เด่นโซเชียล

เตือน "อินฟลูเอนเซอร์" รีวิว อาหารเสริม อันตราย ต้องรับผิดชอบเต็ม ๆ

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

เพจดังเตือน "อินฟลูเอนเซอร์" รับรีวิว อาหารเสริม มีสารอันตราย ต้องรับผิดชอบแบบเต็ม ๆ เช็คให้ดีก่อนรีวิวโทษสูงสุดถึงจำคุก

จากกรณีมีที่มีการบุกจับ "อินฟลูเอนเซอร์" ชื่อดังเนื่องจากมีการรีวิว อาหารเสริม ที่เป็นอันตรายต่อร่างกาย โดย "อินฟลูเอนเซอร์" ได้ออกมาชี้แจงว่าไม่รู้ว่าเป็น อาหารเสริม ที่มีสารอันตราย ในประเด็นดังกล่าวทำให้เกิดข้อสงสัยว่า จะต้องรับปิดชอบหรือไม่ ล่าสุดเพจ Drama-addict ระบุว่า ประเด็นที่ว่า "อินฟลูเอนเซอร์" ไปรับจ้างโฆษณา อาหารเสริม ที่ใส่สารอันตรายต่อสุขภาพ แม้จะอ้างว่า ไม่ได้เป็นผู้ผลิต ไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องกับกระบวนการผลิตและใส่สารอันตรายลงไป  "อินฟลูเอนเซอร์" คนนั้นต้องรับผิดชอบหรือไม่ สรุป คือ ต้องรับผิดชอบด้วย 

ทางเพจ Drama-addict  ระบุถึงกรณี "อินฟลูเอนเซอร์" เมื่อไม่กี่ปีก่อนถ้าจำกันได้ มี อาหารเสริม ลดความอ้วนยี่ห้อนึง ใส่ไซบูทรามีนลงไป แล้วมีคนดัง คนมีชื่อเสียง มาโฆษณา อาหารเสริม ลดความอ้วน มีหมอ เภสัช เข้าไปร่วมแจมด้วย ประชาชนก็หลงเชื่อ คิดว่ากินแล้วดี ปลอดภัย ขนาดดารา หมอ เภสัช ยังมาโฆษณาเลยผลคือมีคนกินแล้วตายไปเยอะ อย่างน้อย 4-5คน ขนาดว่า บางราย ตายโดยมีกล่อง อาหารเสริม ที่ว่า ตกอยู่ข้างๆ พอหมอชันสูตรก็พบว่าหัวใจล้มเหลว ซึ่งค่อนข้างผิดปรกติ เพราะที่ตายแต่ละคนนี่อายุน้อยๆกันทั้งนั้น แต่มีจุดร่วม คือกินอาหารเสริมยี่ห้อเดียวกัน สุดท้ายตำรวจก็สอบสวนจนพบว่ามันแอบใส่ไซบูลงไป

ส่วน "อินฟลูเอนเซอร์" หรือ ดารา ยูทูปเบอร์ ที่มาโฆษณาขายอาหารเสริมตัวนั้น อ้างว่ากินแล้วผอมงู้นงี้ โอ้ย มันไม่กินหรอก มันไปซื้อคอร์สออกกำลังกายคุมอาหารกับเทรนเนอร์ในฟิตเนส ไม่ก็ไปดูดไขมันเอา แล้วมาลอยหน้าลอยตาหลอกว่าแดก อาหารเสริม แล้วผอม หลอกคนให้ซื้อของไง ดังนั้นตั้งแต่เหตุการณ์นั้นเป็นต้นมา อย ปคบ เขาเลยเล็งที่จะเล่นพวก"อินฟลูเอนเซอร์" ที่ช่วยโฆษณาขายของพวกนี้ด้วย เพราะถ้าไม่มีคนพวกนี้ มันจะขายกันทั่วบ้านทั่วเมืองได้ขนาดนั้นเรอะ โดยในช่วง 6 ปีที่ผ่านมาพบว่า มีดารา นักร้อง พรีเซ็นเตอร์ ยูทูปเบอร์ รีวิวสินค้าและโฆษณาสรรพคุณของผลิตภัณฑ์ที่เข้าข่ายผิดกฎหมายและไม่ได้รับอนุญาตทางสื่อต่างๆ ทั้งทางโทรทัศน์ วิทยุ โซเชียลมีเดีย (เฟซบุ๊ก ไลน์ ทวิตเตอร์ อินสตาแกรม และยูทูป) ถูกดำเนินคดีกว่า 230 คน 

 

การโฆษณาอาหาร ด้วยข้อความ เสียง ภาพ ที่สื่อถึงคุณประโยชน์ คุณภาพ และสรรพคุณของอาหารทุกช่องทาง ไม่ว่าจะเป็นโทรทัศน์ วิทยุ สื่ออินเทอร์เน็ต แผ่นพับ ใบปลิว ป้าย พาหนะ จะต้องได้รับอนุญาตจาก อย.ก่อนทำการโฆษณาทุกกรณี โดยยื่นคำขอผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ (e-Submission) ใช้ระยะเวลาพิจารณาไม่เกิน 8 วันทำการ ทั้งนี้ เจ้าของผลิตภัณฑ์และผู้ที่เกี่ยวข้องกับการโฆษณาควรศึกษาหลักเกณฑ์และเงื่อนไขในการโฆษณาอาหารจากประกาศสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาว่าด้วยหลักเกณฑ์การโฆษณาอาหารอย่างถี่ถ้วน เพราะการฝ่าฝืนมีโทษตามกฎหมาย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ห้ามโฆษณาอาหารในลักษณะที่เป็นเท็จ เกินความจริง หรือสื่อให้เข้าใจว่าสามารถบำบัด บรรเทา รักษา หรือป้องกันโรค ความเจ็บป่วย หรืออาการของโรคได้ เพราะมีโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 3 หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ หากไม่แน่ใจสามารถติดต่อขอรับคำแนะนำได้ที่ อย. หรือสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดทั่วประเทศ หรือผ่านระบบให้คำปรึกษาทางออนไลน์ (Consultation e-Services)

 

 

ติดตาม คมชัดลึก ที่นี่
Facebook : https://www.facebook.com/komchadluek/
YouTube : https://www.youtube.com/channel/UCnniqWGq9lOqYd5sGWxVi7w


เช็กรายชื่อศิลปินเข้าชิง "คมชัดลึก ลูกทุ่ง Awards 2565" ใครคือ 6 Candidate กับ 8 สาขา Popular Vote ได้ที่นี่

(https://awards.komchadluek.net/#)

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ