เด่นโซเชียล

"โรคจับผิดแกรมมาร์ของคนอื่น" โรคที่มีอยู่จริง ทนไม่ได้เมื่อเห็นคนใช้ผิด

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

"โรคจับผิดแกรมมาร์ของคนอื่น" โรคสุดแปลกที่มีอยู่จริง โรคที่ผู้ป่วยทนไม่ได้เมื่อเห็นผู้อื่นใช้ แกรมมาร์ ผิด จนไปสู่การจับผิดเชิงเหยียด

เป็นอีกหนึ่งประเด็น ดราม่า ที่เกิดขึ้น ภายหลังการประกวด มิสแกรนด์อินเตอร์เนชั่นแนล 2022 จบลงไปแล้ว นั่นคือการที่มีแฟนนางงามมีการจับผิดการใช้ ภาษาอังกฤษ ในการตอบคำถามของตัวแทนไทย ที่บางคนมองว่ามีการใช้ แกรมมาร์ ที่ไม่ถูกต้อง ล่าสุด ทางเพจ ตุ๊ดส์review ได้มีการออกมาพูดถึงกรณีนี้ โดยได้มีการอธิบายถึง "สาเหตุที่คนไทย ไม่มีวันเก่งภาษาอังกฤษ เพราะเราเน้นจับผิด ไม่เน้นให้คุณค่าการพัฒนากัน" รวมทั้งโรคสุดแปลก "โรคจับผิดแกรมมาร์ของคนอื่น" ซึ่งเป็นโรคที่มีอยู่จริง โดยได้อธิบายไว้อย่างละเอียดเลยทีเดียว

 

ขอเกริ่นว่า เราไม่ติ่ง "อิงฟ้า" เลย อยากพูดปัญหาของคนไทยเป็นประเด็นสำคัญ และนี่ไม่ใช่การออกมาปกป้องนางงามตัว "อิงฟ้า" เกี่ยวกับการพูด ภาษาอังกฤษ บนเวที #MissGrandInternational2022 ที่มี ดราม่า ไกลไปถึง เวียดนาม ว่าไม่สมมงรองหนึ่ง เพราะไม่เก่ง ภาษาอังกฤษ แต่เราอยากมีชวนคุยจากประเด็นนี้ว่ามันเกิดอะไรขึ้นบ้าง เกี่ยวกับมุมมองทางภาษาของคนไทย ที่มีต่อการมองคนอื่น

 

1) เรามองว่า จริงๆ การประกวดเวทีโลก ก็มีให้เลือกช่องทางว่าอยากจะใช้ล่าม หรือพูดเอง ซึ่งทางตัวนางงามเลือกสื่อสารภาษาอังกฤษด้วยตัวเอง แม้ไม่ใช่ native speaker ส่วนตัวเรา เรามองว่าควรภูมิใจในตัวนางงามที่พยายามใช้ภาษาอังกฤษของเธออย่างดีที่สุด ไม่ใช่ตำหนิเหยียด เพราะเธอต้องการพูดจากใจ และกล้าที่จะพูดมันอย่างมั่นใจ

 

2) เราเชื่อว่าคนที่วิจารณ์เธอหลายคน เอาไมค์มาจ่อตัวเองบ้าง จะทำได้แบบเธอไหม? ก็อาจจะไม่ แต่การพูดตำหนิคนอื่น มันง่ายกว่าทำเอง และมันเป็นการชี้ให้เห็นว่าเราไม่ใช่สังคมที่ส่งเสริม ชื่นชมความสามารถ และให้เกียรติกันเท่าไหร่ เราเป็นสังคมแห่งการเหยียบย่ำกันมากกว่า

 

3) ส่วนตัวมองว่า Correctness สำคัญ แต่ถ้าคนฟัง ฟังรู้เรื่องกัน เข้าใจว่าเขาสื่อสารอะไร มันจบแล้ว จริงๆ ภาษาเป็นแค่ทักษะที่ใช้เป็นสื่อกลางในการสื่อสาร มันคือสื่อสารรู้เรื่อง ตรงตามเป้าประสงค์ของผู้พูดหรือไม่ ดังนั้น ถ้าทั้งโลกเข้าใจ นั่นก็เป็นปัญหาส่วนบุคคลที่ไม่พึงพอใจในความ "ไม่เป๊ะ" ของนางงาม

 

โรคจับผิดแกรมมาร์ของคนอื่น

 

4) เราสามารถช่วยแก้ไขได้ วิจารณ์ได้ และแนะนำได้ เรายังเชื่อแบบนั้น ติเพื่อก่อ เราทำได้เสมอ และมันอยู่ในรูปแบบที่หวังดี หรือแก้ไขให้เป็นสิ่งที่อยากแนะนำเพื่อต่อยอด ไม่ใช่การเหยียด เช่น สำนวนที่ "อิงฟ้า" ใช้ได้เลยใน speech นี้ ซึ่งใช้กันทั่วโลกแทน make love คือ "Make love, not war" เป็นสโลแกนต่อต้านสงครามที่มักเกี่ยวข้องกับการต่อต้านของอเมริกาในทศวรรษ 1960 ถูกใช้เป็นสากลโดยผู้ที่ต่อต้านสงครามเวียดนาม แต่เป็นข้อความที่นิยมต่อไปใช้ในบริบทการต่อต้านสงครามอื่นๆ ตั้งแต่บัดนั้นไปทั่วโลก

 

5) มันมีโรคแบบนี้อยู่จริงๆ คือ "โรคจับผิดแกรมมาร์ของคนอื่น" Grammatical Pedantry Syndrome คือ โรคของผู้ป่วยที่ทนไม่ได้ เวลาเห็นใครพูด แกรมมาร์ ผิด ทั้งๆ ที่สื่อสารเข้าใจ และจับผิดในเชิงเหยียด ไม่ได้จับผิดเพราะความหวังดี คิดว่าคนไทยคงเป็นกันเยอะเลยนะ เพราะเรามักจับผิดการพูด ภาษาอังกฤษ ของคนไทยด้วยกันเองอยู่เสมอ

 

6) เราคิดว่า การเรียนภาษาอังกฤษของคนไทย เป็นวิธีการเรียนที่ผิด และเราส่งเสริมการจับผิด การ Bully ทำให้คนไทยไม่กล้าพูด ภาษาอังกฤษ เราไปเคร่งเรื่อง แกรมมาร์ เพราะเราเรียนหลักไวยากรณ์ก่อน ไม่ได้คิดแบบ mother tongue เจ้าของภาษาจริงๆ เขาเรียนเหมือนชีวิตเด็กแรกเกิดตามพัฒนาการ ต้องเริ่มจาก "ทักษะฟัง" สังเกตเวลาผู้ใหญ่พูดตอนเป็นทารก ตามด้วย "ทักษะพูด" ฝึกพูดตาม ยังไม่ต้องสนแกรมมาร์ เรียนรู้คำศัพท์ผ่านชีวิตประจำวัน แล้วค่อยใส่หลักภาษาเข้าไป แต่ไทยเราไม่ได้ ภาษาอังกฤษ แบบนั้น หลักสูตรไทย เราเริ่มจาก หลักไวยากรณ์ และใช้การจับผิดความถูกต้อง ความเป๊ะของคนใช้งาน ทำให้คนไทยไม่สามารถพัฒนาภาษาอังกฤษได้ดีเสียที คงถึงเวลาพัฒนาหลักสูตรไหม เรียนภาษาอังกฤษเป็น 10 ปีแต่ยังพูดกันอ้อมแอ้มน่ะครับ Hello! กระทรวงศึกษาธิการไทยครับ ลองรับเสียงนี้ไปพัฒนาได้ครับ

 

7) มองย้อนกลับมาที่ ประยุทธ์ ที่โดนเรื่องภาษาอยู่บ่อยครั้ง เราว่าต่างจาก อิงฟ้า ในฐานะของ Spokesperson ของประเทศ ของ "อิงฟ้า" เขาสื่อสารได้ และทำออกมาสง่างามมากทีเดียว คนฟัง get message แต่ของประยุทธ์มันต้องการล่ามไปเลย เพราะ "ความเข้าใจของคนรับสาร" เป็นเรื่องพื้นฐานที่เราแคร์ เราวัดที่เข้าใจ หรือไม่เข้าใจก่อน มันเลยเป็นคนละกรณี และไม่ใช่การเลือกปฏิบัติด่าประยุทธ์ แต่ไม่ด่า "อิงฟ้า" อันนี้คนละเรื่องกันครับ

 

8) เมื่อไหร่คนไทยจะกล้าพูดภาษาอังกฤษ? เราจะกล้าพูด ก็ต่อเมื่อ เราเลิกจับผิดกัน เหยียดกันเอง ตำหนิด่าทอกันเอง ให้โอกาสการพัฒนาการฝึกฝน และมองเห็นศักยภาพ ให้คุณค่ากับการพัฒนาปรับปรุง และหมั่นเป็นกำลังใจให้กัน ให้เรากล้าพูดโดยที่ไม่ต้องกลัวให้ได้ก่อน ที่เรายังกลัวพูด เพราะเรากลัวผิด แล้วทำไมเรากลัวผิด? เพราะทุกครั้งที่ผิด คนไทยไม่ได้น่ารักกับการเรียน ภาษาอังกฤษ เราเน้น bully มากกว่าให้คำชม หรือแนะนำอย่างหวังดี มันทำให้เราถอยหลัง ในขณะที่เราพูดผิดใส่ฝรั่ง เขาไม่เคยมานั่งจับผิดเรา มีแต่พยายาม support เข้าใจเรา และช่วยแนะนำแก้ไขให้เราว่าที่ถูกคือประมาณนี้ คุณจะบอกแบบนี้ใช่ไหม?

 

ในขณะที่ฝรั่งพยายามจะเข้าใจเรา คนไทยเราเอา ภาษาอังกฤษ มาเหยียดตำหนิคนอื่น ที่ไม่ดีพอดั่งใจตัวเอง เราเลยไม่เคยพัฒนาไปไหนเลยครับ

 

9) เรื่องจริงเรื่องหนึ่งที่น่าหดหู่ คือ ทุกครั้งที่มีฝรั่งมาเรียนรู้ภาษาไทย แล้วพูดผิดพูดถูก คนไทยไปชื่นชม ปรบมือ เอ็นดู น่ารักจังที่เขาพยายามพูด แต่พอเราเห็นคนไทยพยายามพูด ภาษาอังกฤษ แล้วทำไมออกมาทรงตรงกันข้ามกับที่เราทำกับฝรั่ง ลองถามใจตัวเองดูว่า หรือจริงๆเราเองจ้องมองจับผิดเฉพาะคนไทยพูด ภาษาอังกฤษ ในแบบไหน เป็นแบบนั้นอยู่รึเปล่า? ถ้าใช่ เป็นแบบนั้นอยู่ ก็เลิกนะครับ

 

10) "อิงฟ้า" ก็คือ ตัวแทนของผลผลิตของระบบ การศึกษาไทย สะท้อนภาพการเรียนการสอน ภาษาอังกฤษ แบบไทยๆ ที่ผลิตคนคนหนึ่งออกมาในแบบที่เรียน โรงเรียน ไทยมาเป็น 10 ปี แล้วต้องพยายามขวนขวายด้วยตัวเอง พอมีเวทีออกไปสู่สากล ก็กลับถูกคนไทยกันเองตำหนิ เข้าใจไหมว่าทำไมประเทศเราจึงควรปฏิรูป การศึกษา เป็นอันดับต้นๆ เพราะมันจะสร้างความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้อง เปลี่ยนวิธีคิดคนในชาติ และพัฒนาบุคลากรของชาติอย่างที่ควรจะเป็น ดังนั้น การศึกษาไทย ที่ถอยหลังลงคลองทั้งระบบนั่นแหละที่ฆ่าเรากันเองมาตลอด ตั้งแต่ส่งเสริมการ บูลลี่ ไปจนถึงการเรียนการสอนภาษาง่อยๆให้เราพัฒนาทักษะผิดวิธี

 

11) สุดท้ายนี้ อิงฟ้า ควรเป็นมาแรงบันดาลใจในการให้คนไทย หันมาใช้ ภาษาอังกฤษ กล้าใช้โดยที่ไม่กลัวผิดพลาด ชื่นชมเธอ และผลักดันให้เด็กไทยได้ฝึกฝน และเราควรร่วมยินดีกับความสำเร็จของเธอ ยินดีด้วยกับรองอันดับ 1 เล็กพริกขี้หนู ที่สู้ด้วยศักยภาพตัวเองจริงๆ บนเวทีระดับโลก หมั่นปรบมือ ภูมิใจกับความสำเร็จของคนอื่นดูนะครับ แล้วใช้ชีวิตจับผิดคนอื่นให้น้อยลง จะมีความสุขมากขึ้นครับ

 

เจ้าของภาษาเขาไม่ได้เดือดร้อนอะไรเลย เราคนไทยในฐานะผู้เอาภาษาเขามาใช้กลับเหยียบกันเอง

 

"อยากเปลี่ยนแปลงประเทศ พัฒนาทักษะ ให้ใครกล้าพูด กล้าคิด กล้าทำ เลิกลดค่านิยมของการห้ามผิด ห้ามทำเดี๋ยวผิด เลิก Bully กันให้ได้ก่อน แล้วสังคมไทยจะพัฒนาขึ้นอีกเยอะเลยครับ"

 

เพจ ตุ๊ดส์review

 

 

ที่มา : เพจ ตุ๊ดส์review

 

ติดตาม คมชัดลึก ที่นี่
Facebook : https://www.facebook.com/komchadluek/
YouTube : https://www.youtube.com/channel/UCnniqWGq9lOqYd5sGWxVi7w

 

logoline