เด่นโซเชียล

รู้จัก "เมฆอาร์คัส" เมฆมฤตยูสีดำ ปรากฏการณ์สำคัญก่อนเกิดพายุฝนฟ้าคะนอง

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

รู้จัก "เมฆอาร์คัส" เมฆมฤตยูสีดำก้อนใหญ่ ปรากฎการณ์สำคัญก่อนเกิดพายุฝนฟ้าคะนอง อันตรายหรือไม่ เกิดขึ้นได้ยังไง ทั้งที่ไม่ได้เกิดขึ้นกันง่าย ๆ

เมื่อช่วงเช้าที่ผ่านมาหลายคน คงรู้สึกตื่นตาแปลกใจกับ เมฆ ฝนก้อนใหญ่ที่พัดเข้ามาปกคลุมท้องฟ้าในหลาย ๆ พื้นที่ จนทำให้บรรยากาศ ณ ขณะนั้นเหมือนตอนกลางคืนไม่มีผิด หลายคนมีการแชร์ภาพก้อน เมฆ ที่มีรูปร่างดำสนิท และมีขนาดใหญ่น่ากลัว อีกทั้งปรากฎการณ์เช่นนี้ไม่ได้เกิดขึ้นบ่อยครั้ง เมฆ ขนาดใหญ่ก้อนสีดำ แท้จริงแล้วมีชื่อเรียกว่า "เมฆอาร์คัส" หรือ เมฆกันชน ซึ่งเป็นปรากฎการณ์หนึ่งก่อนเกิดพายุฝนฟ้าคะนอง   

"เมฆอาร์คัส" (Arcus Cloud) เป็นปฏิกิริยาหนึ่งของ เมฆพายุฝนฟ้าคะนอง (CB) ซึ่งเป็น เมฆชั้นต่ำที่ก่อตัวในแนวระนาบ มีอยู่ด้วยกัน 2 ประเภท คือ

1.Shelf Cloud เป็น เมฆ ชั้นต่ำตระกลูเดียวกับ Stratocumulus (SC) ซึ่งจะก่อตัวในแนวระนาบ ลักษณะเป็นลิ่มยื่นออกมาจากเมฆพายุฝนฟ้าคะนอง (CB) โดยที่อากาศเย็นจะไหลลงมาจากเมฆพายุฝนฟ้าคะนอง และแผ่กระจายไปโดยรอบบริเวณผิวพื้น ซึ่งแนวหน้าของลมที่ไหลลงมานั้นจะเรียกว่า Gust Front อากาศเย็นที่ไหลลงมานี้จะทำให้อากาศที่อุ่นกว่าบริเวณผิวพื้นซึ่งมีความหนาแน่นน้อยกว่าไหลขึ้นไป แล้วเกิดการกลั่นตัวเป็น เมฆ ที่มีลักษณะคล้ายชั้นวางสิ่งของที่ยื่นมาจากเมฆก่อนใหญ่ จึงเรียกอาร์คัสประเภทนี้ว่า Shelf Cloud นั่นเอง

 

2. Roll Cloud เป็นเมฆชั้นต่ำตระกลูเดียวกับ Stratocumulus (SC) และก่อตัวในแนวระนาบเช่นเดียวกัน มีลักษณะเหมือนทรงกระบอกขนาดใหญ่ อาจยาวได้หลายกิโลเมตร สิ่งที่แตกต่างจาก Shelf Cloud คือ Roll Cloud นั้นจะไม่อยู่ติดกับเมฆชนิดอื่น จะเคลื่อนตัวออกไปจากเมฆพายุฝนฟ้าคะนอง(CB) เกิดจาก Gust Front ที่สามารถทำให้อากาศบริเวณผิวพื้นเกิดการหมุนวน โดยที่อากาศอุ่นบริเวณผิวพื้นด้านหน้าถูกทำให้ไหลขึ้นไปด้านบนจากอากาศเย็นที่ไหลลงมาด้านหลัง แล้วเกิดการกลั่นตัวเป็นเมฆก้อนใหม่ มีลักษณะม้วนตัวนั่นเอง แต่การม้วนตัวของเจ้าเมฆทรงกระบอกนี้ จะดูตรงข้ามกับการเคลื่อนที่ของมันเสมอ

สำหรับ "เมฆอาร์คัส" (Arcus) หรือ เมฆกันชน ไม่มีอันตรายโดยตรง แต่เนื่องจากอาร์คัสเป็นส่วนหนึ่งของ เมฆฝนฟ้าคะนอง จึงมีความเสี่ยงจากฟ้าผ่าแฝงอยู่ โดยเฉพาะฟ้าผ่าแบบบวก (positive lighting) ซึ่งสามารถผ่าออกมาไกลจากตัวเมฆได้หลายกิโลเมตร อย่างไรก็ตาม บริเวณฐานกลุ่มเมฆจะเป็นลมกด ซึ่ง ปรากฏการณ์อาร์คัส ก็ไม่ได้เกิดขึ้นอย่างง่าย 

เมฆอาร์คัส

 

ทั้งนี้ ปรากฎการณ์ "เมฆอาร์คัส" หรือ เมฆกันชน เคยเกิดขึ้นในประเทศไทยมาแล้ว 3 ครั้ง 

-ครั้งแรก เกิดขึ้นเมื่อปี 2554 ที่บริเวณ  บางขุนเทียน และคลองสาน 

-ครั้งที่สอง เกิดขึ้นเมื่อปี 2557 ที่สนามบินอุดรธานี และในเวลาไม่นานก็เกิด ปรากฏการณ์เมฆอาร์คัส เหนือท้องฟ้าบริเวณสนามบินเก่า เขตเทศบาลเมืองเชียงราย อีกครั้ง

 

 

 

 

 

 

 

ขอบคุณข้อมูล : ห้องสมุด ผอต.กขค.คปอ

ขอบคุณภาพจาก Twitter :@phathrphu_

 

 

เพื่อไม่พลาด ข่าวสารต่างๆ คมชัดลึก ไปที่
Youtube - https://www.youtube.com/channel/UCnniqWGq9lOqYd5sGWxVi7w
LineToday - https://today.line.me/th/v2/publisher/100057

เช็กรายชื่อศิลปินเข้าชิง "คมชัดลึก ลูกทุ่ง Awards 2565" ใครคือ 6 Candidate กับ 8  สาขา Popular Vote https://www.komchadluek.net/entertainment/524524

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ