้งประเทศจีน มีอาการข้อเท้าบวมอย่างหนัก หลังจากที่ได้ไปเดินตลากสดกับคุณย่าของเขา นอกจากนี้ "หนูน้อย"  2 ขวบ ยังมีอาการเป็นไข้ ไข้ขึ้นสูง

 

 

เมื่อพ่อกลับมาบ้านเห็นลูกอาการหนัก จึงรีบพาลูกชายของเขาไปหาหมอ โดยหลังจากที่ทีมแพทย์ตรวจวินิจฉัย พบว่า "หนูน้อย" คนดังกล่าว ติดเชื้อ "แบคทีเรียกินเนื้อ" หรือ เชื้อแบคทีเรียวิบริโอ (Vibrio vulnificus) และต้องเข้ารับการรักษาใน ICU อย่างเร่งด่วนเนื่องจาก "หนูน้อย" อาการหนัก

คุณย่าที่พาหลานชายไปเดินตลาด เผยว่า ขณะที่ทั้งคู่กำลังเดินตลาด ย่าเห็นหลานยืนจ้องปลาอยู่นาน จึงตัดสินใจซื้อปลา เพื่อมาทำอาหารให้หลานกิน โดยขากลับย่าได้ให้หลานชายถือถุงปลานั้นกลับบ้าน โดยไม่คาดคิดว่าหลังจากนั้นหลานชายจะป่วยหนัก ไข้ขึ้นสูง ขาขวา เท้าฝั่งขวา มีอาการบวมและช้ำเป็นสีดำ ก่อนที่ทีมแพย์จะส่งตัวเข้า ICU อย่างเร่งด่วน

 

 

จากข้อสันนิษฐาน พ่อคาดว่าลูกชายของเขา อาจเผลอสัมผัสเข้ากับปลาที่ถูกแปรรูปแล้ว ทีทมีเชื้อแบคทีเรีย Vibrio vulnificus ขณะถือถุงปลากลับบ้าน ทำให้ติดเชื้อ "แบคทีเรียกินเนื้อ" ดังกล่าวขึ้น

 

จากข้อมูลของ ศูนย์คุ้มครองสุขภาพแห่งฮ่องกง "แบคทีเรียกินเนื้อ" หรือ เชื้อแบคทีเรียวิบริโอ (Vibrio vulnificus) เป็นแบคทีเรียที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติในน้ำทะเลอุ่น การติดเชื้ออาจเกิดขึ้นได้หากบาดแผลสัมผัสกับน้ำทะเล และหากมีการบริโภคอาหารทะเลดิบหรือปรุงไม่สุก ซึ่งมี แบคทีเรีย ชนิดนี้ปนเปื้อนอยู่  ปัจจุบันยังไม่มีหลักฐานว่าเชื้อ Vibrio vulnificus สามารถแพร่เชื้อจากคนสู่คนได้

 

 

การติดเชื้ออาจทำให้เกิดภาวะเนื้อตาย (necrotizing fasciitis) หรือ เรียกอีกอย่างว่า โรคเนื้อเน่า Necrotizing fasciitis เป็นการติดเชื้อแบคทีเรียที่เนื้อเยื้อใต้ผิวหนัง อาทิ ไขมันใต้ผิวหนัง ผังผืดและกล้ามเนื้อ จะมีความรุนแรงมาก อันตรายถึงชีวิต หากรักษาไม่ทัน เพราะเชื้อจะทำลายเนื้อเยื่อใต้ผิวหนัง ในฮ่องกง อัตราการตายของโรคเนื้อเน่า ที่เกิดจากเชื้อ Vibrio vulnificus อยู่ที่ประมาณ 30%

 

การติดเชื้อ อาจทำให้เกิดแผลเปื่อย เนื้อตายของเนื้อเยื่อ ภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด กระเพาะและลำไส้อักเสบ หากผู้ป่วยมีโรคตับ โรคพิษสุราเรื้อรัง เบาหวาน โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ ธาลัสซีเมีย ไตวายเรื้อรัง มะเร็งต่อมน้ำเหลือง และภาวะเม็ดเลือดแดงตก ทางพันธุกรรม อาการต่างๆ อาจทวีความรุนแรงมากขึ้น

 

 

วิธีการรักษาโรค "แบคทีเรียกินเนื้อ" 

 

รีบพบแพทย์โดยด่วนเพื่อวินิจฉัยให้เร็ว และผ่าตัดเอาเนื้อที่ตายหรือเนื้อที่ติดเชื้อออกให้มากที่สุด ผ่าตัดเพื่อระบายเอาหนองออก และตัดเนื้อเยื่อที่ตาย หากติดเชื้อรุนแรงอาจจำเป็นต้องตัดอวัยวะนั้นออก

 

 

 

 

 

การป้องกันโรค "แบคทีเรียกินเนื้อ"

 

  • การดูแลแผล การดูแลแผลจะเป็นวิธีการที่ดีที่สุดในการป้องกันโรคเนื้อเน่า
  • เมื่อเกิดแผล รีบทำความสะอาดแผลด้วยน้ำสะอาดทันที
  • ทำความสาดแผลทุกวัน และใช้อุปกรณ์ทำแผลที่สะอาด
  • ระหว่างที่มีแผลควรหลีกเลี่ยงการใช้สระน้ำ และอ่างอาบน้ำร่วมกัน
  • ล้างมือทุกครั้งก่อนแหละหลังสัมผัสแผล
  • บริเวณที่ติดเชื้อได้ง่าย
  • โรคเนื้อเน่าเกิดกับส่วนใดๆ ของร่างกายก็ได้ แต่พบบ่อยที่แขน / ขา บริเวณฝีเย็บและลำตัว
  • มักจะมีประวัติได้รับอุบัติเหตุ เช่น ถูกก้างปลาตำ เป็นต้น

 

 

ข้อมูลอ้างอิงจาก : HK01,โรงพยาบาลวิภาวดี

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ