เด่นโซเชียล

"ยาย" วัย 70 อาการกำเริบหนัก หวิดดับ หลังคนข้างบ้านให้กินยาตัวเอง

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

อุทาหรณ์ เคสคนไข้ฉุกเฉิน "ยาย" วัย 70 ปี ที่ทานยาโรคประจำตัวของป้าข้างบ้าน เตือน อาการอาจคล้ายกันแต่อาจเกิดจากโรคและสาเหตุที่ไม่เหมือนกัน และหรือถ้าป่วยโรคเดียวกันแต่ปริมาณและความเข้มข้นของยาอาจไม่เท่ากัน

วันนี้ 17 ก.ย. บนโลกออนไลน์ได้มีการแชร์ข้อความจากสมาชิกผู้ใช้เฟซบุ๊ก บัญชี ชื่อ สุธีร์ สามสี่ชา ได้ออกมาโพสต์เตือนเคสคนไข้ฉุกเฉินที่ทานยาโรคประจำตัว โดยข้อความทั้งหมดระบุว่า

 

รับแจ้ง "ยาย" วัย 70 ปี มีอาการแน่นอก แต่ไม่เหมือนมีอะไรมากดทับ ไม่มีปวดร้าวไปที่ไหน หายใจรู้สึกเหนื่อย หลังสำลักอาหารขณะกินอาหารอยู่ ซักประวัติมีโรคประจำตัวความดันสูง ขณะซักประวัติกับญาติทางโทรศัพท์ ผู้ป่วยยังมีสติ ถามตอบรู้เรื่อง

อาสาสมัคร ชุดปฏิบัติการ BLS. ใกล้เคียง แจ้ง ว.4 ร่วม และถึงที่เกิดเหตุแล้ว 5 นาทีต่อมา อาสาสมัครแจ้งกลับมาทางวิทยุสื่อสาร "ยาย" ผู้ป่วยมีหน้าซีดเหงื่อออกตัวเย็นและวูบหมดสติขณะนี้ ทีม ALS.ไปถึง ให้การช่วยเหลือ A B C D E ตามลำดับ ติดตามคลื่นไฟฟ้าหัวใจ ไม่พบ ST elevation หรือ depression แต่ BP.drop และ ไม่มีประวัติ อาเจียน ท้องเสีย ถ่ายเหลว หรือเลือดออกใดๆ ทีนี้ทีม ALS. เลยเริ่มสงสัย ทำไมคนไข้ถึงหมดสติไปประมาณ 8 นาที จึงซักประวัติ SAMPLE

 

S : สำลักอาหาร ไอและหายใจเหนื่อย ต่อมาเริ่มแน่นหน้าอก

A : ปฏิเสธการแพ้ยา อาหาร... สามารถติดตามต่อได้ที่ 

M : ยารักษาความดัน ไม่ขาดยา

P : โรคความดันโลหิตสูง พบแพทย์ตามนัดทุกเดือน

L : กินข้าวก่อนตามด้วย #ยาอมใต้ลิ้น ก่อนทีมรถพยาบาลมาถึง

E : ขณะกำลังนั่งกินมื้อเที่ยง กับครอบครัว และเพื่อนบ้าน

เลยถามญาติๆของ "ยาย" ว่า ตอนถามประวัติการใช้ยา หรือยาโรคประจำตัวตอนแรก ทำไมไม่เห็นแจ้งว่า มีโรคหัวใจ หรือใช้ยาอมใต้ลิ้น อยู่ละครับ ทุกคนแทบพูดเป็นเสียงเดียวกันว่า “ไม่ใช่ยาของยาย” #ป้าข้างบ้านเอายามาให้ บอก “ฉันก็เคยมีอาการคล้ายๆ นี้ ใช้ยาของฉันก่อนก็ได้ เผื่ออาการดีขึ้น” นี่เองที่ยายนั่งคุยอยู่ดีๆ แล้วมีหน้าซีด วูบ และหมดสติไป

 

ยาประจำตัวของเราอย่าเอาให้คนอื่นกิน อาการอาจคล้ายกันแต่อาจเกิดจากโรคและสาเหตุที่ไม่เหมือนกัน และหรือถ้าป่วยโรคเดียวกันแต่ปริมาณและความเข้มข้นของยาอาจไม่เท่ากัน “ควรรีบพาไปพบแพทย์” ผู้ป่วยถึง รพ.โดยปลอดภัย ส่งเวรเรื่องยาอมใต้ลิ้นเรียบร้อย อย่างน้อยเราก็ #ไม่ใช่ความโชคร้ายของคนไข้…เจ็บป่วยฉุกเฉินโทร. 1669

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ