เด่นโซเชียล

เพจดัง ชี้แจง คนกิน "ก๊วยเตี๋ยว" อย่าตื่นตระหนก หลังมีข่าว พบเส้น มีสารกันบูด

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

เพจดัง ชี้แจง หลังมีการเตือนปม เรื่อง การรับประทาน "ก๊วยเตี๋ยว" เฉพาะใน อาหาร ประเภทเส้น อาจ ไม่ดีต่อสุขภาพ ทั้งนี้ ได้ออกมาชี้เเจงย้ำ อย่าตื่นตระหนก จนเกินไป ในการเลือกรับประทาน อาหาร

จากกรณีของ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ได้เปิดเผยผลตรวจวัตถุกันเสียใน อาหารประเภทเส้น  หรือใน "ก๊วยเตี๋ยว" ข้อมูลผลตรวจวิเคราะห์ อาทิเช่น เส้นใหญ่ เส้นเล็ก เส้นหมี่ เส้นก๋วยจั๊บ เส้นบะหมี่ เส้นยากิโซบะ เส้นอุด้ง วุ้นเส้น เส้นราเมน เส้นพาสต้า และ เส้นสปาเก็ตตี้ เป็นต้น ซึ่งมีการพบว่า ส่วนใหญ่ที่ตรวจพบไม่ผ่านมาตรฐาน ของการที่มีสารเจือปน โดยล่าสุด ได้มีเพจดังออกมา ชี้แจงถึงกรณี พบ "สารกันบูด" ใน อาหารประเภทเส้น  

 

โดย เพจ "อ๋อ มันเป็นอย่างนี้นี่เอง by อาจารย์เจษฎ์" ได้กล่าวถึงเรื่อง พบ "สารกันบูด" เยอะใน อาหารประเภทเส้น ทำให้มีความเสี่ยงต่อไต ทั้งนี้ได้มีการระบุว่า 

 

" แชร์มั่วเรื่อง "แพทย์เตือนให้เลิกกินก๋วยเตี๋ยว โดยเฉพาะ เส้นเล็ก เส้นหมี่ และ เส้นใหญ่ เพราะมีสารกันบูดเยอะเกินเกณฑ์มาก อันตรายต่อตับไต" กลับมาอีกแล้วนะครับ ... ไม่จริงนะครับ !!

 

จริง ๆ แล้ว ภาพที่แชร์กันนั้น เป็นผลการตรวจสอบเก่า ตั้งแต่ปี 2550 ในจังหวัดอุบลฯ เพียงครั้งนั้นครั้งเดียว ซึ่งประเด็นปัญหาของ "สารกันบูด" ในเส้น "ก๊วยเตี๋ยว" นั้น อาจเกิดขึ้นจากความมักง่ายของพ่อค้าในบางพื้นที่ที่อยู่ห่างไกล โดยกลัวว่าเส้น "ก๊วยเตี๋ยว" สด (เช่น เส้นใหญ่ และเส้นเล็ก) จะบูดเสียได้ง่าย เลยใส่สารลงไปเกินปริมาณที่อนุญาต (ใส่ได้ แต่ห้ามใส่เกิน)

 

ถ้าติดตามข่าวเกี่ยวกับการตรวจหาสารกันบูดในเส้นก๋วยเตี๋ยวในรอบอื่น ๆ จากพื้นที่อื่น ๆ ก็ได้ผลแตกต่างกันไป บางครั้งก็ เส้นเล็ก ที่พบเยอะสุด บางครั้งก็เส้นใหญ่ ที่พบเยอะสุด

 

ซึ่งจากการที่เอาผลการตรวจเฉพาะจุดนั้น มันแชร์กันไปทั่วไปประเทศ ทำให้ในปี 2561 ทาง กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข เลยออกมาชี้แจงอีกครั้ง โดยระบุว่าผลตรวจจากทั่วประเทศ ไม่ได้พบว่ามีสารกันบูดอยู่ในเส้น "ก๊วยเตี๋ยว" มากเกินไป และสารพวกนี้ก็ถูกทำลายได้ด้วยความร้อน ขออย่าให้แตกตื่นเกินไปครับ

(รีโพสต์) จาก "อย่าแตกตื่น ฟอร์เวิร์ดเมล์เก่า เรื่อง อันตรายจากเส้น "ก๊วยเตี๋ยว "

 

กลับมาแชร์กันใหม่อีกครั้งเรื่อง "แพทย์เตือนให้เลิกกิน "ก๊วยเตี๋ยว" โดยเฉพาะ เส้นเล็ก เส้นหมี่ และเส้นใหญ่ เพราะมี "สารกันบูด" เยอะเกินเกณฑ์มาก อันตรายต่อตับไต" ?!

 

... ความจริง เป็นผลการตรวจสอบเก่า ปี 50 ในจังหวัดอุบลฯ ขณะที่ผลตรวจล่าสุดจากทั่วประเทศในปัจจุบันนั้น สารกันบูดไม่ได้สูงเกินไปนัก และสารก็ถูกทำลายได้ด้วยความร้อน อย่าแตกตื่นเกินไป

 

1.  กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์  ออกมาชี้แจงเรื่อง "การใช้วัตถุกันเสียในเส้น "ก๊วยเตี๋ยว " ว่า เป็นข้อมูลเก่าจากปี 2550 ของศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ จ. อุบลราชธานี ที่ตรวจพบว่ามีการใช้วัตถุกันเสียในเส้น "ก๊วยเตี๋ยว" เกินเกณฑ์ที่กำหนด ... นั่นคือ ตรวจเจอ 34 ตัวอย่าง 92 ตัวอย่าง (ร้อยละ 36) แล้วที่ตกใจกันเพราะมีเจอสูงถึง 17,250 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม ในบางตัวอย่าง

 

2. กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ เลยลงมาตรวจติดตามการใช้วัตถุกันเสียในเส้นก๋วยเตี๋ยว อย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่ปี 2555 – 2559 ... พบว่า จาก 370 ตัวอย่าง พบใช้วัตถุกันเสียเกินกำหนด 71 ตัวอย่าง (ร้อยละ 19.2) โดยปริมาณที่พบอยู่ระหว่าง 10.6 – 3,995 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม โดยเฉพาะ เส้นก๋วยจั๊บ เส้นใหญ่ และเส้นผัดไทชนิดแห้ง

 

3. เมื่อเทียบปี 2550 พบว่า จำนวนตัวอย่างที่ตรวจพบการใช้วัตถุกันเสียเกินมาตรฐานกำหนด "ลดลง" (จาก 36% เหลือเพียง 19.2%) และปริมาณวัตถุกันเสียสูงสุด "ลดลง" (จาก 17,250 เหลือเพียง 3,995 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม) โดยที่ค่ามาตรฐานกำหนด ให้พบได้ไม่เกิน 1,000 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม

 

4. กรดเบนโซอิคและกรดซอร์บิค ที่ใช้เป็นวัตถุกันเสียนั้น เมื่อเข้าสู่ร่างกาย จะถูกขับออกทางปัสสาวะได้ และยังมีความเป็นพิษต่อคนและสัตว์น้อยมาก .... สารทั้ง 2 ชนิดนี้ ยังไม่ทนความร้อนด้วย จะสลายตัวได้เมื่อเอาไปหุงต้ม

 

5. ดังนั้น ผู้บริโภคไม่ควรตื่นตระหนก .. ขอเพียงแค่ไม่รับประทาน อาหาร ชนิดเดียวซ้ำๆ  และบริโภคในปริมาณที่มาก

 

6. สำหรับร้าน "ก๊วยเตี๋ยว" ควรเลือกซื้อเส้นก๋วยเตี๋ยวจากแหล่งที่เชื่อถือได้ มีสถานที่ผลิตที่แน่นอน สามารถสอบย้อนกลับได้

เพจดัง ชี้แจง คนกิน "ก๊วยเตี๋ยว" อย่าตื่นตระหนก หลังมีข่าว พบเส้น มีสารกันบูด

 

ติดตาม คมชัดลึก ที่นี่
เพิ่มเพื่อน Line: https://lin.ee/qw9UHd2
YouTube Official : https://youtube.com/user/KOMCHADLUEK 
 

เช็กรายชื่อศิลปินเข้าชิง "คมชัดลึก ลูกทุ่ง Awards 2565" ใครคือ 6 Candidate กับ 8  สาขา Popular Vote ได้ที่นี่   

 (https://awards.komchadluek.net/#)

ที่มา : อ๋อ มันเป็นอย่างนี้นี่เอง by อาจารย์เจษฎ์

 

 

logoline