เด่นโซเชียล

หลัก 90 วินาที อพยพ ตัวเองออกจาก "เครื่องบิน" เปอร์เซ็นต์รอดสูง

หลัก 90 วินาที อพยพ ตัวเองออกจาก "เครื่องบิน" เปอร์เซ็นต์รอดสูง

31 ก.ค. 2565

จากกรณี "สายการบินนกแอร์" ไถลรันเวย์ ท่าอากาศยานแม่ฟ้าหลวง หลังจากนั้น ได้มีเพจดัง ยกประเด็น อพยพ ผู้โดยออกจากเครื่อง ภายใน 90 วินาที

จากกรณี "สายการบินนกแอร์" เที่ยวบิน ที่ DD108 ของวันที่ 30 ก.ค. เส้นทาง ดอนเมือง - เชียงราย ซึ่งออกเดินทางจาก ท่าอากาศยานดอนเมือง เวลา 20.03 น. (เวลาท้องถิ่น) และถึง ท่าอากาศยานแม่ฟ้าหลวง เวลา 21.06 น.  ก่อนจะนำเครื่องลงจอดที่  ท่าอากาศยานแม่ฟ้าหลวง ซึ่งขณะนั้นมีฝนตกอย่างหนัก ทำให้เครื่องบินลื่นไถลออกนอก รันเวย์  

หลังจากเหตุการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้น ได้มีประเด็นต่อเนื่องให้พูดถึง โดย ทางเพจเฟซบุ๊ค " I’m from Andromeda" ซึ่งมีผู้ติตามกว่า 1.8 แสนคน ได้โพสต์ข้อความระบุว่า  

ตัวเลข 90 วินาที เป็นเลขที่คุณต้องจดจำเอาไว้หากต้องพิจารณาขึ้น เครื่องบิน หรือ สายการบิน ลำใดลำหนึ่ง มันคือตัวเลขที่สำนักงานบริหาร การบินแห่งชาติสหรัฐอเมริกา หรือ FAA ได้ทดลองเอาไว้ว่าเป็นเวลาที่ช้าที่สุดที่ผู้โดยสารทุกคนควรอพยพออกจากเครื่องบินหากเกิดเหตุฉุกเฉิน  90 วินาทีมาจากไหน ?      ในช่วงต้นทศวรรษ 1960 มีการวิจัยเกี่ยวกับปัจจัยต่างๆ ที่จะเกิดขึ้นโดยเฉพาะเพลิงไหม้หลังจากเครื่องบินเกิดอุบัติเหตุ  

 

ในเดือนเมษายนและกันยายน ค.ศ.1964 FAA ได้ทำการทดสอบจำลองการชนและเพลิงไหม้ของเครื่องบินโดยใช้เครื่องบินดักลาส DC7 และล็อกฮีด L1649 โดยติดตั้งกล้องความเร็วสูงไว้ภายใน เครื่องบิน และรอบๆ พื้นที่ภายนอก เพื่อบันทึกผลกระทบของเครื่องบิน หุ่นนักบินจำลอง และผู้โดยสารจำลอง 

 

จากการวิจัยพบว่ามี ไฟ 2 แบบที่เกิดขึ้นและคร่าชีวิตคนบนเครื่องบินอย่างแรกคือ ไฟที่เกิดขึ้นบนวัสดุและอุปกรณ์บน เครื่องบิน มันจะค่อย ๆ ลุกลามพร้อมควันมหาศาลและจะแผดเผาไปทั้งลำในที่สุด และอีกประเภทคือ Flashover ที่เชื้อเพลิงบนเครื่องบินเกิดการไหม้และทำให้เกิดเปลวไฟการลุกท่วมในชั่วพริบตา

 

จากการทดสอบครั้งนั้นระบุว่าแม้ว่าโครงสร้างในห้องโดยสารจะแข็งแรงขนาดไหน แต่หลังจาก 120 วินาทีคือระยะเวลาเฉลี่ยที่ผู้โดยสารจะสำลักควันไฟจนเสียชีวิตรวมไปถึงโดนไฟคลอกจนเสียชีวิต

 

FAA จึงได้ปรับลดเวลาเหลือ 90 วินาที เพื่อความปลอดภัย และใช้ตัวเลขนี้ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา  จงจำไว้ว่า หากคุณรอดพ้นจากอุบัติเหตุเครื่องบินไม่ว่าจะชนิดใดรูปแบบใด อย่าคิดว่าตนเองปลอดภัยแล้วจนกว่าจะได้ออกจากเครื่องบิน เพราะสิ่งที่อันตรายที่สุดคือ ไฟ และ ควันไฟ

ข้อมูลจาก FAA ระบุว่าในอดีตอุบัติเหตุส่วนใหญ่ที่ เครื่องบิน ไม่ได้ชนรุนแรง ผู้โดยสารที่ยังรอดชีวิตกลับต้องมาเสียชีวิตอย่างไม่จำเป็น จากการสำลักควันไฟเพราะไม่สามารถอพยพออกจากเครื่องบินได้ทัน

 

ในบันทึกยังระบุว่าอาจมีผู้รอดชีวิตเพิ่มขึ้นหาก ผู้โดยสาร ได้ฟังวิธีการขณะเกิดเหตุฉุกเฉิน หรือมีการกำกับการ อพยพ ฉุกเฉินบนเครื่องบินอย่างเหมาะสม 

ดังนั้นหากคุณสังเกตจากเหตุการณ์ในอดีต จากข่าว หรือแม้แต่มองเห็นการปฏิบัติของลูกเรือในสายการบินนั้น ๆ แล้วคุณรู้สึกไม่มั่นใจว่าจะออกได้ภายใน 90 วินาที

 

เปลี่ยนสายการบินเถอะครับ เพราะคุณไม่สามารถเปลี่ยนแปลงโชคชะตาอะไรได้อีกหากต้องอยู่บนฟ้า 

 

นอกจากนี้แอดมินมีความคิดเห็นส่วนตัว ในฐานะที่เป็นนักบินมาเป็นเวลา 12 ปี  "  หากเกิดเหตุการณ์เครื่องบินไถลออกนอกรันเวย์ สิ่งที่เกิดขึ้นคือพื้นรันเวย์หรือพื้นดินจะกระทบกับสิ่งที่ไม่ควรกระทบ ไม่ว่าจะเป็นเครื่องยนต์ หรือถังที่บรรจุเชื้อเพลิงเอาไว้ การครูดกันนี้ทำให้เกิดความร้อน ซึ่งความร้อนก็ก่อให้เกิดไฟ 

ไฟที่จะเกิดบนเครื่องบินจงจำไว้ว่า ไม่ว่าฝนจะตกหนัก หรือรันเวย์จะเปียกแค่ไหน มันไม่ได้ช่วยให้ไฟดับแต่อย่างใด และแม้ว่าจะดับเครื่องยนต์ไปเรียบร้อยแล้ว นั่นไม่ได้รับประกันว่าไฟจะไม่ไหม้ สิ่งที่ควรทำเร็วที่สุดหากผมเป็นกัปตันในเที่ยวบินนั้น คือการสั่งให้ผู้โดยสารออกจากเครื่องบินให้เร็วที่สุด เพราะคุณไม่มีทางมั่นใจใดๆ ว่าเครื่องบินจะไม่เป็นอะไรอีกหลังจากนั้น  ถ้าหากไม่มั่นใจ ก็ควรสั่งอพยพ "

 

ไม่มีใครควรต้องมานั่งบนเครื่องบินที่เกิดอุบัติเหตุเป็นชั่วโมง จงคิดเอาไว้เสมอว่าการนั่งเครื่องบินคือการนั่งบนเชื้อเพลิงขนาดใหญ่หลายสิบตันพร้อมไฟฟ้าและความร้อนมหาศาล ดังนั้นหากสิ่งที่คุณนั่งทับอยู่มันไม่เหมือนเดิมอีกต่อไป ก็ไม่มีเหตุผลอันใดที่ไม่ควรอพยพออกจากมัน

หลัก 90 วินาที อพยพ ตัวเองออกจาก \"เครื่องบิน\" เปอร์เซ็นต์รอดสูง

 

เพื่อไม่พลาด ข่าวสารต่างๆ คมชัดลึก ไปที่
Youtube - https://www.youtube.com/channel/UCnniqWGq9lOqYd5sGWxVi7w
LineToday - https://today.line.me/th/v2/publisher/100057

รอลุ้น ใครจะเป็น 6 Candidate กับ 8  สาขา Popular Vote คมชัดลึก ลูกทุ่ง Awards 2565
1 สิงหาคม 65 นี้ รู้กัน
(https://awards.komchadluek.net/#)

CREDIT PHOTO : stock.adobe