เด่นโซเชียล

4 เรื่องไม่จริงเกี่ยวกับ "pdpa" พรบ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล เริ่มใช้ 1 มิ.ย.

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

เปิด 4 เรื่องไม่จริงเกี่ยวกับ "pdpa" พรบ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล จะเริ่มบังคับใช้เต็มรูปแบบในวันที่ 1 มิ.ย. 2565

กฎหมาย "pdpa" ให้ความคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล เช่น ชื่อ ที่อยู่ เบอร์โทรศัพท์ บัญชีธนาคาร อีเมล ไอดีไลน์ บัญชีผู้ใช้ของเว็บไซต์ ลายนิ้วมือ ประวัติสุขภาพ เป็นต้น ซึ่งข้อมูลเหล่านี้สามารถระบุถึงตัวเจ้าของข้อมูลนั้นได้ อาจเป็นได้ทั้งข้อมูลในรูปแบบเอกสาร กระดาษ หนังสือ หรือจัดเก็บในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ก็ได้ จะเริ่มบังคับใช้เต็มรูปแบบในวันที่ 1 มิ.ย. 2565

 

ทางเฟซบุ๊ก PDPC Thailand สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (สคส.) เผยแพร่ 4 เรื่องไม่จริงเกี่ยวกับ "PDPA" โดยมีดังนี้

 

1. การถ่ายรูป ถ่ายคลิป ติดภาพคนอื่นโดยเจ้าตัวไม่ยินยอมจะผิด "PDPA"

ตอบ กรณีการถ่ายรูป-ถ่ายคลิปโดยติดบุคคลอื่นโดยผู้ถ่ายรูป-ถ่ายคลิปไม่เจตนา และการถ่ายรูปถ่ายคลิปดังกล่าวไม่ได้ก่อให้เกิดความเสียหายกับผู้ถูกถ่าย สามารถทำได้ หากเป็นการใช้เพื่อวัตถุประสงค์ส่วนตัว

 

2. ถ้านำคลิปหรือรูปถ่ายที่ติดคนอื่นไปโพสต์ในโซเชียลมีเดียโดยบุคคลอื่นไม่ยินยอมจะผิด "PDPA" 

ตอบ สามารถโพสท์ได้ หากใช้เพื่อวัตถุประสงค์ส่วนตัว ไม่ใช้แสวงหากำไรทางการค้าและไม่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล 

 

3. ติดกล้องวงจรปิดแล้วไม่มีป้ายแจ้งเตือนผิด "PDPA" 

ตอบ การติดกล้องวงจรปิด ภายในบ้าน ไม่จำเป็นต้องมีป้ายแจ้งเตือน หากเพื่อป้องกันอาชญากรรม และรักษาความปลอดภัยกับตัวเจ้าของบ้าน

 

4. เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลต้องให้ความยินยอมทุกครั้งก่อนนำข้อมูลไปใช้ 

ตอบ ไม่จำเป็น ต้องขอความยินยอม หากการใช้ข้อมูลดังกล่าว 

(1) เป็นการทำตามสัญญา 
(2) เป็นการใช้ที่มีกฎหมายให้อำนาจ 
(3) เป็นการใช้เพื่อรักษาชีวิตและ/หรือ ร่างกายของบุคคล 
(4) เป็นการใช้เพื่อการค้นคว้าวิจัยทางสถิติ 
(5) เป็นการใช้เพื่อประโยชน์สาธารณะ
(6) เป็นการใช้เพื่อปกป้องผลประโยชน์ หรือสิทธิของตนเอง 

 

ทั้งนี้ หลักการข้างต้น อาจเปลี่ยนแปลงตามข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นเป็นกรณีๆ ไป 

 

"PDPA" = พรบ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
มาตรา 4(1) การเก็บรวบรวม ใช้ หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลที่ทำการเก็บข้อมูลเพื่อประโยชน์ส่วนตน หรือเพื่อกิจกรรมในครอบครัวของบุคคลนั้นเท่านั้น

 

logoline