เด่นโซเชียล

สรุปความเลวร้ายคดี 'ป้าบัวผัน' เดือดยกเลิกกฎหมายเยาวชน คนผิดต้องรับโทษ

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

สรุปความเลวร้ายคดี 'ป้าบัวผัน' ฝีมือแก็ง โจ๋ลูกตำรวจ ชาวเน็ตสุดทนกฎหมายเอาผิดสุดอ่อน สังคมขยี้ยกเลิกกฎหมายเยาวชนคนทำผิดต้องได้รับโทษอย่าให้ท้ายด้วยคำว่ารู้เท่าไม่ถึงการณ์

คดีการเสียชีวิตของ "ป้าบัวผัน" หรือ ป้ากบ กลายเป็นคดีสะเทือนอารมณ์ของสังคมไทยที่ก่อเหตุโดยเยาวชนอีกหนึ่งคดี ที่ถูกสังคมหยิบเอามาพูดถึงถึงบทลงโทษสำหรับเยาวชนที่ก่อคดีรุนแรงจนทำให้เหยื่อเสียชีวิต แต่เยาวชนที่กระทำความผิดกับลอยตัวและได้รับโทษเพียงน้อยนิด เพราะกฎหมายยังไม่เข้มข้นมากพอที่จะเอา ผู้กระทำความผิดกลับมาลงโทษให้ได้ เพราะกฎหมายที่อ่อนจนเกิดไป จนกลายมาเป็นเรื่องร้อนในโลกออนไลน์ ที่มีหลายคนออกมาร่วมกันติดแฮชแท็ก #ยกเลิกกฎหมายเยาวชน บนแพลตฟอร์ม X จำนวนมาก เพื่อทวงคืนความยุติธรรมให้ "ป้าบัวผัน" และเรียกร้องให้เกิดการแก้กฎหมายเพื่อเอาผิดเยาวชนที่ก่อความรุนแรง ทำร้ายคนอื่นจนถึงแก่ชีวิต 

สำหรับคดีการเสียชีวิตของ "ป้าบัวผัน"  คมชัดลึก สรุปเรื่องราว พฤติกรรมของ  5 วัยรุ่นลูกตำรวจ ที่ก่อเหตุอุกอาจแบบไม่เกรงกลัวกฎหมาย  

 

  • คดี 5 วัยรุ่นลูกตำรวจทำร้าย "ป้าบัวผัน" จนเสียชีวิต เริ่มต้นจากที่มีคนพบศพหญิงวัย 47 ปี รายหนึ่งถูกทิ้งในสระน้ำ มีร่องรอยถูกของแข็งตีที่ศีษะ มีการพิสูจน์ตัวตนจนทราบว่าหญิงคนดังกล่างคือ  นางบัวผัน  ต่อมาตำรวจ สภ.อรัญประเทศได้จับตัวสามีของ "ป้าบัวผัน" หรือ ป้ากบ จับตัวทำแผน และขังสามีของ "ป้าบัวผัน" นานว่า 3 วัน 

 

ขอบคุณภาพจากเพจกรรมกรข่าว

 

 

  • การตายของ "ป้าบัวผัน" ดูผิดปกติและไม่น่าจะเป็นฝีมือของสามี เพราะระหว่างทำแผน และให้การมีหลายข้อที่ไม่ตรงกัน และให้การวกวน เพราะยังอยู่ในขณะมึนเมา จากหลังนักข่าวได้ลงพื้นที่หากล้องวงจนปิดว่าสามาของ "ป้าบัวผัน" เป็นผู้กระทำผู้ลงมือฆ่าป้าจริงหรือไม่ จนได้ภาพจากกล้องมาแล้วพบว่า คนที่ลงมือทำร้ายร่างกาย "ป้าบัวผัน" กลับเป็นแก็งเยาวชน 5 คน เป็นเยาวชนอายุตั้งแต่ 13-16 ปี ที่ก่อเหตุในช่วงกลางดึก ด้วยการเข้าไปแย่ป้าให้โมโห เตะเสยคาง อุ้มขึ้นมอเตอร์ไซค์  รุมทำร้าย จับกดน้ำ จน "ป้าบัวผัน" เสียชีวิต  
  • ประเด็นที่ทำให้สังคมเกิดข้อสงสัย และมีการตั้งคำถามมากมาย คือ หลักฐานที่เป็นกล้องวงจรปิดไม่ถูกนำมาใช้ประกอบคดี  ตำรวจจับสามีของ "ป้าบัวผัน" แทนที่สืบสวนอย่างละเอียด และดำเนินคดีกับ 5 วัยรุ่นลูกตำรวจ นอกจากนี้ยังมีการวิพากษ์ วิจารณ์ ไปถึงข้อกฎหมายเอาผิดเยาวชนที่อายุไม่ถึง 18 ปี ว่าอ่อนแอเกินไป และมีช่องว่างที่ปล่อยให้เด็กเยาวชนไร้จิตสำนึกบางคนกระทำความผิด ทำร้ายผู้อื่นด้วยความโหดเหี้ยมและสุดท้ายเด็กเหล่านี้กลับไม่ถูกลงโทษอย่างสาสม ส่งผลให้สังคมกระหึ่มและออกมาร้องเรียนให้แก่ไขกฎหมายเยาวชนใหม่ ให้สอดคล้องกับยุคสมัย และพฤติกรรมของเด็ก เพราะหลายต่อหลายครั้งที่ประเทศไทยเกิดเหตุคดีสะเทือนขวัญที่ผู้ก่อเหตุเป็นเพียงเยาวชนเท่านั้นไม่ว่าจะเป็นคดีกราดยิงในห้างสรรสินค้าสยามพารากอน จนมาถึงคดีของ "ป้าบัวผัน"

 

ขอบคุณภาพจากเพจกรรมกรข่าว

 

 

  • ชาวเน็ตแสดงความเห็นเดือดบนโลกออนไลน์ พร้อมกับติด #ยกเลิกกฎหมายเยาวชน เพื่อทวงคืนความยุติธรรมให้ "ป้าบัวผัน" และกรณีอื่นๆ ที่เจ็บตัว เสียชีวิตและพฤติกรรมของเยาวชน ในโลกออนไลน์แสดงความเห็นว่าที่ผ่านมามีฆาตกรอายุน้อยลงเรื่อยๆ เพราะกฎหมายไทยยังให้ท้ายด้วยคำว่าเยาวชนรู้เท่าไม่ถึงการ และไม่ได้รับโทษจากการกระทำ  ฆาตกรเด็ก คือ มะเร็ง มีแค่คนโง่ที่เก็บมะเร็งไว้ให้ฆ่าอวัยวะส่วนที่ดี  

 

 

  • สำหรับกฎหมายเอาผิดเยาวชนที่กระทำความผิดก่อเหตุนั้นหากพบว่าเยาวชนกระทำความผิด ก่อความรุนแรง จะมีความผิดตาม พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่ 29) พ.ศ.2565 ที่มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 8 พ.ค.2565 บัญญัติให้แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา 2 มาตรา ได้แก่ มาตรา 73 วรรคหนึ่ง และมาตรา 74

มาตรา 73 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า "เด็กอายุไม่เกิน 12 ปี กระทำการอันกฎหมายบัญญัติเป็นความผิด เด็กนั้นไม่ต้องรับโทษ"
(มาตรา 73 วรรคหนึ่ง ใหม่ เป็นการแก้ไขเกณฑ์อายุเด็ก จากเดิมบัญญัติให้เด็กอายุไม่เกิน 10 ปี กระทำผิดไม่ต้องรับโทษ เป็นอายุไม่เกิน 12 ปี)

มาตรา 74 บัญญัติว่า "เด็กอายุกว่า 12 ปีแต่ยังไม่เกิน 15 ปี กระทำการอันกฎหมายบัญญัติเป็นความผิด เด็กนั้นไม่ต้องรับโทษ แต่ให้ศาลมีอำ

1.ว่ากล่าวตักเตือนเด็กนั้นแล้วปล่อยตัวไป และถ้าศาลเห็นสมควรจะเรียกบิดา มารดา ผู้ปกครอง หรือบุคคลที่เด็กนั้นอาศัยอยู่มาตักเตือนด้วยก็ได้

2.ถ้าศาลเห็นว่าบิดา มารดา หรือผู้ปกครองสามารถดูแลเด็กนั้นได้ ศาลจะมีคำสั่งให้มอบตัวเด็กนั้นให้แก่บิดา มารดา หรือผู้ปกครองไป โดยวางข้อกำหนดให้บิดา มารดา หรือผู้ปกครองระวังเด็กนั้น ไม่ให้ก่อเหตุร้ายตลอดเวลาที่ศาลกำหนด ซึ่งต้องไม่เกิน 3 ปี และกำหนดจำนวนเงินตามที่เห็นสมควร ซึ่งบิดา มารดา หรือผู้ปกครองจะต้องชำระต่อศาลไม่เกินครั้งละ 10,000 บาทในเมื่อเด็กนั้นก่อเหตุร้ายขึ้น 


3. ส่งตัวเด็กนั้นไปยังสถานศึกษา หรือสถานฝึกและอบรม หรือสถานแนะนำทางจิต หรือสถานที่ซึ่งจัดตั้งขึ้น เพื่อฝึกและอบรมเด็ก ตลอดระยะเวลาที่ศาลกำหนด แต่ไม่ให้เกินกว่าวันที่เด็กนั้นจะมีอายุครบ 18 ปี ในกรณีที่ศาลมอบตัวเด็กให้แก่บิดา มารดา ผู้ปกครอง หรือบุคคลที่เด็กนั้นอาศัยอยู่ด้วย ศาลจะกำหนดเงื่อนไขเพื่อคุมความประพฤติเด็ก โดยแต่งตั้งพนักงานคุมประพฤติหรือพนักงานอื่นใดเพื่อคุมความประพฤติเด็กนั้น หากไม่มีบิดา มารดา หรือผู้ปกครอง ศาลจะมีคำสั่งให้มอบตัวเด็กนั้น ให้อยู่กับบุคคลหรือองค์การที่ศาลเห็นสมควร เพื่อดูแล อบรม และสั่งสอนตามระยะเวลาที่ศาลกำหนดก็ได้ ในเมื่อบุคคลหรือองค์การนั้นยินยอม 

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ