เด่นโซเชียล

อธิบายความเสี่ยง "สึนามิ" อันดามัน พร้อมรายงาน "เเผ่นดินไหว" ล่าสุด

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

กองเฝ้าระวังเเผ่นดินไหว กรมอุตุนิยมวิทยา รายงาน "แผ่นดินไหว" 9 ครั้ง แล้ววันนี้ ด้าน นักวิชาการ อธิบายความเสี่ยงเกิด "สึนามิ" อันดามัน 

จากกรณีความกังวลเกี่ยวกับ "แผ่นดินไหว" สึนามิ อันดามัน กองเฝ้าระวังเเผ่นดินไหว กรมอุตุนิยมวิทยา รายงานว่า ตั้งเเต่ช่วงเช้าที่ผ่านมา เกิดแผ่นดินไหวแล้ว 9 ครั้ง 

1. 6 ก.ค.65 14:00 น. แผ่นดินไหวขนาด 2.8 บริเวณศูนย์กลาง ประเทศเมียนมา ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของ อ.แม่สาย จ.เชียงราย ประมาณ 84 กม.


2. 6 ก.ค.65 13:44 น. แผ่นดินไหวขนาด  2.4 บริเวณศูนย์กลาง ประเทศเมียนมา ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของ อ.แม่สาย จ.เชียงราย ประมาณ 68 กม.

 

3. 6 ก.ค.65 13:20 น. แผ่นดินไหวขนาด 2.6 บริเวณศูนย์กลาง ประเทศเมียนมา ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของ อ.แม่สาย จ.เชียงราย ประมาณ 69 กม.

 

4. 6 ก.ค.65  8.24 น. แผ่นดินไหวขนาด 3.5 บริเวณศูนย์กลาง มณฑลยูนนาน, ประเทศจีน ทางทิศตะวันออกเฉี่ยงเหนือของ ต.ริมโขง อ.เชียงของ จ.เชียงราย ประมาณ 236 กม.

 

5. 6 ก.ค.65  7:26 น. แผ่นดินไหวขนาด 4.6 บริเวณศูนย์กลาง หมู่เกาะอันดามัน ประเทศอินเดีย ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของ อ.เมือง จ.พังงา ประมาณ 515 กม.

 

6. 6 ก.ค.65 3:26 น.แผ่นดินไหวขนาด 2.2 บริเวณศูนย์กลาง ประเทศเมียนมา ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของ อ.แม่สาย จ.เชียงราย ประมาณ 80 กม.

 

7.  6 ก.ค.65  2:23 น. แผ่นดินไหวขนาด 2.1 บริเวณศูนย์กลาง ประเทศเมียนมา ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของ อ.ขุนยวม จ.แม่ฮ่องสอน ประมาณ 51 กม.

 

8. 6 ก.ค.65 00:55 น. เเผ่นดินไหวขนาด 2.6 บริเวณศูนย์กลาง ประเทศเมียนมา ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของ อ.แม่สาย จ.เชียงราย ประมาณ 60 กม.

 

9. 6 ก.ค.65 00:26 น. แผ่นดินไหวขนาด 1.3 บริเวณศูนย์กลาง ประเทศเมียนมา ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของ อ.ฝาง จ.เขียงใหม่ ประมาณ 36 กม.

ขณะที่ ศูนย์เฝ้าระวังและติดตามเหตุการณ์ แผ่นดินไหว จ.ภูเก็ต (ภาคประชาชน) รายงานว่า 06/07/2022 เวลา 07:26 เกิดแผ่นดินไหว รอบที่ 32 ขนาด 4.9 ที่ความลึก 10 กิโลเมตร นอกชายฝั่งหมู่เกาะนิโคบาร์ ห่างจากจังหวัดภูเก็ตไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือประมาณ 530 กิโลเมตร 

 

และเมื่อวันที่ 05/07/2022 เวลา 21:50 เกิดแผ่นดินไหว รอบที่ 31 ขนาด 4.9 ที่ความลึก 10 กิโลเมตร นอกชายฝั่งหมู่เกาะนิโคบาร์ ห่างจากจังหวัดภูเก็ตไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือประมาณ 510 กิโลเมตร 

อธิบายความเสี่ยง "สึนามิ" อันดามัน พร้อมรายงาน "เเผ่นดินไหว" ล่าสุด

 

ขณะที่ชาวบ้านในพื้นที่ มีความกังวลอย่างมากเกี่ยวกับการเกิดสึนามิ ล่าสุด รศ.ดร.เสรี ศุภราทิตย์ ผอ.ศูนย์การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและภัยพิบัติ ม.รังสิต ได้โพสต์เฟซบุ๊กอธิบายเกี่ยวกับการเกิดสึนามิไว้ว่า

 

# ตระหนัก แต่ไม่ตระหนกแผ่นดินไหว และสึนามิอันดามัน

ตั้งแต่เมื่อวันที่  4 กรกฎาคม เกิดแผ่นดินไหวขนาด 4-5 Mw ที่บริเวณหมู่เกาะอันดามันกว่า 20 ครั้ง ในขณะเดียวกัน ทุ่นเตือนภัยในมหาสมุทรอินเดีย ทั้งของไทย (2 ทุ่น)  และอินเดีย (5 ทุ่น) ใช้งานไม่ได้ ทำให้เกิดความตระหนก และกังวลเรื่องสึนามิชายฝั่งทะเลอันดามันเหมือนกับเหตุการณ์ในปี 2547 ผมขอทำความเข้าใจในประเด็นที่สำคัญดังนี้

 

1. แผ่นดินไหวที่จะทำให้เกิดสึนามิตามมาในระดับที่เป็นอันตรายต้องมีขนาดใหญ่ >  7.5 Mw 

2. การเกิดแผ่นดินไหวขนาดเล็กหลายครั้ง (Foreshock) อาจตามมาด้วยแผ่นดินไหวขนาดใหญ่ได้ 

3. แผ่นดินไหวทุกครั้งไม่จำเป็นต้องเกิดสึนามิทุกครั้ง ขึ้นอยู่กับขนาด ความลึก แนวรรอยเลื่อน และลักษณะการมุดตัว 

4. แม้ว่าแผ่นดินไหวคาดการณ์ และเตือนภัยไม่ได้ แต่เราสามารถคาดการณ์ และเตือนภัยสึนามิได้ 

5. ระบบเตือนภัยสึนามิโดยใช้ทุ่นมักจะได้รับความเสียหายบ่อยครั้ง จึงไม่ใช่ทางออก 

6. ระบบคาดการณ์ และเตือนภัยโดยใช้ฐานข้อมูล จึงมีความจำเป็น โดยศูนย์การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ และภัยพิบัติ ใช้ระบบนี้เฝ้าระวัง (แต่เราเฝ้าระวังเฉพาะเวลาทำงาน 08.00-17.00) หากเกิดกลางคืน ตัวใครตัวมันน่ะครับ 

7. ความตระหนักเป็นสิ่งสำคัญสูงสุด กล่าวคือเมื่อรู้สึกว่าแผ่นดินไหวริมชายฝั่งทะเล ให้รีบขึ้นที่สูง แล้วท่านและครอบครัวที่รัก จะปลอดภัยครับ

อธิบายความเสี่ยง "สึนามิ" อันดามัน พร้อมรายงาน "เเผ่นดินไหว" ล่าสุด

ทั้งนี้จากข้อมูลสถิติของกองเฝ้าระวังเเผ่นดินไหว กรมอุตุนิยมวิทยา รายงานการเกิดแผ่นดินไหวบริเวณประเทศไทย และพื้นที่ใกล้เคียง ล่าสุดของเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2565 พบว่า เกิดเเผ่นดินไหว หมู่เกาะอันดามัน หมู่เกาะนิโคบาร์ และตอนเหนือของหมู่เกาะสุมาตรา ประเทศอินโดนีเซีย ทั้งหมด 10 ครั้ง ขนาด 3.8-5.2  

 

ส่วนเหตุการณ์แผ่นดินไหวที่สำคัญเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2565 คือ เมื่อเวลา 02.58 น. วันที่ 29 พ.ค. 65 เกิดแผ่นดินไหวขนาด 2.6 ความลึก 4 กม.ศูนย์กลาง อยู่ที่ ต.เมืองพาน อ.พาน จ.เชียงราย โดยสาเหตุเกิดจากรอยเลื่อนพะเยา ทำให้มีพื้นที่ได้รับแรงสั่นสะเทือนหลายแห่ง จนท.อำเภอออก กองเฝ้าระวังแผ่นดินไหว กรมอุตุนิยมวิทยา รายงานเกิดแผ่นดินไหว ขนาด 2.6 ลึก 4 กม. ต.เมืองพาน อ.พาน จ.เชียงราย สาเหตุเกิดในบริเวณรอยเลื่อนพะเยา ได้รับผลกระทบหลายตำบล ที่บ้านป่าบง ต.ป่าหุ่ง อ.พาน ได้ยินเสียงเหมือนมีเสียงระเบิดตูมดังสนั่น บ้านลั่นแรง คนในบ้านสะดุ้งตื่นกันหมด บ.ดอยสันโค้ง ต.เมืองพาน อ.พาน คนอยู่ในบ้านเดี่ยว 1 ชั้น รู้สึกบ้านสั่นแรงมาก สะดุ้งตื่นกันทั้งบ้าน ที่ บ.ป่าต้าก ต.สันกลาง อ.พาน อยู่บ้านเดี่ยวชั้น 2 รู้สึกถึงแรงสั่นสะเทือน ทำให้สะดุ้งตื่นได้ หน้าต่างมีเสียงสั่น


ส่วนเหตุแผ่นดินไหวทั่วโลกที่มีความรุนแรงในเดือนพฤษภาคม พ.ศ.2565 คือ กรณี เอเอฟพีรายงานเมื่อวันจันทร์ที่ 9 พฤษภาคม 2565 กล่าวว่า เกิดแผ่นดินไหวขนาด 6.1 แม็กนิจูด ที่ชายฝั่งไต้หวันเมื่อตอนบ่ายวันจันทร์ ตามรายงานของสำนักสำรวจทางธรณีวิทยาสหรัฐ (ยูเอสจีเอส) แรงสั่นสะเทือนทำให้อาคารสูงในไทเปสั่นไหวจนรู้สึกได้แผ่นดินไหวเกิดที่ระดับความลึก 27 กิโลเมตร บริเวณห่างจากเกาะโยนาคุนิของญี่ปุ่นไปทางตะวันตกเฉียงใต้ราว 70 กิโลเมตรซึ่งอยู่ไม่ไกลจากชายฝั่งของไต้หวัน สำนักงานพยากรณ์อากาศกลางของไต้หวันกล่าวว่า การสั่นไหวซึ่งเป็นครั้งที่ 5 แล้วในปีนี้ อยู่ในระดับที่รู้สึกได้ทั่วทั้งเกาะ และยังไม่มีรายงานความเสียหายใด ๆ ขณะที่สำนักงานอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่นประเมินแรงสั่นสะเทือนไว้ที่ระดับ 6.6 แม็ดนิจูด และ กล่าวว่า ระดับน้ำทะเลผันผวนเล็กน้อย แต่ยังไม่จำเป็นต้องประกาศเตือนภัยสึนามิในตอนนี้ไต้หวันและพื้นที่โดยรอบมักได้รับผลกระทบจากแผ่นดินไหวเนื่องจากตั้งอยู่ใกล้เคียงจุดบรรจบของแผ่นเปลือกโลกสองแผ่น

อธิบายความเสี่ยง "สึนามิ" อันดามัน พร้อมรายงาน "เเผ่นดินไหว" ล่าสุด

อธิบายความเสี่ยง "สึนามิ" อันดามัน พร้อมรายงาน "เเผ่นดินไหว" ล่าสุด

กองเฝ้าระวังเเผ่นดินไหว กรมอุตุนิยมวิทยา 

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ