เด่นโซเชียล

แชร์สนั่น ทำ "IF" สามารถแก้ "ประจำเดือน" มาไม่ปกติ ได้ จริงหรือ เช็กก่อนเชื่อ

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

โลกโซเชียลแห่แชร์ ประเด็นเรื่องการทำ "IF" ช่วยแก้ปัญหา "ประจำเดือน" มาไม่ปกติ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข พบว่าประเด็นดังกล่าวนั้น เป็นข้อมูลบิดเบือน

ตามที่มีการแชร์วิดีโอในสื่อออนไลน์ต่าง ๆ เกี่ยวกับประเด็นเรื่องการทำ "IF" ช่วยแก้ปัญหา "ประจำเดือน" มาไม่ปกติ ทางศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมได้ดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงโดยกรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข พบว่าประเด็นดังกล่าวนั้น เป็นข้อมูลบิดเบือน

 

จากกรณีที่มีการส่งต่อคลิปด้านสุขภาพโดยระบุว่าการทำ  ช่วยแก้ปัญหาประจำเดือนมาไม่ปกติ ทางกรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ได้ตรวจสอบข้อมูลและชี้แจงว่าการขาดประจำเดือนเกิดจากหลายสาเหตุ

 

 

กรณีอยู่ในวัยเจริญพันธุ์และมีเพศสัมพันธ์ควรพิจารณาตรวจการตั้งครรภ์ ถ้าไม่ได้มีการตั้งครรภ์ การขาด "ประจำเดือน" อาจเกิดจากภาวะไข่ไม่ตก ซึ่งเกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น มีการทำงานและการสร้างฮอร์โมนของต่อมใต้สมองผิดปกติ, ฮอร์โมนไทรอยด์ผิดปกติ, ฮอร์โมนเพศผิดปกติ, ความเครียด, การออกกำลังกายหนัก, การเปลี่ยนแปลงของน้ำหนักตัวที่ผิดปกติ ไม่ว่าจะเป็นน้ำหนักเพิ่มมากขึ้นเร็วหรือการลดน้ำหนักลงอย่างรวดเร็ว, ภาวะถุงน้ำรังไข่หลายใบ หรือการทำ "IF" เป็นต้น นอกจากนี้ยังเกิดได้จากอีกหลายสาเหตุ เช่น รังไข่เสื่อมหรือหยุดการทำงานก่อนวัย, การมีพังผืดในโพรงมดลูก

จากข้อมูลในคลิปวิดีโอข้างต้น มีการกล่าวถึงการทำ intermittent fasting "IF" เพื่อการลดน้ำหนัก ถ้าสาเหตุของการขาด "ประจำเดือน" เกิดจากภาวะไข่ไม่ตกเรื้อรังที่มีสาเหตุหลักมาจากภาวะน้ำหนักเกินร่วมกับมวลไขมันในร่างกายสูง เมื่อลดน้ำหนักได้ตามเป้าหมายอาจทำให้ไข่กลับมาตกและประจำเดือนมาเป็นปกติได้จริง แต่ถ้ามีสาเหตุอื่นร่วมอาจจะไม่สามารถทำให้ประจำเดือนกลับมาเป็นปกติได้

 

ดังนั้นในสตรีที่มีภาวะขาดประจำเดือน หรือประจำเดือนมาผิดปกติ แนะนำให้พบแพทย์เพื่อซักประวัติโดยละเอียด ตรวจร่างกาย และพิจารณาตรวจภายใน เจาะเลือดส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการ และอัลตราซาวด์เพื่อประเมินมดลูกรังไข่ตามข้อบ่งชี้เพื่อหาสาเหตุและทำการรักษาที่เหมาะสมต่อไป

 

ติดตาม คมชัดลึก ที่นี่
เพิ่มเพื่อน Line: https://lin.ee/qw9UHd2
Facebook : https://www.facebook.com/komchadluek/

เช็กรายชื่อศิลปินเข้าชิง "คมชัดลึก ลูกทุ่ง Awards 2565" ใครคือ 6 Candidate กับ 8  สาขา Popular Vote ได้ที่นี่   

 (https://awards.komchadluek.net/#)
 

 

ดังนั้นข้อมูลที่มีการโพสต์ และแชร์ต่อในขณะนี้ จึงเป็นข้อมูลบิดเบือน ขอความร่วมมือประชาชน ไม่แชร์ ไม่ส่งต่อข่าวดังกล่าว เพื่อป้องกันผลกระทบที่อาจเกิดขึ้น

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ