เด่นโซเชียล

เคลียร์ชัด 'ธี่หยด' แปลว่าอะไร ผู้เชี่ยวชาญเผย ไม่ใช่ภาษามอญตามที่เล่า

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

เคลียร์ชัด 'ธี่หยด' แปลว่าอะไร ผู้เชี่ยวชาญเผย ไม่ใช่ภาษามอญตามที่คนเล่า ไม่มีที่มาคาดแต่งเสริมให้เรื่องสนุกขึ้น

กำลังเป็นกระแสโด่งดังในตอนนี้ สำหรับภาพยนตร์ เรื่อง "ธี่หยด" ที่ได้รับความนิยมตั้งแต่เป็นนวนิยาย จนสู่รายการผี และถูกนำสร้างเป็นภาพยนตร์ โดยมี กิตติศักดิ์ กิตติวิรยานนท์ เป็นผู้เล่าเรื่อง

 

จากเรื่องราวที่เล่า "ธี่หยด" คือเสียงสวดสุดสยองในเวลากลางคืน แม้ยังไม่ทราบแน่ชัดว่ามีความหมายว่าอะไร โดยคาดว่า "ธี่หยด"  เพี้ยนมาจากคำว่า "เตี๊ยะหยด" แปลว่า โอม มาจากภาษามอญที่ใช้บริกรรมคาถา

 

ธี่หยด

 

ที่มาของ "ธี่หยด" เป็นตำนานหลอนจากกระทู้เรื่องเล่าใน Pantip คุณกิตติศักดิ์ กิตติวิรยานนท์ ได้เขียนเล่าเรื่อง "ธี่หยด" ที่เกิดขึ้นใน จ.กาญจนบุรี ลงบนเว็บไซต์ Pantip เมื่อปี พ.ศ. 2558 จนกลายเป็นกระทู้เรื่องผีที่โด่งดังยุคนั้น

 

จากกระทู้ดังพันทิป ทางแพรวสำนักพิมพ์ได้หยิบยกเรื่องธี่หยดมาทำเป็นนิยายเรื่อง "ธี่หยด แว่วเสียงครวญคลั่ง" เขียนโดย กฤตานนท์ ซึ่งเป็นนามปากกาของคุณกิตติศักดิ์ กิตติวิรยานนท์ มียอดพิมพ์มากกว่า 20,000 เล่ม

 

ต่อมาในปี 2566 คุณกิตติศักดิ์ก็ยังเคยโทรศัพท์ไปเล่าเรื่องธี่หยดผ่านรายการ The Ghost Radio ปัจจุบันมียอดชมมากกว่า 5.6 ล้านวิว

 

ธี่หยด

 

 

ล่าสุด ดร.องค์ บรรจุน อาจารย์ประจำคณะวัฒนธรรมสิ่งแวดล้อมและการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ผู้เชี่ยวชาญด้านประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมมอญ กล่าวว่า จากข้อมูลที่แชร์กันตามโซลเชียลว่า "ธี่หยดมาจากภาษามอญว่า เตี๊ยะหยด ที่แปลว่า โอม"

 

ดร.องค์ กล่าวว่า ชที่มาของคำไม่ชัดเจน ซึ่งเสียงโอมแบบฮินดู มอญออกเสียงว่า อูม คำศัพท์มอญอะไรสักคำที่คล้ายคำว่า "ธี่หยด" ก็น่าจะเป็นคำว่า แตะ โหยด ที่แปลว่า เอว

 

ผู้เชี่ยวชาญประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมมอญ ตอบว่า "ธี่หยด" ไม่ใช่ภาษามอญตามที่มีการแชร์ในโลกออนไลน์ คงเป็นเพียงการเชื่อมโยงให้คำนี้เป็นภาษามอญ เพื่อเพิ่มความน่ากลัวให้เรื่องเล่า

 

 

 

 

 


 

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ