เด่นโซเชียล

"JSL" จ่ายชดเชย 16% ได้หรือไม่ บอกข้อควรระวังพนักงานอย่าเซ็นยินยอมเด็ดขาด

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

เพจกฎหมายพูดชัด "JSL" จ่ายชดเชยแค่ 16% ได้หรือไม่ บอกข้อควรระวังพนักงานอย่าเซ็นยิมยอมเด็ดขาด พร้อมเช็ครายละเอียดเงินชดเชยที่ต้องได้รับตามกฎหมายแบบถูกต้อง

จากกรณีที่ บริษัท เจ เอส แอล โกลบอล มีเดีย จำกัด หรือ "JSL" บริษัทผลิตสื่อบันเทิงยักษ์ใหญ่ที่มีการประกาศยุติการดำเนินงานบางส่วนลง นับตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2565 เป็นต้นไป แต่ยังคงมีประเด็นการจ่ายเงินชดเชยให้แก่พนักงานที่ล่าสุดมีกระแสข่าวว่า บริษัทจะจ่ายเงินให้เพียงแค่ 16% ของรายได้เท่านั้น  โดนล่าสุด เพจกฎหมายแรงงาน  โพสต์ถึงกรณีดังกล่าว โดย ระบุ ว่า   JSL เลิกจ้างจ่ายค่าชดเลยร้อยละ 16 ของค่าจ้างได้หรือไม่ อ่านโพสที่คุณสรยุทธฯ โพสถึงความทุกข์ของพนักงานที่ถูก "JSL" เลิกจ้างก็ตกใจที่บริษัทจ่ายค่าชดเชยเพียงร้อยละ 16  โดยปกติค่าชดเชยจ่ายเมื่อเลิกจ้าง  หรือสัญญาจ้างสิ้นสุด หรือกิจการนายจ้างดำเนินกิจการต่อไปไม่ได้ หรือเกษียณ เหล่านี้กฎหมายเรียกว่า เลิกจ้าง  เมื่อเลิกจ้าง ก็มีสิทธิได้รับค่าชดเชย โดยมีสิทธิได้รับในวันที่เลิกจ้าง หากไม่จ่ายในวันเลิกจ้างนายจ้างก็ต้องจ่ายดอกเบี้ยร้อยละ 15  ต่อปี หรือถ้าเป็นการจงใจเจตนาไม่จ่ายก็จะต้องจ่าย เงินเพิ่ม ร้อยละ 15 ทุก ๆ 7 วัน

กรณีบริษัท "JSL" จะจ่ายค่าชดเชยร้อยละ 16  กรณีนี้บริษัทไม่สามารถทำได้ เพราะกฎหมายกำหนดอัตราการจ่ายค่าชดเชยเอาไว้อย่างชัดแจ้งแล้ว ในมาตรา 118  โดยพิจารณาว่าทำงานมานานเพียงใด ก็จะต้องจ่ายค่าชดเชยตามนั้น กล่าวคือ 
ก) หากทำงานครบ 120 วันแต่ไม่ครบ 1 ปี ต้องจ่ายค่าชดเชย 30 วัน
ข) หากทำงานครบ 1 ปี แต่ไม่ครบ      3 ปี ต้องจ่ายค่าชดเชย 90 วัน
ค) หากทำงานครบ 3 ปี แต่ไม่ครบ      6 ปี ต้องจ่ายค่าชดเชย 180 วัน
ง) หากทำงานครบ  6 ปี แต่ไม่ครบ     10 ปี ต้องจ่ายค่าชดเชย 240 วัน
จ) หากทำงานครบ 10 ปี แต่ไม่ครบ    20 ปี ต้องจ่ายค่าชดเชย 300 วัน
ฉ) หากทำงานครบ 20 ปีขึ้นไป          ต้องจ่ายค่าชดเชย 400 วัน

เช่น พนักงานมีเงินเดือน 36,000 บาท หาร 30  จะได้เป็นค่าจ้างรายวัน ๆ ละ 1,200 บาท หากทำงานมานาน 12 ปี จะได้ค่าชดเชย 300 วัน  ซึงคูณค่าจ้างรายวัน 1,200 บาท จะได้เป็นค่าชดเชยที่นายจ้างต้องจ่ายคือ 360,000 บาท

นายจ้าง หรือ "JSL" จะอ้างว่าจ่ายร้อยละ 16 ของเงินที่ควรได้รับคือ 360,000 บาท ไม่ได้ เพราะไม่มีกฎหมายอนุญาตให้ทำได้ แม้ลูกจ้างตกลงด้วยก็เป็นโมฆะ
ข้อควรระวัง
-เมื่อถูกเลิกจ้างแล้ว หากไปเซ็นต์ตกลงรับเงินเพียงร้อยละ 16 ของเงินที่ควรได้รับ ก็อาจทำให้ข้อตกลงนั้นมีผลบังคับได้ เพราะตอนทำ-ข้อตกลงลูกจ้างเป็นอิสระแล้ว  ซึ่งศาลฎีกาที่ 3121/2543 พิพากษาว่าการตกลงหลังเลิกจ้างแล้วลูกจ้างมีอิสระพ้นจากพันธกรณี และไม่อยู่ในอำนาจบังคับบัญชาโดยสิ้นเชิงแล้ว ข้อตกลงจึงใช้บังคับได้
-จึงต้องระวังไม่ไปเซ็นตกลงยินยอมรับเงินที่น้อยกว่าสิทธิที่ควรจะได้ 
-ประเด็นนี้ สามารถฟ้อง หรือร้องต่อพนักงานตรวจแรงงานได้เลย หากได้เงินไม่พอก็อาจบังคับยึดทรัพย์ของบริษัทขายทอดตลาด และเงินที่ได้จะต้องนำมาจ่ายค่าจ้างแก่พนักงานก่อน
ประเด็นต่อไป  การเลิกจ้างเป็นการเลิกจ้างไม่เป็นธรรมหรือไม่
จากข้อเท็จจริงทราบว่าบริษัทขาดทุนสะสม และขาดทุนจริงกระทั่งต้องปิดกิจการ กรณีนี้ถือว่าการเลิกจ้างมีเหตุอันสมควรที่จะเลิกจ้างได้ (แต่ถ้าไม่ขาดทุนจริง ก็เลิกจ้างไม่ได้เป็นการเลิกจ้างไม่เป็นธรรม)  ดังนัน กรณีนี้คิดว่าไม่จำเป็นต้องฟัองคดีเลิกจ้างไม่เป็นธรรม

logoline