เด่นโซเชียล

เปิดภาพ 'ขยะอวกาศ' หนักครึ่งตัน เคลื่อนผ่านน่านฟ้าไทย เตรียมตกสู่พื้นโลก

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

ใกล้เข้ามาทุกนาที เปิดภาพ 'ขยะอวกาศ' ขนาดกว่าครึ่งตัน เคลื่อนผ่านน่านฟ้าไทยคืนนี้ ลูกไฟ สว่างไสวคล้าย 'ดาวตก' จังหวัดไหนเห็นชัดสุด เช็กที่นี่

สมาคมดาราศาสตร์ไทย เปิดเผยภาพ ขยะอวกาศ ที่มีขนาดกว่าครึ่งตัน ซึ่งกำลังจะตกลงสู่พื้นโลก สามารถรับชมได้ช่วงกลางดึกของคืนนี้ ลูกไฟ จะสว่างไสวคล้าย "ดาวตก" เคลื่อนไปช้าๆ จากฟ้าตะวันตกไปยังฟ้าตะวันออก

NASA

8 มี.ค. 2567 สมาคมดาราศาสตร์ไทย เปิดเผยภาพ ขยะอวกาศ โดยขยะอวกาศดังกล่าว มีรูปร่างเป็นทรงสี่เหลี่ยมคล้ายกล่อง เป็นสีขาว คาดว่าน้ำหนักกว่าครึ่งตัน หรือ ราว 500 กิโลกรัม จากสถานีอวกาศนานาชาติ (International Space Station : ISS) ที่กำลังตกลงมายังพื้นโลก

 

สามารถสังเกตเห็นได้ ในช่วงเที่ยงคืนของวันนี้ 8 มี.ค.2567 ช่วงเวลาประมาณ 00:00-00:30 น. สมาคมดาราศาสตร์ไทย เผยว่า หากมี ลูกไฟ สว่างไสวคล้าย "ดาวตก" เคลื่อนไปช้าๆ จากฟ้าตะวันตกไปยังฟ้าตะวันออก  ให้สันนิษฐาน ว่าเป็นขยะอวกาศจากสถานีอวกาศนานาชาติ ทั้งนี้ สมาคมดาราศาสตร์ไทยจะรายงานความคืบหน้าล่าสุด ให้ทราบตลอดทั้งวัน

 

ขณะที่ วิถีโคจรของ ขยะอวกาศ (ไม่ใช่จุดตก) ขนาดครึ่งตัน จากสถานีอวกาศนานาชาตินี้  จะเคลื่อนผ่านน่านฟ้าไทยคืนนี้ เวลาประมาณ  00:04-00:13 น. เส้นทางเคลื่อนผ่าน จ.กาจนบุรี จ.ราชบุรี และเคลื่อนผ่านอ่าวไทย

  1. สมาคมดาราศาสตร์ไทย

 

ขยะอวกาศ

คาดว่า ขยะอวกาศ ดังกล่าว จะเคลื่อนเข้าสู่ชั้นบรรยากาศโลก ทางตอนบนของทวีปอเมริกาเหนือ รายงานของศูนย์การบินและอวกาศเยอรมัน (DLR) เผยว่า ระหว่างที่ ขยะอวกาศ เคลื่อนผ่านชั้นบรรยากาศโลก จะเกิดการเสียดสี เผาไหม้  ทำให้คนบนโลกมองเห็นเป็นลำแสงสว่างบนท้องฟ้า คล้าย "ดาวตก" จากนั้นจะตกลงสู่มหาสมุทร ขณะนี้ทางรัฐบาลเยอรมัน ได้ออกประกาศเตือนภัยไว้แล้วภายในประเทศไว้ล่วงหน้า

 

ก่อนหน้านี้ ชาวเน็ตทั่วประเทศไทย รายงานพบเห็นลูกไฟ "ดาวตก" มาแล้ว 2 ครั้ง

  • ครั้งแรก ครั้งที่ 1 มีรายงานการพบเห็น "ดาวตก" เมื่อวันที่ 4 มี.ค. 2567 เกิดขึ้นช่วงเวลาประมาณ 21.15 น.
  • ครั้งล่าสุด ครั้งที่ 2 มีรายงานการพบเห็น "ดาวตก" เมื่อวันที่ 6 มี.ค.2567 เกิดขึ้นช่วงเวลาประมาณ 19.13 น.

 

นอกจากนี้ สมาคมดาราศาสตร์ไทย ยังได้โพสต์ข้อมูลว่า ช่วงนี้อาจเข้าสู่ "ฤดูลูกไฟ" โดย นักดาราศาสตร์ที่ศึกษาเกี่ยวกับสถิติของการเกิด ลูกไฟ พบว่า ในช่วงกลางเดือนกุมภาพันธ์ถึงกลางเดือนเมษายนของทุกปี เป็นช่วงที่อัตราการพบเห็น ลูกไฟ ในเวลาหัวค่ำสำหรับผู้สังเกตในซีกโลกเหนือเพิ่มสูงขึ้นกว่าช่วงอื่นราวร้อยละ 10-30 เรียกช่วงดังกล่าวว่า "ฤดูลูกไฟ" และไม่เพียงแต่ลูกไฟเท่านั้น อัตราการพบ อุกกาบาต ตกในซีกโลกเหนือก็เพิ่มขึ้นด้วยในช่วงเดียวกัน

 

ภาพ : NASA ,Satflare

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ