เด่นโซเชียล

'สอบครูผู้ช่วย' เส้นทางฝันสู่ความเป็น 'ครู' เจอ ดราม่า พิรุธ เพียบ

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

'ครูผู้ช่วยคืออะไร' เส้นทางฝันสู่ความเป็น 'ครู' ที่เจอด่านหิน เมื่อการ 'สอบครูผู้ช่วย' เจอ ดราม่า พิรุธเพียบ

ครู ทำไมใครๆ ก็อยากเป็น แต่เจอประเด็นดราม่าอย่างต่อเนื่อง ภายหลังจากมีการประกาศผล “สอบครูผู้ช่วย” สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน หรือ สพฐ. ปีงบประมาณ 2566 ทั้งข้อสอบที่ยากเกินไป, ข้อสอบไม่ได้มาตรฐานเดียวกันทั้งประเทศ เพราะว่ามีมหาวิทยาลัยหลายแห่งออกข้อสอบ

 

 

 

 

 

ล่าสุด ยังมีผู้สอบ “ครูผู้ช่วย 2566” หลายคน ยังคงร้องเรียนผ่านโลกโซเชียล โดยเฉพาะในภาคอีสาน การสอบในคลัสเตอร์ 14 ประกอบด้วย จ.ยโสธร, อำนาจเจริญ, ศรีสะเกษ และ อุบลราชธานี ที่ออกมาร้องเรียนถึงผลคะแนนที่ผิดปกติ

 

ผู้เข้า “สอบครูผู้ช่วย” รายหนึ่ง โพสต์ข้อความ ตั้งข้อสังเกตว่า หลังจากประกาศผลสอบครูผู้ช่วย 66 แล้ว พบว่าหลายเขตพื้นที่การศึกษา มีตัวเลขการสอบผ่านภาค ก. ข. ที่ดูแล้วอาจจะผิดปกติ เช่น สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 5 มีผู้เข้าสอบหลายคน ที่สอบวิชาเอกได้ 0 คะแนน ซึ่งเป็นไปไม่ได้

 

 

 

 

ขณะที่คะแนนความสามารถในการคิดวิเคราะห์ ประกอบด้วยวิชาภาษาไทย และ คณิตศาสตร์ จำนวน 100 คะแนน ปรากฏว่ามีคนได้ 0 คะแนน ทั้งที่มหาวิทยาลัยราชภัฎอุบลราชธานี ผู้รับผิดชอบในการออกข้อสอบยืนยันว่า ข้อสอบภาค ก มีการออกข้อสอบผิดพลาด ดังนั้น จะให้คะแนนผู้เข้าสอบฟรี 1 คะแนน จึงไม่มีทางที่ผู้สอบจะได้ 0 คะแนน

 

ร้องเรียนสอบครูผู้ช่วย 2566

นอกจากนี้ ผู้เข้าสอบครูผู้ช่วย พบความผิดปกติหลายอย่าง เช่น กระดาษข้อสอบบางห้องเกิน บางห้องไม่พอ ข้อสอบมีลักษณะที่ไม่เหมาะสม ไม่รู้ว่าต้องการวัดความรู้ ความสามารถอะไรกับผู้สอบ ที่สำคัญยังพบว่าเวลาไปสอบ เมื่อตรวจผู้เข้าสอบผ่านเครื่องสแกน ไม่มีการร้องเตือนใดๆ ทั้งที่ใส่แหวน นาฬิกาอยู่กับตัว

 

 

 

 

อย่างไรก็ตาม หลังจากที่มีการประกาศผลสอบ “ครูผู้ช่วย 2566” มีผู้เข้าสอบหลายคน ร้องเรียนถึงการออกข้อสอบที่ไม่เป็นธรรม พบพิรุธหลายอย่าง เช่น

 

 

 

  1. ต้องใช้เงินมากถึง 80-100 ล้านบาท สพฐ.ต้องตัดงบประมาณโครงการอื่นมาจ่าย
  2. มหาวิทยาลัยที่ออกข้อสอบ บางแห่งคิด 500 บาทต่อคน บางมหาวิทยาลัย คิด 1,000 บาทต่อคน
  3. กระจายสอบทำข้อสอบแพง
  4. ข้อสอบไม่ได้มาตรฐานเดียวกันทั้งประเทศ เพราะว่ามีมหาวิทยาลัยหลายแห่งออกข้อสอบ
  5. วิชาเอกเดียวกัน บางจังหวัดง่าย บางจังหวัดยาก ทั้งๆที่เป็นครูไทยด้วยกัน
  6. เจอโจทย์เดียวกัน หรือ ทำนองเดียวกันแต่ เฉลยไม่เหมือนกัน
  7. มหาวิทยาลัยบางแห่งยังไม่เป็นมืออาชีพ จึงเกิดความผิดพลาดดังที่เป็นข่าว
  8. มหาวิทยาลัยบางแห่งไม่อยากรับงานนี้ แต่ถูกเขตพื้นที่การศึกษาขอร้องให้ทำ
  9. การทำ TOR ว่าจ้างทำข้อสอบ ได้กำหนดในเรื่องชั้นความลับไว้อย่างไร หากชั้นความลับไม่รัดกุมความเสียหายจะเกิดกับ สพฐ.ไม่เกิดกับมหาวิทยาลัยที่ออกข้อสอบ

 

 

ครูผู้ช่วยคืออะไร

 

 

ครูผู้ช่วย คือ ตำแหน่งข้าราชการที่ได้รับการบรรจุเข้ารับราชการใหม่ และอยู่ระหว่างเตรียมความพร้อม และพัฒนาอย่างเข้มเป็นเวลา 2 ปี ผู้ที่จะสอบแข่งขันเพื่อบรรจุเป็นครูผู้ช่วยได้ ต้องมีใบประกอบวิชาชีพครูฯ

 

 

 

เนื่องจาก ใน พรบ.การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉ.2) 2545 มีผลบังคับใช้ ทำให้ตำแหน่งของข้าราชการ ครู ที่เราคุ้นเคยไม่มีอีกต่อไป เช่น อ.1 ระดับ 3, อ.2 ระดับ 7 และ อ.3 ระดับ 8

 

 

 

โดยปรับเปลี่ยนเข้ามาใหม่ 2 ตำแหน่ง คือ

 

  1. ครูผู้ช่วย
  2. ครู

 

 

แล้วก็ตามด้วยชื่อวิทยฐานะ เช่น ครูชำนาญการ, ครูชำนาญการพิเศษ, ครูเชี่ยวชาญ, ครูเชี่ยวชาญพิเศษ ดังนั้น ครูที่ได้รับการบรรจุใหม่ จะมีชื่อเรียกว่า ครูผู้ช่วย

 

 

 

ทั้งนี้ ครูผู้ช่วย จะต้องได้รับการประเมินอย่างเข้นข้น 8 ครั้ง ในระยะเวลา 2 ปี หรือประเมิน ทุกๆ 3 เดือน มีหลายๆ ด้านในการประเมิน ทั้งด้านการเรียนการสอน คุณธรรม จริยธรรม จรรยาบรรณ มาตรฐานวิชาชีพครู พอผ่านการทดลองงาน ก็จะได้รับการแต่งตั้งเป็น ครู ค.ศ. 1 นั่นเอง

 

 

 

 

 

ขอบคุณข้อมูล : ครูประถม.คอม

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ