เด่นโซเชียล

"dek 65" คืออะไร กว่าจะเข้ามหาวิทยาลัยได้ต้อง สอบกี่วิชาสรุปครบจบที่นี่

"dek 65" คืออะไร ต้องเตรียมตัวสอบเข้ามหาวิทยาลัย และต้องสอบเก็บคะแนน TCAS 65 และ GAT/PAT กี่วิชา สรุปมาให้ครบจบที่นี่

ช่วงนี้คงกำลังอยู่ในช่วงปิดเทอมของนักเรียนหลายคน แต่สำหรับนักเรียนชั้นม. 6 ที่กำลังจะศึกษาต่อในระดับปริญญาตรี คงกำลังเคร่งเครียดกับการสอบวัดความรู้ ทักษะที่ได้เรียนมาตลอด 6 ปีที่เพื่อฝ่าสมรภูมิสนามสอบเข้าไปเรียนมหาวิทยาลัยผ่านมาผ่านระบบ TCAS โดยเมื่อวันที่ 18 เม.ย. 65 ที่ผ่านมาได้มีการประกาศผลคะแนนในวิชา GAT PAT กันไปแล้วหลายคนได้คะแนนดี หลายคนคะแนนต่ำก็ให้กำลังใจกันไป แต่อีกหนึ่งอย่างที่บอกเลยว่าสร้างความสับสนให้แก่เด็ก ๆ ที่กำลังจะจบชั้นม.6 และต่อมหาวิทยาลัยอย่างมากนั้นคือ ตนเองเป็น dekรุ่นไหน และ "dek 65" คืออะไร และมีวิชาไหนบ้างที่ต้องสอบเก็บคะแนนเพื่เข้าเรียนต่อในระดับมหาวิทยาลัย วันนี้ "คมชัดลึกออนไลน์" รวบรวมข้อมูลมาให้ว่า "dek 65"  คือใคร และใครบ้างที่เรียกตัวเองว่าเ ป็น "dek 65"  

"dek 65" คืออะไร  นักเรียนที่กำลังเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 6 ในปี 2564 และกำลังจะสอบเข้ามหาวิทยาลัยในปี 2565 ซึ่งหมายถึงปีนี้ ดังนั้นนักเรียนม. 6 ที่กำลังรอบผลสอบเข้ามหาวิทยลัยจึงมักเรียกตัวเองว่า "dek 65" ส่วนนักเรียนม. 5 ขึ้นม. 6 ในปีนี้และเข้ามหาวิทยาลัยในปี 2566 จะเป็น dek 66สรุปง่าย ๆก็คือเรียกตามปีที่จะเข้าเรียนต่อในระดับมหาวิทยาลัย 


"dek 65" ต้องสอบวิชาอะไรบ้าง นักเรียนที่จะเข้ามหาวิทยาลัยจะต้องสอบคัดเลือกผ่าน ระบบ TCAS คือ ระบบการคัดเลือกสอบเข้ามหาวิทยาลัยรูปแบบใหม่ ย่อมาจากคำว่า Thai University Central Admission System เป็นระบบที่เริ่มนำมาใช้ตั้งแต่ปีการศึกษา 2561 ออกแบบระบบโดย ที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย (ทปอ.)  

วิชาที่ "dek 65" ที่สามารถเลือกสอบได้มีดังนี้
-กสพท. หรือ กลุ่มสถาบันแพทยศาสตร์แห่งประเทศไทย คณะใน กสพท.ได้แก่  แพทยศาสตร์ ทันตแพทย์ศาสตร์ สัตวศาสตร์ เภสัชศาสตร์ 

วิชา GAT/PAT คือ  การทดสอบวิชาความถนัดทั่วไป หรือ การวัดศักยภาพความพร้อมในการเข้าเรียนในมหาวิทยาลัย มีวิชาให้เลือกสอบดังนี้ 
GAT เป็นการทดสอบวิชาความถนัดทั่วไป (General Aptitude Test) คือ การวัดศักยภาพในการเรียนในมหาวิทยาลัยผ่านการสอบ 9 วิช่สามัญ ได้แก่ 
1. วิชาภาษาไทย
2. วิชาคณิตศาสตร์ 1
3. วิชาคณิตศาสตร์ 2
4. วิชาสังคมศึกษา
5. วิชาฟิสิกส์
6. วิชาวิทยาศาสตร์ทั่วไป
7. วิชาภาษาอังกฤษ
8. วิชาเคมี
9. วิชาชีววิทยา


PAT มีอยู่ด้วยกันทั้งหมด 7 สาขาวิชาด้วยกัน ดังนี้

PAT 1 คือ ความถนัดทางคณิตศาสตร์ (กลุ่มคณะที่ใช้ เช่น บริหาร-บัญชี, เศรษฐศาสตร์, มนุษยฯ-อักษรฯ,สังคมศาสตร์) ยื่นคะแนนรูปแบบที่1 พื้นฐานสายวิทย์ หรือศิลป์คำนวณ
PAT 2 คือ ความถนัดทางวิทยาศาสตร์ (กลุ่มคณะที่ใช้ เช่น วิทยาศาสตร์สุขภาพ-กายภาพ, คณะวิศวกรรมศาสตร์)
PAT 3 คือ ความถนัดทางวิศวกรรมศาสตร์ (กลุ่มคณะที่ใช้ คือ คณะวิศวกรรมศาสตร์)
PAT 4 คือ ความถนัดทางสถาปัตยกรรมศาสตร์ (กลุ่มคณะที่ใช้ คือ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ )
PAT 5 คือ ความถนัดทางวิชาชีพครู (กลุ่มคณะที่ใช้คือ คณะครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์)
PAT 6 คือ ความถนัดทางศิลปกรรมศาสตร์ (กลุ่มคณะที่ใช้คือ คณะศิลปกรรมศาสตร์)
PAT 7 คือ ความถนัดทางภาษาต่างประเทศ (กลุ่มคณะที่ใช้ เช่น การโรงแรมและท่องเที่ยว, มนุษยฯ-อักษรฯ-,สังคมศาสตร์) ยื่นคะแนนรูปแบบที่ 2 พื้นฐานสายศิลป์ ประกอบด้วย
– PAT 7.1 ความถนัดทางภาษาฝรั่งเศส
– PAT 7.2 ความถนัดทางภาษาเยอรมัน
– PAT 7.3 ความถนัดทางภาษาญี่ปุ่น
– PAT 7.4 ความถนัดทางภาษาจีน
– PAT 7.5 ความถนัดทางภาษาอาหรับ
– PAT 7.6 ความถนัดทางภาษาบาลี

สำหรับ PAT นักเรียนไม่จำเป็นต้องสอบทุกสาขาวิชา ให้เลือกสอบเฉพาะ PAT ที่จะนำไปใช้ในการเลือกเข้าเรียนในคณะที่ต้องการเท่านั้น


คมชัดลึกออนไลน์รวบรวมข้อมูล 

ข่าวยอดนิยม