เด่นโซเชียล

เผยรายชื่อจังหวัด "ชิ้นส่วนจรวดลองมาร์ช 5 บี" โคจรผ่าน ก่อนตกสู่พื้นโลก 31 กค

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

GISTDA เผยรายชื่อจังหวัดของไทย "ชิ้นส่วนจรวดลองมาร์ช 5 บี" Longmarch-5B โคจรผ่าน ก่อนตกสู่พื้นโลก 31 ก.ค.2565

จากกรณีที่ GISTDA โดยศูนย์วิจัยเทคโนโลยีอวกาศ หรือ Space Technology Research Center แจ้งเตือนชิ้นส่วนจรวดลองมาร์ช 5 บี  Longmarch-5B จะตกสู่พื้นโลก ในวันอาทิตย์ที่ 31 กรกฎาคม 2565 และอาจส่งผลกระทบกับประเทศไทย 1.2%  เนื่องจากวัตถุอวกาศนี้ ผ่านประเทศไทยทุกวัน นั้น

ล่าสุด ศูนย์วิจัยเทคโนโลยีอวกาศ หรือ Space Technology Research Center ของ GISTDA เปิดเผยข้อมูลพื้นที่บางส่วนของประเทศไทย ที่ชิ้นส่วนจรวดลองมาร์ช 5 บี หรือ วัตถุอวกาศชิ้นนี้ จะโคจรพาดผ่านในวันเสาร์ที่ 30 กรกฎาคม 2565 จำนวน 2 รอบ (หากมีเพิ่มเติมจะแจ้งให้ทราบต่อไป) ดังนี้

 

 

รอบแรก โคจรจากฝั่งตะวันตกไปยังตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนของไทย ระหว่างเวลา 02:01:33 น.- 02:03:16 น. ผ่านจังหวัด ราชบุรี นครปฐม พระนครศรีอยุธยา สระบุรี ลพบุรี นครราชสีมา ชัยภูมิ ขอนแก่น กาฬสินธุ์ อุดรธานี สกลนคร และ นครพนม

 

รอบที่ 2 จะโคจรจากทิศเหนือไปยังตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ระหว่างเวลา 11:21:06 น.- 11:22:57 น. ผ่านจังหวัดแม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง สุโขทัย อุตรดิตถ์ พิษณุโลก เพชรบูรณ์ ชัยภูมิ นครราชสีมา บุรีรัมย์ และ สุรินทร์

 

 

ทั้งนี้ ขอให้ประชาชนอย่าได้ตื่นตระหนก เนื่องจากวัตถุอวกาศลองมาร์ช 5 บี มีโอกาสตกในไทยเพียง 1.2% ซึ่ง GISTDA จะติดตามสถานการณ์ตลอดเวลา และสามารถแจ้งเตือนก่อนตกล่วงหน้าได้ 1 วัน

 

อย่างไรก็ตาม วัตถุอวกาศดังกล่าว อยู่ห่างพื้นโลกที่ใกล้ที่สุด ณ เวลานี้ประมาณ 173 กิโลเมตร

ชิ้นส่วนอวกาศ ลองมาร์ช 5 บี โคจรผ่านประเทศไทย

โดย ชิ้นส่วนจรวดลองมาร์ช 5 บี มีน้ำหนักประมาณ 21 ตัน (ระหว่างที่วัตถุอวกาศกำลังตกสู่โลกนั้น จะมีน้ำหนักน้อยกว่านี้ เนื่องจากจะมีบางส่วนถูกเผาไหม้ในชั้นบรรยากาศ) การปฏิบัติภารกิจของลองมาร์ช 5 บี (Longmarch-5B) ในครั้งนี้ เกิดขึ้นเมื่อวันอาทิตย์ที่ 24 กรกฎาคม 2565 เพื่อนำเวิ่นเทียน (Wentian) ซึ่งเป็นโมดูลที่ 2 มาเชื่อมต่อกับสถานีอวกาศเทียนเหอ (Tianhe) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสนับสนุนให้นักบินอวกาศทำการทดลองวิจัยในอวกาศ 

 

 

สำหรับการแจ้งเตือนชิ้นส่วนจรวดลองมาร์ช 5 บีตกสู่โลกในครั้งนี้ ศูนย์วิจัยเทคโนโลยีอวกาศของ GISTDA ได้ใช้ระบบการจัดการจราจรอวกาศ(Space Traffic Management System) หรือ ZIRCON ที่ทีมนักวิจัยของ GISTDA พัฒนาขึ้น ทำการวิเคราะห์และคาดการณ์ ซึ่งเป็นไปตามมาตรฐานสากล ปัจจุบันศูนย์วิจัยดังกล่าว มีการวิจัยพัฒนาขีดความสามารถของระบบอย่างต่อเนื่อง นอกเหนือจากฟังก์ชั่นการคาดการณ์ติดตามวัตถุอวกาศตกสู่โลกแล้ว ยังพัฒนาฟังก์ชั่นอื่น ๆ ที่จะเป็นประโยชน์เพิ่มเติมในอนาคต เช่น การแจ้งเตือนภัยจากสภาพอวกาศ (Space weather) เป็นต้น อีกด้วย

วัตถุอวกาส ตกสู่โลก

ทั้งนี้ หากพิจารณาถึงความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้น ณ วันนี้ ประเทศไทยมีโอกาสที่จะได้รับผลกระทบเพียง 1.2% ซึ่งถือว่าน้อยมาก และโคจรห่างจากพื้นโลกประมาณ 173 กิโลเมตร แต่อย่างไรก็ตาม GISTDA จะติดตามสถานการณ์และพื้นที่ที่มีความเสี่ยงของการตกของชิ้นส่วนจรวดลองมาร์ช 5 บีนี้อย่างใกล้ชิด และจะรายงานความคืบหน้าให้ทราบต่อไป

จรวดลองมาร์ช 5 บี

 

 

 

 

เพื่อไม่พลาด ข่าวสารต่างๆ คมชัดลึก ไปที่
Youtube - https://www.youtube.com/channel/UCnniqWGq9lOqYd5sGWxVi7w
LineToday - https://today.line.me/th/v2/publisher/100057

รอลุ้น ใครจะเป็น 6 Candidate กับ 8  สาขา Popular Vote คมชัดลึก ลูกทุ่ง Awards 2565
1 สิงหาคม 65 นี้ รู้กัน
(https://awards.komchadluek.net/#)

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ