เด่นโซเชียล

มีดุ้ง 'น้ำอัดลม' แบรนด์ดัง พบสารก่อมะเร็ง ผู้เชี่ยวชาญเผยที่แท้เป็นแบบนี้

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

มีดุ้ง 'น้ำอัดลม' แบรนด์ดัง พบสารก่อมะเร็ง กินมากเสี่ยงดับ โซเชียลตกใจพากันเลิกกิน ผู้เชี่ยวชาญเผยที่แท้เป็นแบบนี้

"น้ำอัดลม" เป็นสิ่งที่ผู้คนนิยมบริโภคอย่างมาก ทั้งกินตอนเวลาว่างหรือกินคู่กับมื้ออาหาร ล่าสุดในสื่อออนไลน์ปรากฏประเด็นเรื่องการดื่ม "น้ำอัดลม" เสี่ยงเป็นโรคมะเร็ง หลากหลายชนิด เช่น โรคมะเร็งมดลูก มะเร็งต่อมลูกหมาก มะเร็งเต้านม และมะเร็งตับอ่อน

 

 

 

 

โดยในโซเชียลมีการแชร์ภาพ สลากน้ำอัดลมของแบรนด์ดัง และระบุว่ามีสาร E-150d พร้อมกับอ้างว่าสารนี้เป็นสารก่อมะเร็ง ซึ่งมีการตรวจสอบโดย IARC เป็นหน่วยงานระหว่างประเทศเพื่อวิจัยมะเร็งขององค์การอนามัยโลก เรื่องดังกล่าวสร้างความตกใจให้ผู้คนเป็นจำนวนมาก หลายคนถึงกับหยุดกิน "น้ำอัดลม"

 

ล่าสุด อ.เจษฎา เด่นดวงบริพันธุ์ ได้โพสต์ถึงผ่านเฟซบุ๊กว่า เรื่องราวดังกล่าวไม่เป็นความจริง IARC ไม่ได้จัดให้สาร E-150d ซึ่งเป็นสีผสมอาหารที่ทำจากคาราเมล (คือเอาน้ำตาลมาคั่ว ให้เกิดสีน้ำตาลไหม้) เป็นสารที่อาจจะก่อให้เกิดโรคมะเร็งในมนุษย์

 

น้ำอัดลม

 

ไขข้อข้องใจ 'กินเผ็ด' แล้ว ดื่ม 'น้ำอัดลม' ช่วยได้จริงหรือ?

 

 

สาร 4-MEI อาจจะเกิดขึ้นในกระบวนการผลิตสีผสมอาหารคาราเมล กลุ่มที่ 3 (E-150c) และกลุ่มที่ 4 (E-150d) ระหว่างการให้ความร้อนกับน้ำตาลกับกลุ่มไนโตรเจน เพื่อให้เริ่มเกิดกระบวนการสร้างคาราเมลขึ้น

 

หน่วยงานทางอาหารของยุโรป มีการกำหนดให้ระดับของสาร 4-MEI ในสีผสมอาหารคาราเมล หมายเลข E150c และ E150d ต้องมีไม่เกินกำหนด คือ ไม่เกิน 200 และ 250 มิลลิกรัม ต่อหนึ่งกิโลกรัมของสีคาราเมล E150c และ E 150d ตามลำดับ (ที่ระดับความเข้มสี เท่ากับ 0.1)

 

สำหรับประเทศไทย มีการอนุญาตให้ใช้สีผสมอาหารและเครื่องดื่ม "น้ำอัดลม" กลุ่มสีคาราเมล กันอยู่แล้ว โดยจัดเป็น "สีธรรมชาติ" ตัวอย่างเช่น ในอาหารกลุ่มขนมขบเคี้ยวนั้น อนุญาตให้ใช้สีคาราเมล รหัส INS-150d หรือสีคาราเมลกลุ่มที่ 4 ซัลไฟต์แอมโมเนียคาราเมล โดยให้มีปริมาณสูงสุดที่อนุญาตให้เจือปนในอาหารได้ถึง 5000 มิลลิกรัม/กิโลกรัมอาหาร และรหัส INS-150c หรือสีคาราเมลกลุ่มที่ 3 แอมโมเนียคาราเมล ให้มีปริมาณสูงสุดที่อนุญาตให้เจือปนในอาหารได้ถึง 5000 มิลลิกรัม/กิโลกรัมอาหาร เช่นกัน

 

น้ำอัดลม

 

 

 

 

 

 

 

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ