เด่นโซเชียล

สรุปดราม่า 'หมออ๋อง' ปดิพัทธ์ สันติภาดา สส. ร้อยเรื่องราวจาก 'ก้าวไกล'

สรุปดราม่า 'หมออ๋อง' ปดิพัทธ์ สันติภาดา สส. ร้อยเรื่องราวจาก 'ก้าวไกล'

25 ส.ค. 2566

สรุปดราม่า 'หมออ๋อง' ปดิพัทธ์ สันติภาดา สส. ร้อยเรื่องราวจาก 'ก้าวไกล' เจอทัวร์ลงสาระพัด ตั้งแต่เป็น สส. ยันขึ้นตำแหน่งรองประธานสภา

ถ้าพูดถึง "หมออ๋อง" หรือ ปดิพัทธ์ สันติภาดา ชื่อนี้ได้สร้างความฮือฮาให้กับประชาชน หลังจากที่ พรรค "ก้าวไกล" เสนอชื่อ "หมออ๋อง" เข้าชิงรองประธานสภาคนที่ 1 "หมออ๋อง" ชนะ วิทยา แก้วภราดัย สส. รทสช ด้วยคะแนน 312 ต่อ 105 ทำให้ "หมออ๋อง" คว้าตำแหน่ง รองประธานสภาคนที่ 1 ไป

 

 

 

 

 

ต่อมา "หมออ๋อง" ก็เป็นที่คุ้นน่าคุ้นตาในโลกโซเชียล หลังจากนั้น "หมออ๋อง" ก็มักดราม่าต่างๆ มากมาย เรียกได้ว่าเป็น สส. ร้อยดราม่าเลยทีเดียว วันนี้ทาง คมชัดลึก ได้รวบรวมสรุปดราม่าของ "หมออ๋อง" มาให้อ่านกันค่ะ

 

หมออ๊อง

 

"หมออ๋อง" เจอกระแสต่อต้าน หลังถูกเสนอชื่อชิงประธานสภาฯ

 

1. ย้อนกลับไปช่วงพรรค "ก้าวไกล" เป็นแกนนำจัดตั้งรัฐบาล โดยทางฝั่งพรรคเพื่อไทย ได้ยืนยันจะเอาเก้าอี้ประธานสภา ส่วนทางฝั่งพรรค "ก้าวไกล" ก็ยืนยันว่าตำแหน่งประธานสภาต้องเป็นของพรรคตน

 

2. ทางฝั่งพรรค "ก้าวไกล" ได้ส่ง "หมออ๋อง" เป็นตัวแทนของพรรค ในการชิงเก้าอี้ประธานสภา แข่งกับพรรคเพื่อไทย


3. ต่อมาก็เกิดกระแสต่อต้าน "หมออ๋อง" จากในโซเชียล เนื่องจากที่อายุน้อยและยังขาดประสบการณ์ เมื่อเทียบกับตัวแทนของทางฝั่งพรรคเพื่อไทย

 

4. ชาวเน็ตได้ขุดอดีตของ "หมออ๋อง" ว่าเคยสนับสนุนและออกไปเคลื่อนไหวกับฝ่าย กปปส. ซึ่งมีจุดยืนทางการเมืองสวนทางกับพรรค "ก้าวไกล" ที่ตนสังกัด

 

"หมออ๋อง" ออกมายืนยันว่าในช่วงที่มีการชุมนุมทางการเมืองทั้งของ กปปส. และของกลุ่มคนเสื้อแดง เขามักเดินทางไปสังเกตการณ์การในที่ชุมนุม แต่ไม่ได้เข้าร่วมการชุมนุมในฐานะผู้สนับสนุนของกลุ่มใด

 

หมออ๊อง

 

5. มีผู้ใช้โซเชียลโพสต์เนื้อหาว่า "หมออ๋อง" ไม่ได้เป็นสัตวแพทย์จริง เนื่องจากเมื่อนำชื่อไปค้นหาในระบบตรวจสอบรายชื่อผู้ประกอบวิชาชีพการสัตวแพทย์ ของสำนักงานสัตวแพทย์สภาแล้ว ไม่พบว่ามีชื่ออยู่ในระบบ

 

"หมออ๋อง" บอกว่าหลังจากจบปริญญาตรีจากคณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เขาไม่ประสงค์จะทำอาชีพสัตวแพทย์หรือเปิดคลินิกรักษาสัตว์ จึงไม่ได้ขอใบอนุญาตประกอบวิชาชีพการสัตวแพทย์ จึงไม่มีชื่อของเขาอยู่ในระบบของสัตวแพทยสภา

 

หมออ๊อง

 


6. "หมออ๋อง" งดออกเสียง ร่าง พ.ร.บ.สมรสเท่าเทียม ซึ่งพรรค "ก้าวไกล" เป็นผู้เสนอ ซึ่งต่อมาเขาได้ชี้แจงทางเฟซบุ๊กไลฟ์ว่า  "เหตุผลที่งดออกเสียงเพราะเห็นว่ามีเนื้อหาที่กระทบความเชื่อทางศาสนา 

 

เนื่องจากเขานับถือศาสนาคริสต์และเห็นว่าชุมชนชาวคริสเตียนมีความกังวลเรื่องการแต่งงานของคนเพศเดียวกัน เขาจึงเลือกที่จะสงวนความเห็นต่อร่างกฎหมายฉบับนี้ในฐานะคริสเตียนคนหนึ่ง"

 

 

ดราม่า "หมออ๋อง" เลี้ยงหมูกระทะแม่บ้านสภา ใช้งบตำแหน่ง 2 ล้าน

 

1. "หมออ๋อง" รองประธานประธานสภาคนที่ 1 จัดเลี้ยงหมูกระทะแม่บ้านสภา 370 คนในราคาหัวละ  269 บาท ร้านหมูกระทะแห่งหนึ่งย่านบางโพ จนกลายเป็นกระแสดราม่า

 

2. วันที่ 18 ส.ค. 2566 แม่บ้านทุกคนได้รับคูปอง เขียนว่า Gift Voucher และมีชื่อของ "หมออ๋อง" อยู่ในคูปองด้วย เพื่อนำมาแลกที่ร้าน แม่บ้านเปิดเผยว่าได้คูปองในช่วงเย็นที่ผ่านมา 

 

 

หมออ๊อง

 

3. ด้านนายศรีสุภรรณ จรรยา โพสต์เฟซบุ๊กว่า ใช้งบรับรองแขกเลี้ยงหมูกระทะแม่บ้านสภา จากเงินภาษีของประชาชน เพื่อหน้าตาของตนเอง ถือเป็นการขัดกันแห่งผลประโยชน์หรือไม่

 

4. ขณะที่ชาวเน็ตบางส่วนก็แซะว่าหนึ่งในนโยบายของพรรค "ก้าวไกล" คือ ห้ามใช้เงินหลวงโปรโมทตัวเอง งบประชาสัมพันธ์รัฐ มาจากภาษีประชาชนมีไว้เพื่อสนับสนุนส่วนรวม ไม่ใช่เพื่อโปรโมทตัวเอง 

 

หมออ๊อง

 

"หมออ๋อง" รอง ประธานสภา โพสต์โซเชียล เชียร์เบียร์ เสี่ยงผิดกฏหมายควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์

 

1. โซเชียลแชร์ภาพและวิจารณ์ "หมออ๋อง" โพสต์ภาพถือกระป๋องเบียร์ยี่ห้อหนึ่ง พร้อมข้อความระบุว่า "เอาแล้วๆๆๆๆ พิษณุโลกมีคราฟต์เบียร์ตัวแรกอย่างเป็นทางการแล้วครับ เป็นของดีพิดโลกนอกจากกล้วยตากและหมี่ซั่วครับ" 

 

มีคนแชร์ภาพนี้ไปกว่า 1,000 ครั้ง ซึ่งถือว่ามีพฤติกรรมผิดกฎหมายควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์อย่างชัดเจน เพราะคำว่า "ของดีพิษณุโลก"

 

2. มีชาวเน็ตส่วนหนึ่งออกมาตำหนิพฤติกรรมว่าผิดกฎหมาย ก็มีติ่งส้มจำนวนมาก ด่ากลับด้วยคำว่า "สลิ่ม" ซึ่งเป็นคำเฮตสปีชไว้ใช้ด่าผู้ที่เห็นต่างทางการเมืองของตน 

 

และอ้างว่าเป็นการสนับสนุนซอฟต์เพาเวอร์ เปรียบกับโฆษณาเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของผู้ผลิตชั้นนำยังมีวิธีโฆษณาได้ 

 

3. ทั้งที่ชาวเน็ตที่วิจารณ์พฤติกรรมของ "หมออ๋อง" ยืนยันว่ากฎหมายต้องเป็นกฎหมาย ตอนนี้ยังไม่แก้กฎหมายควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ก็ต้องทำตามกฎหมาย

 

หมออ๊อง

 

"หมออ๋อง" โดน สส. เพื่อไทย รุมตำหนิแต่งตัวไม่สุภาพทำหน้าที่ จนกลายเป็นดราม่าในโซเชียล

 

1.  ระหว่างที่ประชุมสภา นายนิคม บุญวิเศษ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย ลุกขึ้นตำหนิการแต่งกายของ "หมออ๋อง" รองประธานสภาผู้แทนราษฎร ที่ปฏิบัติหน้าที่ประธานการประชุม ที่แต่งกายใส่เสื้อคอจีนและใส่เสื้อสูททับ โดยไม่ติดเนกไท เป็นการแต่งกายไม่สุภาพ

 

2. "หมออ๋อง" ชี้แจงว่า การแต่งกายชุดสากลนิยมเคยหารือแล้วว่า การใส่เสื้อคอจีนแล้วใส่สูททับ โดยไม่ใส่เนกไทเป็นชุดสุภาพตามระเบียบสภา ตนเคารพทุกคน ถ้าไม่สบายใจก็จะแต่งตัวให้ดีขึ้น แต่ยืนยันว่าแต่งกายถูกต้องตามระเบียบ

 

หมออ๊อง