สรุปดราม่า 'พระเกี้ยว' 3 วันไม่จบ อัญเชิญด้วยรถกอล์ฟ วิจารณ์ขรมหลู่เกียรติ?
KEY
POINTS
- ดราม่าพระเกี้ยวในงานฟุตบอลจุฬา-ธรรมศาสตร์ หลังภาพเผยแพร่ใช้กอล์ฟอัญเชิญ ถูกวิจารณ์สนั่นทั้งเห็นด้วยและไม่เห็นด้วย
- โดยทางจุฬาฯ ได้ออกมาชี้แจงถึงการจัดกิจกรรม และคอนเซปต์ในการอัญเชิญ "พระเกี้ยว" ในครั้งนี้ ว่ามีการวางคอนเซปต์ภายใต้ธีม Unity to Sustainability ย้ำชัดไม่เคยคิดลบลู่
- ทามกลางกระแสดราม่า อ.เจษฏ์ แจงว่าครั้งนี้ไม่ใช่งานฟุตบอลประเพณีแต่เป็น "งานฟุตบอลสานสัมพันธ์จุฬาฯ ธรรมศาสตร์ ครั้งที่ 1"
ดราม่างานฟุตบอลประเพณีจุฬา-ธรรมศาตร์ ในวันที่ 31 มี.ค. 2567 ที่ผ่านามาดูเหมือนจะไม่จบง่ายๆ โดยเฉพาะในส่วนการของอัญเชิญ "พระเกี้ยว" พิธัอันศักดิ์สิทธิ์ที่สืบทอดกันมาอย่างยาวนาน แต่ครั้งนี้กลับอัญเชิญด้วยรถกลอ์ฟที่เป็นรถ EV แทนการอัญเชิญด้วยเสรี่ยง เพราะหลังจากที่ภาพการอัญเชิญ "พระเกี้ยว" ทำให้สร้างความความไม่พอให้แก่ศิษย์เก่าและศิษย์ใหม่บางคนมีอาการไม่ค่อยพอใจ และมีการออกมาโพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กทั้งเห็นด้วยและไม่เห็นด้วย
สรุป ดร่ามาพระเกี้ยว ที่เกิดขึ้นมาต่อเนื่องนานกว่า 3 วัน และยังไม่สามารถาตรงกลางระหว่างคนที่เห็นด้วยและคนที่ไม่เห็นด้วยกับการใช้รถกอล์ฟอัญเชิญ "พระเกี้ยว" ในครั้งนี้ วันนี้ คมชัดลึกออนไลน์ สรุป ดราม่าพระเกี้ยว มาให้ดังนี้
เริ่มต้นจากเมื่อวันที่ 31 มี.ค. ที่ผ่านมาพิธีการอัญเชิญ "พระเกี้ยว" ได้เปลี่ยนรูปแบบไปจากเดิมที่เคยใช้เสรี่ยงและต่องมีคนแบกหาม เป็นการใช้รถกอล์ฟแทน มีการคาดการณ์ว่าการเปลี่ยนรูปแบบการอัญเชิญ "พระเกี้ยว" ในครั้งนี้ที่หันมาใช้รถแทนคนแบกเสลี่ยงเพราะมีกระแสต่อต้าน Beauty Privilage และการหาคนแบกเสลี่ยงปทำได้ยากมากขึ้น เพราะอากาศร้อนจัด
เมื่อภาพการอัญเชิญ "พระเกี้ยว" ถูกเผยแพร่ออกไปสู่สายตาสาธารณะก็กลายเป็นกระแสวิจารณ์แรงมาก ถึงรูปแบบการอัญเชิญพระเกี้ยวหลายคนมอว่าการอัญเชิญในลักษณะนี้ไม่เหมาะสม ถือเป็นสิ่งที่ไม่เหมาะสม ไม่สง่างาม และทำให้ประเพณีอันทรงคุณค่าของสถาบันถดถอย โดยคนที่ออกมาวิจาณ์นั้นมีทั้งศิษย์เก่า อาจารย์ และคนที่ไม่ได้มีความเกี่ยวข้อง
- วิจารณ์แรงไม่เหมาะสมทำแบบนี้คืน "พระเกี้ยว" สู่สถาบันพระมหากษัตริย์
สำหรับคำวิจารณ์ที่เกิดขึ้นนั้นจากมุ่มผู้ที่ไม่เห็นด้วยในการใช้รถกอล์ฟเชิญ "พระเกี้ยว" ในครั้งนี้ไม่ว่าจะเป็น หม่อมเจ้าจุลเจิม ยุคล, ดร.อานนท์ ศักดิ์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (NIDA),นันทิวัฒน์ สามารถ อดีตรองผู้อำนวยการสำนักข่าวกรองแห่งชาติ และ โบว์ ณัฏฐา มหัทธนา อดีตนักเคลื่อนไหวทางการเมือง คนเหล่านี้มีความเห็นไปในทางเดียวกันว่าไม่เหมาะสมด้วยประการทั้งปวง เพราะ "พระเกี้ยว" ถือว่าเป็นของสูงศักดิ์ ที่ได้รับการพระราชทานมาจากกษัตย์ การทำแบบนี้ถือว่าเป็นการลู่เกียรติอย่างมาก บางคนวิจารณ์แรงถึงขั้นให้คืนตรา และคืนที่ดินพระราชทานคืนด้วย
- สยบ ดราม่าพระเกี้ยว แจงคอนเซปต์ งานบอลที่จัดขึ้นไปใช้งานบอลประเพณีจุฬา-ธรรมศาสตร์
หลังความปั่นป่วนและดราม่า "พระเกี้ยว" บนโลกออนไลน์ที่เกิดขึ้นต่อเนื่องมาหลายวัน และเพื่อการสยบกระแสวิจาร์ดังกล่าว จุฬาฯ ได้ออกมาชี้แจงคนเซปต์ของงานครั้งนี้่า เหล่านิสิตได้ตั้งใจเป็นอย่างยิ่งในการคัดสรรสัญลักษณ์ ตัวแทนแห่งองค์ความรู้ของศาสตร์แขนงต่างๆ มารายล้อมในขบวนอัญเชิญพระเกี้ยว รวมไปถึง รศ.ดร.เจษฎา อาจารย์ประจำภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาฯ ก็ได้ออกมาโพสต์ข้อความถึงเพื่อสยบ ดราม่าพระเกี้ยว เช่นกัน ได้ออกมาชี้แจงว่า กิจกรรมในครั้งนี้ไม่ใช้ ฟุตบอลประเพณีจุฬา-ธรมศาสตร์ มันมีชื่อว่า “งานฟุตบอลสานสัมพันธ์จุฬาฯ ธรรมศาสตร์ ครั้งที่ 1” ส่วนงานฟุตบอลประเพณีครั้งที่ 75 ยังไม่ได้จัดขึ้น โดยงานฟุตบอลประเพณีจัดครั้งสุดท้ายเมื่อปี 2563 และทิ้งช่วงมานานมากแล้ว
โดยผู้ที่กังวลว่างานฟุตบอลประเพณีจุฬาฯ ธรรมศาสตร์ จะดูด้อยลง ลดความสวยงามอลังการลงจากเดิม ก็คงจะต้องรอดูในปีหน้าๆ ถัดไป ว่างานฟุตบอลประเพณีครั้งที่ 75 นั้น จะจัดออกมาในรูปแบบไหน ? จะสวยงามยิ่งใหญ่เท่าสมัยปี 2563 หรือเปล่า ? หรือจะเริ่มปรับเปลี่ยนรูปแบบใหม่ ไปตามสมัยนิยม ที่ลดเรื่องพิธีรีตอง และเน้นคุณค่าของตัวงาน ตามวัตถุประสงค์มากขึ้น
- "พระเกี้ยว" คืออะไรทำไมต้องอัญเชิญอย่างสมพระเกียรติ
"พระเกี้ยว"เป็นสัญลักษณ์ที่ชาวจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยภูมิใจ สืบเนื่องจากชื่อของมหาวิทยาลัยได้รับพระราชทานจากพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เพื่อเป็นพระบรมราชานุสาวรีย์ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ผู้พระราชทานกำเนิดมหาวิทยาลัยนี้ ต่อมาในปี พ.ศ. 2477 ได้มีการริเริ่มประเพณีฟุตบอลสานสัมพันธ์ระหว่าง จุฬาฯ – ธรรมศาสตร์ และในปี 2507 ทางจุฬาฯ จะเริ่มใส่เอกลักษณ์ลงไปมากขึ้น ด้วยการทำพิธีอัญเชิญพระเกี้ยว ในขบวนพาเหรด จนกลายเป็นไฮไลท์เด่นของงานมาจนถึงปัจจุบัน
ดราม่าพระเกี้ยว ที่ถูกพูดถึงมานานกว่า 3 วัน จะจบลงอย่างไร ท้ายที่สุดความเหมาะสมในการอัญเชิญพระเกี้ยวครั้งนี้จะอยู่ที่ใดกันแน่