เด่นโซเชียล

'หมอ' เปิดอาการ 'คนไข้' ไถ Tiktok ทั้งวันทั้งคืน จนเป็น โรคจิตแฝง

07 พ.ย. 2566

'หมอ' เปิดเคส 'คนไข้' ไถ Tiktok เล่น Reel ทั้งวันทั้งคืน นาน 4 เดือน จนเกิดอาการหลอน เข้าข่าย โรคจิตแฝง เช็ก 5 ความเสี่ยง

ในปัจจุบัน ปฏิเสธไม่ได้ว่า โซเชียลมีเดีย มีอิทธิพลต่อชีวิตประจำวัน แทบจะทุกแพลตฟอร์ม ไม่ว่าจะเป็น facebook, อินสตาแกรม หรือ Tiktok หลายคนแยกแยะออก แต่หลายคนเสพติด จนถึงขั้นมีปัญหาทางสมอง โดยเฉพาะล่าสุด หมอสมอง เจอเคสประหลาด ที่ “คนไข้” หญิง รายหนึ่ง เล่น Tiktok จนเข้าข่ายเป็นโรคจิตแฝง

เล่น Tiktok เป็นจิตเภท

ผศ.นพ.สุรัตน์ ตันประเวช แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านสมองและระบบประสาท บอกเล่าเรื่องราว หลังจากเจอเคสคนไข้ รายหนึ่ง เป็นผู้หญิง อายุประมาณ 40 ปี เล่น Tiktok มานาน 4 เดือน จนขั้นติดงอมแงม โดยจะโพสต์ทุกวัน ดู video วนไปมา กดทั้ง Like ทั้ง Share โดยเธอบอกว่า มันสนุก รู้ใจ หัวเราะไป หลุดโลกความจริง จนถึงขั้นผลิตคอนเทนต์เอง วิ่งตาม Like Share คือมีคน กด Like Share Comment จะมีความสุข โดปามีนหลั่ง จนต่อมาเห็นภาพหลอน

 

 

หมอสุรัตน์ เล่าว่า คนไข้หญิง รายนี้ หนักถึงขนาดในช่วง 5 วัน ก่อนนำตัวส่งโรงพยาบาล มีคนกระซิบให้ทำ video อย่างนั้น อย่างนี้ บอกเทคนิค เริ่มหลอน เห็นคนคุยด้วย มากระซิบด้วย เห็นไหม มีผู้ชาย ใส่ชุดดำมาตาม จนญาติต้องนำตัวมาส่งโรงพยาบาล ซึ่งเรื่องแบบนี้ หมอสุรัตน์บอกว่า ไม่ใช่เรื่องที่ไม่เคยเจอ เพราะเดือนก่อนก็เจอ ป้าคนหนึ่ง นั่งเล่น Tiktok วนไป จนหลุดไปอยู่ใน Tiktok วนหาทางออกไม่เจอ พอมาในชีวิตจริง ก็มีชีวิตหลอน Tiktok หลุดออกมาอยู่ด้วย มีคนบอกให้ทำนั่นนี่

เล่น Tiktok เป็นโรคจิตเภท

 Video วน Loop และ ความหลอน

 

 

หมอสุรัตน์ บอกว่า คนปกติทั่วไป จะไม่ได้เป็นโรคนี้กันง่ายๆ เพียงแค่เล่นโซเชียล เพราะจากที่หมอทดลอง เล่น Tiktok วนๆ ไป ไถเรื่อยๆ เป็นวัน ก็รู้สึกสนุก หัวเราะ แต่ก็ไม่เห็นเป็นไรเลย แต่คนที่มีโรคจิตแฝง หรือ ภาวะทางอารมณ์ไม่มั่นคง อาจไม่ใช่

 

 

คนเป็นจิตเภท Schizophrenia บางทีแยกโรคจริง โรคไม่จริง ไม่ออก และมักเสพคอนเทนต์ หลุดจากความจริง ทำให้อัลกอรืทึม จับสิ คราวนี้ feed ใส่หนักๆ หลอนหนักไปอีก

 

 

Tammy Qiu จาก Stanford University Human-Centered Artificial Intelligence ได้กล่าวถึงความเห็นของนักจิตวิทยา ที่มีต่อ social media ที่มีอัลกอริทึมสำหรับ feed ให้คนติดว่า

 

 

“การออกแบบ video หรือ content และการไถฟีด แบบไม่สิ้นสุดแบบนี้ เป็นออกแบบ แบบเหยื่อล่อสมอง หรือ ที่เรียกว่า Hook นั่นเอง โดยการออกแบบหวังเอาชนะการยับยั้งชั่งใจในสมอง โดยการกระตุ้นให้สมองหลั่งสารโดปามีน (dopamine) ซึ่งเหมือนการเสพติดยาเสพติด”

 

และเราก็ทราบว่า เจ้า Dopamine นี่แหละ ที่ทำให้เกิดโรคจิตได้ด้วย คือมันแชร์จุดกำเนิดเดียวกัน ยาต้านโรคจิตจึงใช้ยาที่ต้านสาร Dopamine เช่น Haloperidol

 

 

ผลวิจัยตอกย้ำ

 

 

ในปี 2021 นักวิจัย Ghosh และคณะ ตีพิมพ์ ในวารสาร International Journal of Recent Scientific Research รายงานคนไข้ที่ติด video Tiktok แล้วก็เกิดอาการหลอน โรคจิตกำเริบแบบนี้เหมือนกัน บางคนหลอนว่ามีคนสั่งให้ทำโน่นทำนี่

 

หมอสุรัตน์ เปิดเหตุผล ที่ทำให้หลอน จาก video platform แบบ Tiktok Reel เป็นได้หลายประการ

 

 

  1. การเล่นจนติดนานๆ กระตุ้น Dopamine สูงขึ้น นั่นก็เป็นสาเหตุของจิตหลอน
  2. ส่วนใหญ่คนปกติทั่วไป ไม่น่าจะเป็นอะไร แต่ใครเป็น trait คือโรคจิตแฝงที่รอการกระตุ้น ก็อาจแสดงอาการได้ง่ายขึ้น
  3. Video ที่มีลักษณะหลอนๆ มีเยอะ ทั้งที่แบบสาวจีนร้องเต้น ภาษาอะไรก็ไม่รู้ วนไป วนมา นี่ก็หลอน คนทำเสียงดังๆ กรี๊ดๆ ก็หลอน ที่ทำแบบ Live แล้วเจอกับคนที่ทำท่าแปลกๆ พูดจาเหมือนหุ่นยนต์ แถมทำแบบนี้วนซ้ำๆ ที่เรียกว่า NPC Live หรือการแสดงเป็นบอท (bot)  
  4. อัลกอริทึม ที่มันจะฟีด แต่เรื่องที่เราดู ก็จะทำให้คนที่ชอบดูอะไรแปลกๆ หลอนๆ ได้รับฟีดอยู่ตลอด ไม่หลุดไปสักที อยู่ในโลกที่หลุดจากความจริง
  5. ในทางกลับกัน คนที่เป็นโรคจิตเวช บางทีก็ไม่กล้า หรือไม่อยากออกไปสังคม ก็ใช้ Tiktok Reel หรือ social media อื่นๆ เป็นช่องทาง

ติดโซเชียลทำสมองฝ่อ

 

หมอสุรัตน์ย้ำว่า กรณีเล่น Tiktok เล่น reel เล่น facebook ทำให้เกิดภาวะทางจิตเวชได้ คงแล้วแต่คน แต่ overuse เล่นเยอะไป สามารถเปลี่ยนโครงสร้างสมองได้แน่ๆ 

 

 

โดยงานวิจัย นำอาสาสมัครมาเข้าเครื่อง scan สมอง พบว่า คนที่เล่น social media บ่อย มีสมองส่วน grey matter ของ nucleus accumben ฝ่อลง ซึ่งสมองส่วนนี้ สำคัญที่การคุมอารมณ์ การกระตุ้นความอยากเล่น การให้รางวัลความสุข เหมือนสารเสพติด

 

หมอสุรัตน์ ให้ข้อมูลว่า มีคนไข้รายหนึ่ง เป็นซึมเศร้า และติด social media หนักมาก รักษาด้วย TMS ดีไประยะหนึ่ง กลับไปกินยารักษาต่อ แต่ตอนนี้ฆ่าตัวตายไปแล้ว ซึ่งหมอเสียดายมาก เพราะเป็นเด็กน่ารัก พูดได้หลายภาษา พ่อแม่ เป็นเจ้าของ resort ตอนมาพบครั้งแรก หน้าตาแบบ robot คงเพราะดื้อยา จึงกินยาเยอะมากๆ จนตาไม่กระพริบ ก็พยายามทั้งหมอจิตเวช ทั้งครอบครัว แต่ตัวกระตุ้นสมัยนี้มันแรงเหลือเกิน เจอหมอ 2 เดือนครั้ง แต่อยู่กับโลกออนไลน์ กระตุ้นตลอด 24 ชั่วโมง

 

 

หมอสุรัตน์ ทิ้งท้ายว่า โลกเปลี่ยนไว มนุษย์เปลี่ยนตามไม่ทัน เทคโลโนยีขโมยเวลาของเรา เพื่อจุดประสงค์คือตอบสนองยอด Like Share ตาม platform ที่ออกแบบมาในกลยุทธ Hook คือเหยื่อตกปลา คือ เราเป็นปลา ยอด like คือเหยื่อ ใคร Win ?

 

 

 

 

 

 

ที่มา : สาระสมองกับ อจ.หมอสุรัตน์