เด่นโซเชียล

เช็กชื่อ 'เหล้าไทย' ขายหมดโรงงาน พิธา เอฟเฟค 'สุราก้าวหน้า'

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

อัปเดตรายชื่อ 'เหล้าไทย' กระหึ่มโซเชียล ขายหมดโรงงาน ยอดจองเต็ม เอฟเฟค 'พิธา ลิ้มเจริญรัตน์' ดัน สุราก้าวหน้า

การผลักดัน “สุราก้าวหน้า” ของพรรคก้าวไกล ทำ #สุราก้าวหน้า ขึ้นเทรนด์ทวิตเตอร์ ติดต่อกันหลายวัน โดยเฉพาะเมื่อ “พิธา ลิ้มเจริญรัตน์” แคนดิเดตนายกรัฐมนตรี เอ่ยถึงสุราพื้นบ้านไทย “สังเวียน” ที่ประทับใจในคุณภาพ จนกลายเป็นไวรัลในเสี้ยววินาที ดันให้ “เหล้าสังเวียน” สุรากลั่นจาก จ.สุพรรณบุรี ขายเกลี้ยงในพริบตา  

 

 

 

 

หลังจากนั้นเป็นต้นมา “เหล้าไทย” จากท้องถิ่นในจังหวัดต่างๆ เริ่มตื่นตัว เพจเฟซบุ๊ก ประชาชนเบียร์ อัปเดตสถานการณ์ สุราพื้นบ้าน ที่พบว่า ขายดีเป็นเทน้ำเทท่า ขายหมดแทบจะทุกโรงงาน รวมทั้งยอดจองยาวเป็นหางว่า คมชัดลึก รวบรวมรายชื่อ สุราพื้นบ้านไทย ที่อยู่ในความสนใจ และเริ่มขาดตลาด

 

รายชื่อ “เหล้าไทย”

 

 

 

1. “สังเวียน” เป็นสุรากลั่นจาก จ.สุพรรณบุรี ผลิตโดยใช้น้ำหวานจากอ้อยสด มาหมักให้เกิดแอลกอฮอล์แล้วนำไปกลั่น ซึ่งคำว่า “สังเวียน” เป็นชื่อของคุณปู่ที่เสียชีวิตไปแล้ว คู่ชีวิตของคุณย่า ที่เคยผลิตสาโทขายในอดีต ตั้งแต่ตัวเจ้าของแบรนด์ที่เป็นหลานยังไม่เกิด การใช้ชื่อนี้แทนชื่อคุณปู่ ก็เพื่อให้คุณย่าระลึกถึงคนที่คุณย่ารัก และสิ่งที่คุณย่ารักที่จะทำ แต่กฎหมายไม่สนับสนุนให้ทำ

       

 

ตัวเจ้าของแบรนด์ศึกษาด้านการผลิตเบียร์จากอังกฤษ เคยทำงานในบริวผับขนาดใหญ่ของไทยอยู่หลายปี ปัจจุบันยังทำเบียร์ดื่มเอง และทำแบรนด์เหล้าสังเวียนอย่างจริงจัง

 

เหล้าสังเวียน

 

2. “อำไพ” สุราแช่สมุนไพร ที่เจ้าของเล่าว่า จุดเริ่มต้นจริงๆ อาจนับได้ตั้งแต่คุณย่าแอบทำเหล้าเถื่อนช่วงหลังสงคราม หลักสูตรการทำเหล้านั้น สืบทอดมาถึงรุ่นคุณแม่ แต่ได้หยุดทำไปช่วงหนึ่ง ตอนที่มีการปราบปรามอย่างหนักจากรัฐบาลไทย แต่สุดท้ายได้เริ่มทำแบรนด์อีกครั้ง ในช่วงยุครัฐบาลทักษิณ จนถึงตอนนี้ก็ทำมาเกือบ 30 ปีแล้ว

 

 

“อำไพ” มาจากชื่อคุณแม่ของผู้ก่อตั้งแบรนด์ จากเดิมเคยขายสมุนไพรไทยมาก่อน มีบางตัวหายากๆ ก็ต้องเข้าป่าไปหาสมุนไพรเอง จนวันหนึ่งคิดขึ้นได้ว่า คุณแม่มีสูตรทำสุราจากคุณย่า จึงเอาทั้งสองอย่างมาประกอบกัน กลายเป็น “อำไพสุราแช่สมุนไพร” จนถึงทุกวันนี้

 

สุราพื้นบ้าน "อำไพ"

3. กิโล Kilo Spirits แบรนด์สุรากลั่นจาก จ.กระบี่ เริ่มก่อตั้งในปี 2017 โรงนี้ถือเป็นสุรากลั่นโรงที่ 5 ของกระบี่  เริ่มต้นจากสามีชาวอังกฤษและภรรยาชาวไทย ที่คบหากันมานานกว่า 20 ปี แต่มาเริ่มคิดจะทำสุรากลั่นจริงๆ ช่วงก่อนล็อคดาวน์ครั้งแรก ทำให้พวกเขาต้องเรียนคลาสออนไลน์ และเดินทางไปดูงานตามโรงเหล้าที่ต่างประเทศ หลังจากคลายล็อคดาวน์

 

 

 

แบรนด์นี้มีเหล้าทั้งหมด 2 ตัว คือ จินและวอดก้า กำลังจะทดลองทำเหล้ารัมจากน้ำตาลเพิ่มอีกหนึ่งตัว เหล้าของโรงนี้ใช้น้ำอ้อยสดคั้นแล้ว จากเกษตรกรใน จ.กระบี่ ที่ทางโรงได้รับสมัครเกษตรกรเข้ามาเป็นพนักงาน และใช้น้ำอ้อยนั้นเป็นวัตถุดิบหลักในการหมักให้เกิดแอลกอฮอล์ จากนั้นนำไปกลั่นทั้งหมด 3 รอบ เพื่อให้ได้แอลกอฮอล์ 95% แล้วจึงนำหัวเชื้อนี้ไปบ่มหรือเจือจางให้ได้กลิ่น ได้รสชาติ ได้ปริมาณแอลกอฮอล์ตามที่ต้องการต่อไป

 

เหล้าไทย แบรนด์ กิโล

 

4. Onson (ออนซอน) เหล้าสกลนคร เริ่มผลิตมาตั้งแต่ปี 2561 แต่เกือบเลิกทำ เพราะไม่มีผู้สานต่อ เจ้าของคนปัจจุบันเล่าว่า จริงๆ แล้วเจ้าของเดิมคือคุณลุงข้างบ้าน แกทำเหล้าออนซอนเป็นงานอดิเรก เคยถึงขนาดเข้าไปขายในห้างมาแล้ว แต่ตอนนั้นยังไม่เป็นที่ยอมรับของตลาดเท่าไหร่ เพราะต้นทุนสูง ราคาใกล้กับราคาแบรนด์ต่างประเทศ แต่เขียนว่าเมดอินสกลนคร คนก็ไม่สนใจ ไม่เกิน 6 เดือน ก็ถูกถอดออกจากห้าง

 

 

ออนซอน ตัวดั้งเดิมเป็นอ้อยทั้งหมดเลย สุดท้ายสู้ราคานายทุนไม่ไหว เลยต้องไปรับซื้อจากต่างจังหวัด และเริ่มทำเหล้าจากใช้ช่อดอกมะพร้าว

 

เหล้าไทย แบรนด์ออนซอน

 

5. “ตำนาน” มีจุดเริ่มต้นมาจากการทำเหล้าป่าตั้งแต่รุ่นตายายใน ย่านท่าพริก จ.ตราด เจ้าของตำนานเติบโตมาในครอบครัวที่สมัยก่อนตายาย และแม่อาศัยการต้มเหล้าป่าเลี้ยงชีพ เช่นเดียวกับชาวบ้านในละแวกนั้น พอเติบโตมาเขาจึงอยากเก็บตำนานภูมิปัญญาชาวบ้าน ที่รังสรรค์เครื่องเทศพื้นเมืองจนได้ลูกแป้งเชื้อสุรา ผสมผสานข้าวจ้าวในท้องถิ่น จนได้เหล้าป่ารสชาติของตนเอง หากนับตั้งแต่เริ่มทำเองจนตอนนี้ทำถูกกฎหมายก็ผ่านมา 14 ปีแล้ว

 

เหล้าไทย แบรนด์ตำนาน

 

6. KHAN (ขาล) และ Kaeng Sua Ten (แก่งเสือเต้น) ทั้งสองตัวคือเหล้าสะเอียบ จ.แพร่ เริ่มต้นทำมาตั้งแต่สมัยคุณตา ที่ทำสุราพื้นบ้านแบบมัดถุงขาย ทั้งหมักและกลั่นในบ้าน ตัวเจ้าของแบรนด์ที่เป็นหลาน ก็เห็นมาตั้งแต่เด็กๆ มีทั้งโดนจับ โดนปรับกันเป็นว่าเล่นมาตั้งแต่สมัยนั้น แต่ก็ยังทำมาเรื่อยๆ

 

 

 

จนถึงช่วงประมาณปี 2546 รัฐบาลได้ให้สุราพื้นบ้านขึ้นมาจดวิสาหกิจชุมชน ทำสุราขายได้อย่างถูกกฎหมาย คุณตาจึงเริ่มให้คุณแม่มาดูธุรกิจต่อ คุณแม่เลยได้จดทะเบียนเป็นวิสาหกิจเป็นเจ้าแรกๆ ของ จ.แพร่  ขายเป็นผลิตภัณฑ์ขวดสีชา(ใช้ขวดเบียร์) ขวดเอ็มร้อย ขวดกั๊ก ขวดแบน และพัฒนามาเรื่อยๆ จนเป็นขวดเซรามิกแบบที่เห็นในรูป

 

 

แบรนด์แรกที่ทำชื่อแก่งเสือเต้น เป็นแบบเหล้าออรินอลสูตรดั้งเดิม ส่วนแบรนด์ KHAN มาจากปีขาล เกิดจากความบังเอิญของตระกูล คือ ยายเกิดปีขาล แม่ก็เกิดปีขาล และตัวเจ้าของปัจจุบันก็เกิดปีขาล ซึ่ง จ.แพร่มีพระธาตุช่อแฮ ซึ่งเป็นพระธาตุประจำปีขาลอีกด้วย เลยนำชื่อนี้มาใช้ เหล้าตัวนี้หมักจากน้ำแหล่งเดียวกันกับภูเขาไฟที่ดับไปแล้วชื่อ หล่มด้ง ใช้กล้วยผสมกับสาโทก่อนกลั่น บ่มในถัง 2 ปีก่อนบรรจุขวด และกลั่นแค่ปีละครั้งในวันขึ้น 15 ค่ำเดือน 5 เรียกว่าเหล้าเดือน 5 (เดือนล้านนา)

 

เหล้าไทยแบรนด์ ขาล

 

7. TAKIYA  (ตาคิยะ) สุรากลั่นชุมชนผลิตจากน้ำตาลโตนด ใน จ.สงขลา

 

               เหล้าไทยแบรนด์ คาติยะ

 

8. "โคโยตี้ลำก้า" สุราชุมชนจากเชียงใหม่ "ลำก้า” ภาษาเหนือแปลว่าอร่อย เวลามีคนถาม “ลำก่อ”(อร่อยมั้ย) ถ้าอร่อยก็จะตอบว่า “ลำก้า” และคำว่า "ลำก้า" ยังฟังคล้ายกับคำว่า "วอดก้า" ที่กฎหมายไทยไม่ให้สุราชุมชนใช้ แต่คำว่า “สุราขาว” หรือ “สุราชุมชน” ทำให้คำว่า “ลำก้า” ในแบรนด์นี้ มี 2 ความหมายในตัวเอง ส่วนคำว่าโคโยตี้มาจากคุณพ่อเห็นสาวๆ บางคนดื่มเหล้าแล้วกลายเป็นโคโยตี้ แกชอบคำนี้เลยเอามาตั้งเป็นชื่อแบรนด์

 

 

 

ส่วนประกอบที่ใช้ เจ้าของบอกว่า ในทุกปีจะมีผลไม้ล้นตลาดอยู่เป็นประจำ จึงได้มีแนวคิดในการช่วยเหลือเกษตรกรผู้ปลูกผลไม้  ให้มีช่องทางการจัดจำหน่ายมากขึ้น โดยการนำผลไม้ตามฤดูกาลในภาคเหนือมาหมักและกลั่น เช่น ฤดูหนาวช่วงสตอเบอร์รี่ออกผลมาก ก็นำสตอเบอร์รี่มาหมักและมากลั่นเป็นสุรา สุรากลั่นที่ได้ออกมานั้น นอกจากจะได้สุรารสชาติเลิศแล้ว ยังมีกลิ่นหอมของผลไม้เฉพาะตัวออกมาสร้างความเป็นเอกลักษณ์ให้กับแบรนด์ “โคโยตี้ลำก้า”

 

เหล้าไทย แบรนด์ โคโยตี้ลำก๋า

 

อัปเดตรายชื่อ เหล้าไทย ขายหมดโรงงาน

 

  1. ช้างทองคำ จ.มหาสารคาม
  2. Ozzo อ๊ตโซ๊ะ จ.ลำพูน
  3. ซอดแจ้ง จ.อุบลราชธานี เปิดจองต้นเดือน ก.ค. 2566
  4. เหล้าคูน จ.ขอนแก่น
  5. คีรีขาล Kirikhan Spirits จ.พะเยา ยอดจองถึง ก.ค. 2566
  6. อัสดง-ล่องน่าน จ.น่าน
  7. สาคู Saku เขาใหญ่ จ.นครราชสีมา
  8. โคโยตี้ ลำก้า จ.เชียงใหม่
  9. ม้าแก้วมังกร จ.อุตรดิตถ์
  10. ขาล Khan จ.แพร่
  11. ออนซอน Onson จ.สกลนคร
  12. ตาคิยะ Takiya จ.สงขลา
  13. อีสานรัม จ.หนองคาย
  14. The Spirit of Chaiyaphum จ.ชัยภูมิ
  15. กิโล Kilo จ.กระบี่
  16. สังเวียน จ.สุพรรณบุรี
  17. หมาใจดำ จ.เชียงใหม่

 

สุราพื้นบ้านไทยขายหมดโรงงาน

 

 

 

ขอบคุณที่มาและภาพ : ประชาชนเบียร์

 

 

 

 

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ