เด่นโซเชียล

เช็คด่วน 5 "รหัสผ่าน" ควรเลี่ยง หากใช้แล้ว อาจ เสียใจ เพราะ คนใกล้ตัว

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

เช็คด่วน 5 "รหัสผ่าน" หรือ พาสเวิร์ด ควรหลีกเลี่ยง หากใช้แล้ว อาจ เสียใจ เพราะ คนใกล้ตัว พร้อมแนะ วิธีตั้ง รหัสผ่าน แบบ ปลอดภัย สูงสุด

"รหัสผ่าน" หรือ พาสเวิร์ด (Password) เป็นส่วนหนึ่งที่มีความสำคัญ ในการรักษาความปลอดภัยของบัญชีผู้ใช้งาน หรือในระบบ ที่ต้องการความปลอดภัย ทั้งโทรศัพท์มือถือ ,คอมพิวเตอร์ , บัญชีธนาคาร ถือเป็นสิ่งที่ใช้สำหรับยืนยันความถูกต้องของตัวบุคคลนั้น ๆ การใช้งานรหัสผ่าน จึงช่วยป้องกันความปลอดภัย การเข้าถึงข้อมูลโดยมิชอบนั้นได้ หากผู้ใช้งานไม่ให้ความสำคัญในการตั้งค่ารหัสผ่าน ก็จะทำให้ผู้ไม่หวังดี สามารถคาดเดารหัสผ่าน และเข้าถึงข้อมูลของเรา ได้อย่างง่ายดาย แล้วรหัสผ่าน แบบไหน ที่ควรเลี่ยงใช้ โดยเฉพาะอาจทำให้คุณเสียใจ เพราะคนใกล้ตัว และ การตั้งค่ารหัสผ่านแบบไหน ที่มีความปลอดภัยสูงสุด รวบรวมมาให้แล้ว

5 รหัสผ่าน ที่อาจเสียใจ เพราะคนใกล้ตัว

 

  1. เบอร์โทรศัพท์ หลายคนมักจะเอาเบอร์โทรศัพท์ของตัวเอง ไปตั้งเป็นรหัสผ่าน เพียงเพราะว่ามันจำง่าย แต่ผลร้ายก็คือคาดเดาได้ง่ายสุด ๆ
  2. วันเกิด มันไม่ได้แยบยล หรือซับซ้อนอะไรเลย แค่เปลี่ยนวันเดือนปีเกิดของคุณไปเป็นตัวเลข แล้วก็ลองกรอกดู ถ้าจะแฮกบัญชีคุณ นี่คือ 1 วิธีที่แฮกเกอร์จะต้องลองแน่นอน
  3. ทะเบียนรถ ทุกคนจำทะเบียนรถตัวเองได้ดี แน่นอนว่าแฮกเกอร์ก็รู้เรื่องนี้ดีเช่นกัน
  4. ชื่อคนรัก หรือสัตว์เลี้ยง คนมักตกอยู่ในภวังค์ของความรัก แม้แต่รหัสผ่านยังเอาชื่อแฟนและชื่อสัตว์เลี้ยงมาตั้ง
  5. เลขเรียง ไปบ้านไหนก็บอกรหัสไวไฟเป็นเลข 0 - 9

5 พาสเวิร์ด ควรเลี่ยงใช้

เทคนิคการตั้งรหัสผ่านให้ปลอดภัย

 

1. ยิ่งยาวยิ่งดี

 

ควรตั้งรหัสผ่าน 8-12 ตัวอักษรขึ้นไป เพราะรหัสผ่านที่มีความยาว 10 ตัวอักษรนั้น คาดเดาได้ยากกว่ารหัสผ่าน 8 ตัวอักษรถึง 4,000 เท่า หรืออาจต้องใช้เวลาถึง 4,000 วัน และถ้าจะเอาแบบแฮกยาก ๆแนะนำที่ 14 ตัว ยิ่งยาวยิ่งเดายาก แต่ถ้าตั้งรหัสผ่านแบบ 8888888888888888 เลขแปด 14 ตัวแบบนี้ ก็ท่าทางจะไม่รอด  นอกจากนั้นเรื่องความยาว เดี๋ยวนี้หลาย ๆ เว็บ กำหนดความยาวรหัสผ่านที่ 8 ตัวอักษรเป็นขั้นต่ำอยู่แล้ว แต่ถ้าให้ปลอดภัยจริง ๆ แนะนำว่าตั้งเริ่มต้นที่ 10 ตัวอักษรจะดีกว่า

 

2. ใช้ทุกอย่างบนแป้นพิมพ์อย่างเท่าเทียม

 

สร้างรหัสผ่านด้วยการใช้คีบอร์ดแบบกระจาย ๆ ด้วยการผสมตัวอักษรภาษาอังกฤษ ทั้งพิมพ์เล็ก/ใหญ่ ตัวเลข เครื่องหมายพิเศษ เข้าด้วยกัน เพราะเมื่อเราใช้แบบนั้นแล้ว โอกาสที่จะเดารหัสผ่านถูกจะมีแค่ 1 ในหลาย 100,000,000,000 (แสนล้าน) เช่น การสร้างรหัสผ่าน 1A!2b@3C#4d$ ต่อให้เดาสุ่ม หรือแม้ว่าปัจจุบันจะมีโปรแกรมที่ใช้ช่วยเดา ก็ยังถือว่าเข้าถึงได้ยาก ดังนั้น เพื่อความปลอดภัยควรผสานรหัสผ่านด้วยตัวอักษรหลากหลายแบบเอาไว้เสมอ

 

3. หลีกเลี่ยงข้อมูลส่วนตัว

 

ไม่ควรใช้ข้อมูลส่วนตัวที่หาได้ง่าย ได้แก่ ชื่อ วันเดือนปีเกิด เลขบัตรประชาชน มาตั้งรหัสผ่าน หรือ ข้อมูลส่วนตัวที่หาเจอได้ง่าย เช่น ชื่อแฝงที่เราชอบใช้มาผูกกับรหัสผ่าน ถ้าคุณชอบใช้ชื่อใน Internet ว่า Pamaham ก็เลยตั้งรหัสผ่านว่า “Pamaham123456” อย่างนี้ก็ให้หลีกเลี่ยงไปเลยจะดีกว่า

 

4. ไม่ใช้ภาษามนุษย์

 

อย่าใช้คำที่ปรากฏอยู่ในพจนานุกรมเลย เพราะคำศัพท์เหล่านั้นถูกนำไปบรรจุลงในโปรแกรมคาดเดารหัสผ่านเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ต่อให้คำนั้นสะกดยากและยาวแค่ไหน โปรแกรมก็คาดเดาคำได้อยู่ดี เพราะฉะนั้น อย่าตั้งให้พวกแฮกเกอร์อ่านได้รู้เรื่องด้วยตัวอักษรธรรมดา

 

5. หลีกเลี่ยงรหัสยอดแย่แห่งปี

 

ในแต่ละปีจะมีรายงานว่าผู้คนตั้งรหัสผ่านยอดแย่ว่าอะไรบ้าง เช่น ปี 2017

  • อันดับ 1 : 123456
  • อันดับ 2 : password
  • อันดับ 3 : 12345678
  • อันดับ 4 : qwerty
  • อันดับ 5 : 12345 

 

6. ใช้ความคิดสร้างสรรค์

 

หากชอบอะไร ที่นึกถึงเป็นอันดับต้น ๆ เช่น ชอบการวิ่งทางวิบาก ก็อาจจะตั้งว่า Trail Running แล้วลองพยายามแปลงตัวอักษรเหล่านั้นให้เป็นหลาย ๆ อย่าง บนแป้นพิมพ์ เอาให้ครบเหมือนข้อ 2 ก็อาจจะได้ประมาณนี้ Tr@1|Ru^^!^8 หรือลองตั้งชื่อเป็นภาษาไทยที่พิมพ์ด้วยภาษาอังกฤษ แล้วใส่เครื่องหมายและตัวเลขเข้าไป เช่น ถ้าชื่อ สมชาย หมายปอง ก็จะได้ l,=kps,kpxv’ ให้ลองบริหารการใช้อักษรตามข้อ 2 ลองปรับเป็น L,=kp,KPxv’1 แค่นี้ก็ปลอดภัยใช้ได้ทีเดียว 

 

7. อย่าใช้รหัสผ่านซ้ำ

 

ไม่ควรใช้รหัสผ่านซ้ำเหมือนกันทุกเว็บไซต์ เพราะเมื่อไหร่ที่รหัสหลุดไปอยู่ที่ผู้หวังร้าย ข้อมูลส่วนตัวเราอาจถูกขโมยไปได้ แต่แนะนำตั้งให้เป็นเอกลักษณ์ของเว็บนั้น ๆ เลยจะดีกว่า เช่น รหัสผ่านของเว็บ Gmail อาจใช้ตัวย่อมาตั้งต่อจากที่เราเคยตั้งก็ได้ L,=kp,KPxv’1 แล้วต่อด้วย GM คุณจะได้ L,=kp,KPxv’1GM ส่วนของ Hotmail ก็เป็น L,=kp,KPxv’1HM 

 

 

คำแนะนำในการตั้งรหัสผ่าน

 

  • ใช้รหัสผ่านที่แตกต่างกันในแต่ละบัญชี และไม่ซ้ำกับรหัสผ่านเดิมที่เคยใช้งานมาก่อน
  • ทำให้รหัสผ่านยาวเข้าไว้ ความยาวยิ่งมาก ผู้ไม่ประสงค์ดียิ่งคาดเดายากมากยิ่งขึ้น

 

ข้อควรปฎิบัติเพิ่มเติม

 

  1. ในแต่ละบัญชีควรมีการตั้งรหัสผ่านที่แตกต่างกัน ไม่ควรใช้รหัสผ่านเดิม
  2. หากแอปพลิเคชั่น หรือเว็บไซต์ใด มีการเปิดยืนยันตัวตนแบบ 2 ขั้นตอน ควรเปิดใช้งานในส่วนนี้ด้วย
  3. ตรวจสอบการเข้าถึงบัญชีเป็นประจำ
  4. ออกจากระบบทุกครั้งหลังใช้งาน
  5. ไม่ควรเลือกใช้งาน “จำรหัสผ่าน” (Remember me) บนเว็บไซต์
  6. ไม่ควรจดรหัสผ่านลงกระดาษ หรือในไฟล์เอกสารที่ไม่มีการป้องกันการเข้าถึง
  7. ไม่เปิดเผยรหัสผ่านให้ผู้อื่นรับทราบ ทั้งนี้ทางสำนักบริหารเทคโนโลยีสารสนเทศไม่มีนโยบายสอบถามรหัสผ่านจากผู้ใช้บริการ ทั้งทางโทรศัพท์หรืออีเมล

 

 

ที่มา : ศูนย์ปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยีสารสนเทศ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (ศปอส.ตร.)

 

 

 

เพื่อไม่พลาด ข่าวสารต่างๆ คมชัดลึก ไปที่
Youtube - https://www.youtube.com/channel/UCnniqWGq9lOqYd5sGWxVi7w
LineToday - https://today.line.me/th/v2/publisher/100057

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ